โลกก็ร้อน...ปลวกก็เยอะ แก้อย่างไร?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปัญหาโลกร้อนนำมาซึ่งปัญหาความแล้ง เกษตรกรสูญเสียรายได้ เพราะผลผลิตสูญเสียลดน้อยถอยลง ไม่คุ้มค่าต่อการเพาะปลูก แต่ไม่น่าเชื่อ! ว่าก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุดคือ "ไอระเหยของน้ำ" ซึ่งมีมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และโอโซนอีกด้วย นอกจากก๊าซที่เราคุ้นเคยเหล่านี้แล้ว ยังมีก๊าซอีกตัวหนึ่งคือ ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งถึงแม้ในอดีตจะมีผลกระทบต่อโลกน้อยแต่ระยะหลังๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วยกิจกรรมทางเกษตร และพฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากที่ดินเป็นลำดับ
ความเข้มข้นของก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 31 – 141 % จากการเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมช่วง พ.ศ. 2290 ในปลายรัชสมัยของพระบรมโกศฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการตัดไม้ทำลายป่า การขุดเอาพลังงานจากซากฟอสซิล (Fossil Fuel) จนมาถึงปัจจุบัน ส่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้เปลี่ยนแปลงไป เกิดความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกาะต่าง ๆ จมหาย สัตว์ขั้วโลกอพยพล้มตาย เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชจำนวนมหาศาลและมีสายพันธุ์แปลกๆ เพิ่มเข้ามา สังเกตได้จากปี 2554– 2555 ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากมายหลายสายพันธุ์ทั้งปีกสั้น ปีกยาว ตัวลาย ตัวดำ ฯลฯ
          สำหรับในปีนี้มีรายงานจากศูนย์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษจังหวัดอ่างทอง พบว่าเกษตรกรมีปัญหาเพาะปลูกถั่วฝักยาว 1 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียง 1-2 กิโลกรัม จากเดิมที่เก็บได้หลายสิบหรือเป็นร้อยกิโลกรัม เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้พืชเกิดความเครียด หยุดการเจริญเติบโต หยุดผสมเกสร ทำให้ดอก ผล เหี่ยวแห้งและล้มตายก่อนเวลาอันควร
เมื่อเกิดภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง นอกจากก่อให้เกิดปัญหาด้านเกษตรแล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาสัตว์หรือแมลงบางชนิดเข้ามาอาศัยพึ่งใบบุญแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในบ้านกับเรา ไม่ว่าจะเป็น มด หนู งู แมลง สาบ ฯลฯ โดยเฉพาะมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่ถือเป็นตัวอันตรายทำลายที่อยู่อาศัยของมนุษย์อย่างแนบเนียนแต่รุนแรงมาก คือ "ปลวก" นั่นเอง ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่มีชนชั้น วรรณะ คล้ายมนุษย์เช่นเดียวกัน มีทั้งวรรณะราชินี ปลวกทหาร ปลวกงาน และวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นแมลงเม่า โดยที่สมาชิกทั้งหมดจะดูแลเอาใจใส่ให้ราชินีที่เป็นแม่พันธุ์นั้นได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด รวมถึงการจัดวางระบบป้องกันในรูปแบบต่างๆ ให้ราชินีปลวกนั้นรอดพ้นจากอันตรายในทุกกรณี เมื่อศัตรูเข้าใกล้ ก็จะมีการอพยพเคลื่อนย้ายไปยังถิ่นใหม่ เพื่อสร้างอาณาจักรใหม่ เป็นวัฏจักรอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เพราะปลวกมีสัญชาตญาณในการรับรู้ถึงมหันตภัย จึงไม่สามารถกำจัดให้หมดสิ้นไปได้ ปลวกจึงยังคงอยู่ร่วมกับมนุษย์มานานหลายร้อยล้านปี
          วันนี้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษจึงขอฝากวิธีกำจัด หรือสร้างเกราะกำบังบ้านให้ปลอดภัยจากปลวก โดยการนำเชื้อโรคที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปลวกอย่างจุลินทรีย์ "เมธาไรเซียม" หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "metarhizium anisopliae spp." ไปคลุกกับกระดาษลัง หนังสือพิมพ์ ขี้เลื่อย ขี้กบไสไม้ ฯลฯ แล้วนำไปใส่ขวดพลาสติกแนวนอน หรือไม้ไผ่ยัดไส้ กลบฝังไว้รอบๆ บ้าน ในระยะ 1-2เมตร ซึ่งจะทำให้บ้านนั้นมีระบบการป้องกันปลวกชั้นดี เมื่อมีกลุ่มแมลงเม่าต่างถิ่นบินมาสร้างรังตั้งอาณาจักร หรือเวลาปลวกงานออกหาอาหารแล้วมาเจอกระบอกไม้ไผ่และสัมผัสเข้ากับเชื้อเพราะ ปลวกจะเป็นสัตว์สังคมชอบสัมผัส เลีย ทำความสะอาดให้แก่กันและกัน ก็ทำให้มีการติดเชื้อจากตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่งและตายยกรังในที่สุด ไม่ต้องห่วงปัญหาเรื่องปลวกอีกต่อไป สำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามเพิ่มเติมโดยตรงที่ 02 986 1680 – 2
          สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
โลกก็ร้อน...ปลวกก็เยอะ แก้อย่างไร?


ข่าวภาวะโลกร้อน+และพฤติกรรมวันนี้

CMMU ชี้เป้าปี 66 ธุรกิจยั่งยืนมาแรง แนะทริคส่งต่อความสำเร็จในการทำธุรกิจ พร้อมดันหลักสูตรปั้นผู้บริหารก่อนตกขบวนกระแสโลก

CMMU เผยเทรนด์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable Business) ในปี 2566 มาแรงตามกระแสภาวะโลกร้อนและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มุ่งสนับสนุนสินค้า บริการ และบริษัทที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ผู้เชี่ยวชาญ CMMU เผยผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนมายด์เซ็ทมุ่งสู่การใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง โดย CMMU พร้อมเผยกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนกับ 3 หลักสูตรอินเตอร์ ทั้ง สาขา Managing for Sustainability สาขา Entrepreneurship Management และ สาขา General Management ผศ. ดร.สุภรักษ์ สุริยัน

นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พ... นักวิจัย จุฬาฯ พัฒนา "ปะการังสู้โลกร้อน" เพื่อทางรอดระบบนิเวศทางทะเล — นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พัฒนาแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภา...

นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พ... นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา "ปะการังสู้โลกร้อน" เพื่อทางรอดระบบนิเวศทางทะเล — นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พัฒนาแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภาว...

หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ... มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5 — หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...

เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ว... วัตสันร่วมมือกับลูกค้าลดคาร์บอน 4,000 ตัน สู้ภาวะโลกร้อน — เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) วัตสัน แบรนด์สุขภาพและความงามชั้นนำของ เอเอส วัตสัน ประ...

บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ก... 60+ Earth Hour 2025 MBK ชวนปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง พร้อมกันทั่วโลก เสาร์ 22 มีนาคมนี้ — บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร องค์การ WWF ...