“ไซเบอร์ดายน์” เปิดบริการหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยกายภาพ หวังยกระดับไทยเป็นฮัพด้านการแพทย์โลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          "ไซเบอร์ดายน์" บริษัทชั้นนำด้านหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์ของญี่ปุ่น จับมือ TCELS เปิดตัวธุรกิจบริการหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้ป่วยช่วยตัวเองไม่ได้ ในงานสัมมนาการแพทย์หุ่นยนต์ล้ำยุคประจำปี 2562 หลังประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วยในระดับสากล มั่นใจความร่วมมือระหว่างภาครัฐของไทย กับภาคเอกชนของญี่ปุ่น ช่วยยกระดับการเข้าถึงนวัตกรรมด้านการแพทย์ของประชาชนได้ทั่วถึง
          ศ.ดร.โยชิยูกิ ซานไค ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท ไซเบอร์ดายน์ เปิดเผยว่า การเปิดตัวครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากไซเบอร์ดายน์ ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับหรือเดินได้ให้มีความสามารถในการเดินหรือช่วยตัวเองได้อีกครั้งหนึ่งในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น
          ไซเบอร์ดายน์ให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์ เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คนที่เป็นอัมพาตส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไปถึงเท้าจะใช้ไซบอร์กรุ่นระบบขา (HAL Lower Limb Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้หรือสูญเสียความสามารถในการนั่งจะใช้ไซบอร์กระบบเอว (HAL Lumbar Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยืดหรือหดข้อได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน มือ เข่า หรือ เท้า จะใช้ไซบอร์กระบบข้อ (HAL Single Joint Type) และคนไข้ที่มีปัญหาในการขยับที่มีปัญหาในการขยับนิ่วมือจะใช้ระบบมือในการช่วยฟื้นฟูความสามารถในการหยิบจับกำและแบมือ (Hand of Hope)
          สำหรับทำงานของหุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne ใช้ระบบปฏิบัติการผสมผสาน (HAL-Hybrid Assitive Limp) ซึ่งเป็นระบบที่แพทย์สามารถเลือกได้ระหว่างแบบให้คนไข้สั่งการหุ่นยนต์เองด้วยความคิด หรือ แบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหุ่นยนต์ Cyberdyne ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หุ่นยนต์ของบริษัทฯ เป็นไซบอร์กด้วย เนื่องจากระบบการทำงานที่คนไข้สั่งการได้เองจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณไฟฟ้าจากสมองมนุษย์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหุ่นยนต์ การทำงานช่วยเหลือกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน โดนไซเบอร์ดายน์ จะให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์ผ่านการให้บริการของโรงพยาบาลหรือคลินิกฟื้นฟูกายภาพเท่านั้น โดยมีตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย คือ Zignature Robotics
          ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การเปิดตัวหุ่นยนต์ทางการแพทย์ครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องดีกับประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งการที่ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมทางการแพทย์จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์มากขึ้น
          "ต้องยอมรับว่า ขณะนี้เครื่องไม้เครื่องมือในประเทศรวมถึงบุคลากรของไทยด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังมีน้อย ภาครัฐจึงจำเป็นต้องอำนวยความสะดวกด้านต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของการสนับสนุนการลงทุนของต่างชาติให้เข้ามาร่วมพัฒนาเทคโนโลยีประเภทนี้ในประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ของไทย ให้ทัดเทียมต่างชาติ ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชนในประเทศ" ดร.นเรศ กล่าว
“ไซเบอร์ดายน์” เปิดบริการหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยกายภาพ หวังยกระดับไทยเป็นฮัพด้านการแพทย์โลก
“ไซเบอร์ดายน์” เปิดบริการหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยกายภาพ หวังยกระดับไทยเป็นฮัพด้านการแพทย์โลก
“ไซเบอร์ดายน์” เปิดบริการหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยกายภาพ หวังยกระดับไทยเป็นฮัพด้านการแพทย์โลก
“ไซเบอร์ดายน์” เปิดบริการหุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยกายภาพ หวังยกระดับไทยเป็นฮัพด้านการแพทย์โลก

ข่าวไซเบอร์ดายน์+ความร่วมมือวันนี้

บล.ไอร่า สานต่อความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (TSE) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เดินหน้าจัดสัมมนาระดับ VVIP เปิดมุมมองการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น ต่อยอดการให้บริการ Global Trading

บล.ไอร่า ระบุ แม้ว่าสภาวะตลาดทุนทั่วโลกจะยังคงมีความผันผวนสูงจากปัจจัย ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ แต่บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) ("บล.ไอร่า") โดยนายไพโรจน์ เหลืองเถลิงพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยังคงเดินหน้าสานต่อความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange หรือ TSE) อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จัดงานสัมมนาให้กับลูกค้าระดับ VVIP ภายใต้หัวข้อ "Discover Japanese Investment Potential" ร่วมกับพันธมิตรบริษัทชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น อาทิ Sumitomo Mitsui Trust Asset

นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรม... efin Group ผนึกจุฬาฯ เสริมทักษะฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ ปั้นกำลังคนยุค AI — นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการ บริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด หรือ efin ...

รถบรรทุกแบบใช้ไฟฟ้าช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO ... โคเวสโตร จับมือ คาทูน นาที ร่วมลดการปล่อยคาร์บอนด้วยรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า — รถบรรทุกแบบใช้ไฟฟ้าช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO ? ได้ถึง 400 ตันต่อปี ความร่วมมือเชิงก...

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. อนุ... อย. อนุมัติไซบอร์กการแพทย์ ตัวแรกของประเทศไทย — สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. อนุมัติระบบขาไซบอร์กสำหรับการแพทย์เพื่อการกายภาพบำบัด (Cyberdyne’s...