“Hemophilia Thailand 4.0” ฮิโมฟีเลียในยุคดิจิทัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นเจ้าภาพจัดงาน Hemophilia Thailand 4.0 ในวันที่ 21 เมษายน 62 ความเป็นมาในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) นำโครงการโรคฮีโมฟีเลียเข้าสู่ระบบในปี 2549 ปัจจุบันมีเครือข่ายการดูแลที่ขยายเพิ่มขึ้น มีศูนย์รักษาฮีโมฟีเลีย 49 โรงพยาบาลกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค โดยมีจำนวนผู้ป่วยลงทะเบียนมากกว่า 1,600 คน และเพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วย ฮีโมฟีเลียจึงสนับสนุนให้เกิดงาน "Hemophilia Thailand 4.0" ขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยในประเทศไทย รศ.พญ. ดารินทร์ ซอโสตถิกุล สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งเด็ก และภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โรคเลือดออกง่ายหรือ ฮีโมฟีเลียจัดเป็นโรคหายาก พบผู้ป่วย 1 คนต่อประชากร 10,000 คน ฮีโมฟีเลียชนิดที่พบบ่อยที่สุดเรียกว่าฮีโมฟีเลียเอ 8 คือ ผู้ป่วยที่ขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดแฟคเตอร์แปด (FVIII) ส่วนชนิดที่พบได้น้อยกว่าเรียกว่าฮีโมฟีเลียบี ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดแฟคเตอร์เก้า (FIX) และหากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจะมีอาการเลือดออกซ้ำๆ นอกจากอาการปวดแล้ว ยังอาจทำให้เกิดความพิการได้ และแม้แต่การเสียชีวิตตั้งแต่ในวัยเด็ก นี่คือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องให้ความสนใจกับปัญหา ที่แพทย์และผู้ป่วยกำลังเผชิญอยู่ในวันนี้ เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยรวมถึงให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
“Hemophilia Thailand 4.0” ฮิโมฟีเลียในยุคดิจิทัล
“Hemophilia Thailand 4.0” ฮิโมฟีเลียในยุคดิจิทัล
“Hemophilia Thailand 4.0” ฮิโมฟีเลียในยุคดิจิทัล
 

ข่าวโรงพยาบาลกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค+สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติวันนี้

การเคหะแห่งชาติ จับมือ สปสช. เดินหน้าติดตั้ง "ตู้ห่วงใย" สร้างสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน ???

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและนวัตกรรมบริการ" สำหรับประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในโครงการที่พักอาศัยภายใต้การกำกับดูแลของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย ตน และ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปอ... กรมอนามัย จับมือ กรมพินิจฯ สปสช เร่งหนุนบริการทันตกรรม มอบโอกาสให้เด็กและเยาวชน — วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย น...

กทม. หนุนองค์กร-ภาคีเครือข่าย-ชุมชนจัดทำโครงการป้องกันฝุ่น PM2.5 ส่งเสริมสุขภาพประชาชน

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอให้ทุกหน่วยงานจัดทำโครงการป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ...

นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่... นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้านยา — นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้า...

LINE ประเทศไทย อัปเดต LINE OA บัญชีทางการ... รวม 9 บัญชี LINE OA บริการจากภาครัฐเพื่อคนไทย ฉบับอัปเดตส่งท้ายปี 2024 เพิ่มเพื่อนได้เลย! — LINE ประเทศไทย อัปเดต LINE OA บัญชีทางการจากภาครัฐส่งท้ายปี 20...

กทม. จัดมาตรการเชิงรุกป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ลดผลกระทบจากบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการขับเคลื่อนการควบคุมและลดผลกระทบจากบุหรี่ โดยเฉพาะควันบุหรี่มือสองว่า สนพ. ร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ...