กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองมัง ผลสำเร็จจากการทำอินทรีย์ทฤษฎีใหม่ ต้นทุนลด รายได้งาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 จังหวัดอุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นตัวอย่างกลุ่มวิสาหกิจที่ทำเกษตรอินทรีย์ประสบความสำเร็จ เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยมีนายปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มฯ ที่ได้น้อมนำหลักแนวคิดเกษตรทฤษฏีใหม่ รวมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์โดยปลูกข้าวเป็นหลัก ซึ่งการปลูกพืชอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชม สามารถลดต้นทุน ผลผลิตขายได้ราคาสูง ทำให้เกษตรกรมีกำไรเฉลี่ยต่อครัวเรือนมากขึ้น 
          สศท.11 ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลต้นทุน ผลผลิต และราคาที่เกษตรกรขายได้ จากการผลิตพืชอินทรีย์ ปี 2562 ของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี โดยผลการสำรวจพบว่า 
          ข้าวนาปี มีต้นทุนรวม 3,982 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 378 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 16.20 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 2,140 บาท/ไร่ 
          พริก ต้นทุนรวม 22,768 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 1,613 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 48 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 54,047 บาท/ไร่
          ถั่วเขียว ต้นทุนรวม 1,628 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 61 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 57 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 1,864 บาท/ไร่ 
          ต้นหอม ต้นทุนรวม 27,650 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 1,180 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 44 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 24,659 บาท/ไร่           
          หอมแดง ต้นทุนรวม 16,045 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 896 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 60 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 37,428 บาท/ไร่ 
          กระเทียม ต้นทุนรวม 26,115 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 369 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 180 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 40,309 บาท/ไร่ 
          คะน้า ต้นทุนรวม 4,757 บาท/ไร่ ให้ผลผลิต 780 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 53 บาท/กิโลกรัม ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 36,315 บาท/ไร่ 
          นอกจากนี้ สศท.11 ยังได้สำรวจพืชอินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ ผักกาดขาว มะเขือเปราะ ขึ้นฉ่าย ผักกาดหอม และ ผักกาดหัว ซึ่งภาพรวมพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ดังกล่าว เกษตรกรมีการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินค้าที่ผลิตมีราคาขายสูงเป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง เกษตรกรมีรายได้ดี อีกทั้งยังส่งผลเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคอีกด้วย
          กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองมัง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2549 ปัจจุบันมีสมาชิก 14 ครอบครัว ส่วนใหญ่ปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี เนื่องจากมีโรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง สำหรับคลุมโรงเรือนเพาะปลูก ซึ่งช่วยให้เกษตรกรปลูกผักได้ดีในฤดูฝน ผลผลิตที่โดดเด่นของกลุ่ม คือ ข้าวสินเหล็ก ข้าวหอมนิล ข้าวหอมมะลิแดง และพืชหลังนา เช่น ปลูกผักอินทรีย์ หอมแดง กระเทียม ถั่วเขียว มีการกำหนดระเบียบ เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ งดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกเพื่อป้องกันการปนสารเคมี ใช้เฉพาะปัจจัยการผลิตที่ร่วมกันทำขึ้นเอง อาทิ ปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ไส้เดือนฝอย โดยมีการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ให้แก่เกษตรกรที่สนใจเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบยั้งยืน สินค้าอินทรีย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหนองมัง เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหน่วยงานในพื้นที่ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รวมทั้งภาคเอกชนต่างๆ ให้การสนับสนุนตลาดสินค้าข้าวอินทรีย์ พืชผักอินทรีย์ เพื่อส่งไปจำหน่ายตามสถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลสำโรง ร้านบุญนิยม เลมอนฟาร์ม รวมถึงการจำหน่ายด้วยตนเอง สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลผลการสำรวจพืชอินทรีย์เพิ่มเติม สามารถสอบถามสอบเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 โทร. 0 4534 4653 อีเมล [email protected] และสามารถขอคำปรึกษาได้ที่ นายปิยะทัศน์ ทัศนิยม ประธานกลุ่มฯ โทร. 09 5532 9707 ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร ที่สนใจทำการผลิตแบบอินทรีย์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองมัง ผลสำเร็จจากการทำอินทรีย์ทฤษฎีใหม่ ต้นทุนลด รายได้งาม
 
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองมัง ผลสำเร็จจากการทำอินทรีย์ทฤษฎีใหม่ ต้นทุนลด รายได้งาม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองมัง ผลสำเร็จจากการทำอินทรีย์ทฤษฎีใหม่ ต้นทุนลด รายได้งาม
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

สศท.2 เกาะติดสถานการณ์ผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 68 รวม 6 จังหวัด แตะ 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 12.47%

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 2568 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก ตาก และน่าน (ข้อมูล ณ 4 มิถุนายน 2568) โดย สศท.2 ประชุมร่วมกับคณะทำงาน ย่อยพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิตและโลจิสติกส์ไม้ผล ภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2568 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้นรวม 100,559 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 92,474 ไร่ (เพิ่มขึ้น 8,085 ไร่ หรือร้อยละ 9)

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...