แคสเปอร์สกี้ แลป เผย “ShadowHammer” โจมตีแบบซัพพลายเชนทั่วโลก พบผู้ใช้ไทยโดนโจมตี 376 เครื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดเผยการค้นพบ "ShadowHammer" ปฏิบัติการ APT ล่าสุดที่กระทบผู้ใช้งานจำนวนมากโดยใช้วิธีการโจมตีซัพพลายเชน มีเป้าหมายโจมตีผู้ที่ใช้งาน ASUS Live Update Utility โดยอาชญากรไซเบอร์ได้แพร่มัลแวร์ผ่านทางแบ็กดอร์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะมีผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าหนึ่งล้านรายทั่วโลก พบผู้ใช้ไทยจำนวน 376 รายถูกโจมตี
          การโจมตีซัพพลายเชนเป็นหนึ่งในวิธีการที่อันตรายที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด เริ่มแพร่ระบาดมากในปฏิบัติการโจมตีขั้นสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ ShadowPad และ CCleaner ผู้ก่อการภายใต้ปฏิบัติการ "ShadowHammer" มีเป้าหมายเริ่มแพร่กระจายที่ ASUS Live Update Utility ซึ่งเป็นระบบที่ติดตั้งมาก่อนแล้ว (pre-installed) ในคอมพิวเตอร์เอซุสรุ่นใหม่ๆ สำหรับการอัปเดต BIOS UEFI ไดรเวอร์และแอปพลิเคชั่นอัตโนมัติ ผู้โจมตีได้แทรกแซงซอฟต์แวร์เอซุสรุ่นเก่าและแพร่กระจายโค้ดร้ายใส่ระบบ โดยที่มัลแวร์อัปเดตถูกเซ็นด้วย digital certicate และทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ของเอซุส จึงสามารถหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับโดยโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยของระบบได้
          การค้นคว้ามัลแวร์ที่มีวิธีการและเทคนิคลักษณะใกล้เคียงกันนี้ ทำให้พบการแพร่กระจายในซอฟต์แวร์จากเวนเดอร์อื่นอีกสามรายในเอเชีย ซึ่งแคสเปอร์สกี้ แลป ได้รายงานการค้นพบนี้ไปยังเอซุสและเวนเดอร์อื่นแล้ว
          นายวิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก ของแคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า "มีเวนเดอร์หลายรายที่กลุ่มวายร้าย APT สนใจและต้องการหาประโยชน์จากฐานลูกค้าจำนวนมากของเวนเดอร์ ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของผู้โจมตียังไม่ชัดเจนนัก และทีมนักวิจัยของเราก็ยังค้นหาว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้ อย่างไรก็ตาม เทคนิคและอ็อพเจ็คต่างๆ ที่ใช้ในการโจมตีชี้ว่าปฏิบัติการ ShadowHammer มีความเกี่ยวข้องกับ BARIUM APT ที่โยงไปถึงเหตุการณ์ ShadowPad และ CCleaner"
นายวิทาลีกล่าวเสริมว่า "แคสเปอร์สกี้ แลป ประเมินว่ามีผู้ใช้งานในประเทศไทยโดนโจมตีในปฏิบัติการนี้จำนวน 376 เครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขของ unique IP address ที่ได้ลงทะเบียนการติดตั้งแบ็กดอร์กับเอซุสไว้"
          ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของแคสเปอร์สกี้ แลป สามารถตรวจจับและสกัดกั้นมัลแวร์ปฏิบัติการ "ShadowHammer" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อจากการโจมตีแบบพุ่งไปยังเป้าหมายเจาะจง นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ขอแนะนำดังนี้
          - นอกเหนือจากการป้องกันเอ็นพอยต์ที่จำเป็นต้องมี ขอแนะนำให้เพิ่มโซลูชั่นระดับองค์กรที่สามารถตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูงในระดับเน็ตเวิร์กตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น Kaspersky Anti Targeted Attack Platform
          - สำหรับการตรวจจับระดับเอ็นพอยต์ การสอบสวนติดตาม และการฟื้นฟูความเสียหาย ขอแนะนำโซลูชั่นด้านการโต้ตอบต่อเหตุคุกคามหรืออีดีอาร์ เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response หรือติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพด้านการโต้ตอบต่อเหตุคุกคาม
          - นำข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะหรือ Threat Intelligence ใส่ใน SIEM และตัวควบคุมความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทันสมัย และสามารถเตรียมการรับมือการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
          ข้อมูลเพิ่มเติม https://securelist.com/operation-shadowhammer/89992/

แคสเปอร์สกี้ แลป เผย “ShadowHammer” โจมตีแบบซัพพลายเชนทั่วโลก พบผู้ใช้ไทยโดนโจมตี 376 เครื่อง
 

ข่าวแคสเปอร์สกี้ แลป+แคสเปอร์สกี้วันนี้

แคสเปอร์สกี้ แลป เผย แบงกิ้งโทรจัน RTM ลุยโจมตีกลุ่มธุรกิจไปแล้วมากกว่า 130,000 ราย

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลปตรวจพบกิจกรรมของโทรจัน RTM Banking Trojan พบยูสเซอร์ถูกโจมตีในปี 2018 ที่ผ่านมามากกว่า 130,000 เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีผู้ถูกโจมตีเพียง 2,376 ราย และมีแนวโน้มการโจมตีอย่างต่อเนื่องในปีนี้ พบยูสเซอร์มากกว่า 30,000 รายถูกโจมตีตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นมา ทำให้ RTM กลายเป็นโทรจันที่แอคทีฟที่สุดในกลุ่มแบงกิ้งแบงกิ้งโทรจันจัดเป็นภัยไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเพราะออกแบบมาเพื่อโจมตีบัญชีการเงินและทรัพย์สิน เริ่มต้นด้วยการขโมยข้อมูลล็อคอิน เพื่อแอบส่อง

ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านความปลอดภัยชั... แคสเปอร์สกี้ แลป ได้รับรางวัล CEIA Award 2018 สาขาความปลอดภัยไซเบอร์ — ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านความปลอดภัยชั้นนำ ทำให้แคสเปอร์สกี้ แลป ได้รับรางวัล CE...

การเปลี่ยนลูกจ้างนับเป็นส่วนหนึ่งของการดำ... แคสเปอร์สกี้ แลป เตือนนายจ้างระวังลูกจ้างเก่าใช้ช่องทางเพื่อแก้แค้นทางไซเบอร์ — การเปลี่ยนลูกจ้างนับเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ แต่ในบางกรณีก็ส่งผลร้...

แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศรายงานด้านความปลอด... แคสเปอร์สกี้ แลป สกัดภัยไซเบอร์มุ่งโจมตีไทยได้มากกว่า 5 ล้านรายการ — แคสเปอร์สกี้ แลป ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2018 ซึ...

โดยปกติแล้วจะมีการทดสอบช่องโหว่ต่างๆ ของย... แคสเปอร์สกี้ แลป พบช่องโหว่ของตัวชาร์จรถไฟฟ้า ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อเน็ตเวิร์กบ้านได้ — โดยปกติแล้วจะมีการทดสอบช่องโหว่ต่างๆ ของยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม...

แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดเผยว่า จากจำนวนข้อมู... แคสเปอร์สกี้ แลป สรุปตัวเลขเด่นด้านความปลอดภัย 2018 — แคสเปอร์สกี้ แลป เปิดเผยว่า จากจำนวนข้อมูลไฟล์มุ่งร้ายใหม่ทั้งหมดที่ตรวจพบในปี 2018 มีจำนวนแรนซัมแว...

นับจากวันที่ 13 พฤศจิกายน 2018 เป็นต้นไป ... แคสเปอร์สกี้ แลป เริ่มประมวลผลข้อมูลลูกค้ายุโรปที่ซูริค พร้อมเปิดศูนย์โปร่งใสแห่งแรก — นับจากวันที่ 13 พฤศจิกายน 2018 เป็นต้นไป การประมวลผลไฟล์มุ่งร้ายแล...