แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri - Map) ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 (สศท.7) จังหวัดชัยนาท ได้ศึกษาสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top4) ของพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พบว่า สินค้า TOP 4 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ปาล์มน้ำมัน และไก่เนื้อ โดยเกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการผลิต ข้าวนาปี ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 1,448 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,290 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง พื้นที่มีความเหมาะสมมากและปานกลาง เฉลี่ย 1,007 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม เฉลี่ย 997 บาท/ไร่ ปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและปานกลาง เฉลี่ย 2,089 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม เฉลี่ย 1,955 บาท/ไร่ ส่วนไก่เนื้อ เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิ 4.57 บาท/ตัว
          หากพิจารณาสินค้าทางเลือกให้แก่เกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรแทนการทำนาข้าว พบว่า พื้นที่มีความเหมาะสม (S1/S2) สำหรับปลูกข้าวมีจำนวน 323,679 ไร่ และพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) สำหรับปลูกข้าวมีเพียงจำนวน 21,418 ไร่ โดยปัจจุบันเกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย อาทิ
กล้วยหอม มีต้นทุนการผลิต 20,363 บาท/ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 26,646 บาท/ไร่ ซึ่งกล้วยหอมทองตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการเป็นอย่างมาก และขณะนี้กล้วยหอมทองปทุมธานี ยังเป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งหากเกษตรกรสามารถสร้างจุดแข็งและขยายผลต่อยอดเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปได้ 
          เตยหอม สามารถจำหน่ายได้ 3 แบบ คือ ตัดต้นขาย ขายเฉพาะใบ และขายแขนง (หน่อ) ปัจจุบันผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง มีพ่อค้าคนกลาง เข้ามารับซื้อในแหล่งผลิต ต้นทุนการผลิตกรณีตัดต้นขาย มีต้นทุน 16,397 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 15,103 บาท/ไร่
          ฝรั่งกิมจู ต้นทุนการผลิต 19,123 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 25,877 บาท/ไร่ มะระจีน เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยมีระยะการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 45 วัน มีต้นทุนการผลิต 14,597 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 8,647 บาท/ไร่ การปลูกหญ้าปูสนาม ระยะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 35 - 40 วัน มีต้นทุนการผลิต 8,325 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 11,460 บาท/ไร่ และการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ต้นทุนการผลิต 90 บาท/ตัว ผลตอบแทนสุทธิ 54 บาท/ตัว
          ด้านนายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวเสริมว่า ยังมีสินค้าทางเลือกอีกหลายชนิดที่ตลาดต้องการ เช่น การทำเกษตรผสมผสานที่สร้างรายได้และให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ และพืชผักปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มแปลงใหญ่ผัก GAP นำไปขายโครงการผักร่วมใจที่ตลาดไท และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปปลาน้ำจืดที่ผลิตปลาดุกมีคุณภาพและนำปลาดุกมาแปรรูปหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว ควรส่งเสริมสร้างมูลค่าโดยรวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลิตข้าวบริโภค ข้าวหอมหรือข้าวนิ่มเพื่อการแปรรูปจำหน่ายในจังหวัด รวมถึงการพัฒนาสินค้า เช่น การแปรรูป เป็นน้ำมันรำข้าว เป็นต้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเชื่อมโยงหาช่องทางการตลาดและเน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และร่วมวางแผนการผลิตสินค้าและการตลาดสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคกลาง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 โทร. 056 405 5005 - 8 หรืออีเมล [email protected]
แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี
 
แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี
แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี
 
แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี
 
 
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...