8 เทคโนโลยีสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บทความโดยคุณวัลลภา เปี่ยมนพเก้า
          ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่, อินฟอร์

          บริษัท อินฟอร์ นำเสนอ 8 เทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่งมากมาย
          1. โซลูชั่น ERP สมัยใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะ
          ธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะมีโซลูชั่นที่ใช้ในการวางแผนทรัพยากรขององค์กรอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามธุรกิจขนาดใหญ่กว่ามักจะใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัยที่ได้รับการปรับปรุงเป็นส่วนๆ (patch) และแอปพลิเคชั่นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่สตาร์ทอัพมักชอบใช้โซลูชั่นทางบัญชีแบบทั่วๆ ไป ที่ให้ความสำคัญกับระบบลูกหนี้-เจ้าหนี้ และระบบสินค้าคงคลังเท่านั้น
          ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โซลูชั่นด้านการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่ทันสมัยมีความก้าวหน้าสำคัญหลายประการด้วยเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลในการสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่างๆ ขยายขีดความสามารถของ ERP ไปครอบคลุมถึงเครื่องมือในการวางแผน การคาดการณ์ และการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่นเฉพาะทางที่เจาะจงไปยังแต่ละอุตสาหกรรรม ซึ่งมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ต่างๆ ติดตั้งมาพร้อม ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องทำการปรับแต่งโค้ดให้ยุ่งยาก และช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการปรับปรุงระบบ โซลูชั่นเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานและให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในโซลูชั่นนั้น
          2. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM)
          ทุกคนทราบดีว่าความสัมพันธ์กับลูกค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จโดยรวมของบริษัท ลูกค้าในยุคปัจจุบันมีความคาดหวังสูง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป (B2C) หรือทำธุรกิจระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ก็ตาม บริษัทและคู่แข่งขององค์กรนั้นๆ ล้วนต้องมองหาแนวทางที่จะใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าของตน และเชื่อมต่อกับผู้บริโภคด้วยแนวทางที่เหมาะสม โดยจะต้องเป็นผู้คุมเกมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับคำสั่งซื้อที่เข้ามา การคาดการณ์และวางแผนสินค้าที่จะนำเสนอในแต่ละฤดูกาลหรือช่วงเทศกาลต่างๆ หรือการวางแผนโปรโมชั่นให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้า โซลูชั่นการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า จะช่วยให้ท่านบริหารจัดการและเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง
          3. การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Capital Management: HCM)
          ความแข็งแกร่งของบริษัทขึ้นอยู่กับบุคลากร บริษัทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ทันสมัยจำเป็นต้องพึ่งพาบุคลากรที่มีทักษะหลากหลายด้าน ตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ไปจนถึงทีมงานฝ่ายจัดซื้อซึ่งจะต้องสรรหาวัตถุดิบที่สดใหม่และคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป การสรรหาพนักงาน การฝึกอบรม และการรักษาบุคลากรที่มีทักษะหลากหลายด้านนั้น อาจเป็นความท้าทายที่น่าหวาดหวั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นสมบัติอันล้ำค่า โซลูชั่นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาและจัดการดูแลบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถไว้กับองค์กรได้อย่างยาวนาน
          4. การบริหารจัดการสินทรัพย์องค์กร และ อินเตอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT)
          โซลูชั่นเพื่อจัดการวงจรชีวิตของเครื่องจักรในโรงงาน ผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ IoT จะช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยให้โรงงานดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาจากการที่ระบบหยุดทำงานโดยกระทันหัน เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้ในเครื่องจักรจะทำหน้าที่เฝ้าสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องดำเนินการซ่อมบำรุง จากนั้นระบบจะแจ้งเตือนฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรในระยะยาว
          5. การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management – PLM)
          ผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังจะเห็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บ่อยครั้งมากขึ้น และผู้บริโภคต้องการมีข้อเสนอและมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น รองรับความต้องการที่แปลกใหม่ มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและการจัดเตรียมที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งนั่นหมายความว่าองค์กรธุรกิจจะต้องทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โซลูชั่น PLM ที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการดังกล่าว และเพิ่มความรวดเร็วในการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น
          6. โซลูชั่นการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
          เมื่อธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายในการจัดการสินค้าคงคลังของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีความท้าทายในเรื่องการจัดการห้องเย็น ห้องแช่แข็ง และแม้กระทั่งคลังสินค้านอกสถานที่ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะบริหารจัดการและตอบสนองอย่างฉับไวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบบการจัดการคลังสินค้าที่ทันสมัยจะมีขีดความสามารถในการทำงานแบบโมบาย เพื่อช่วยในการจัดเก็บแบบสองขั้นตอน การใช้ระบบ cross-docking และ slotting และการจัดส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการจัดการและวางจำหน่ายสินค้า
          7. การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)
          บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ทันสมัยมีความต้องการใช้ประโยชน์จากระบบซัพพลายเชนที่ซับซ้อนและเครือข่ายซัพพลายเออร์จำนวนมาก และโดยมากแล้วมักจะครอบคลุมทั่วโลก ความสามารถในการตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งและสถานะของสินค้าที่จัดส่งได้อย่างทั่วถึงจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่ได้รับจะอยู่ในสภาพสดใหม่และมีการจัดส่งตรงเวลาเพื่อรองรับกระบวนการแปรรูปตามตารางเวลาที่กำหนด ระบบซัพพลายเชนที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนได้แบบ ณ เวลาจริงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนสถานภาพการแข่งขันให้ได้เปรียบ
          8. การใช้ระบบคลาวด์
          การติดตั้งใช้งานระบบคลาวด์มักจะมาพร้อมกับการอัพเดตซอฟต์แวร์ ERP หรือการนำโซลูชั่นใหม่ๆ มาใช้งานเพิ่มเติม โซลูชั่นทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถทำงานบนระบบคลาวด์ได้ และแน่นอนว่าองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องใช้โซลูชั่นที่ยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวสูงสุด เพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว นั่นคือการใช้ระบบคลาวด์
8 เทคโนโลยีสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
 

ข่าววัลลภา เปี่ยมนพเก้า+อุตสาหกรรมอาหารวันนี้

ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร

ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร หวังเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารของไทย พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก บริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทาน เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร เสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหารของไทย พร้อมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก ด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโน

บทความโดยคุณวัลลภา เปี่ยมนพเก้า ผู้อำนวยก... เทคโนโลยีสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเติบโตได้อย่างยั่งยืน — บทความโดยคุณวัลลภา เปี่ยมนพเก้า ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและตลาดเกิดใหม่, อินฟอ...

ภาพข่าว: เอแบครุกสู่มหาวิทยาลัยดิจิตอลมั่นใจฟูจิตสึ วางระบบสื่อสารไอทีเสริมการเรียน การสอน ได้ทุกที่ ทุกเวลา

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด แถลงข่าวเซ็นต์สัญญามอบโครงการระบบโทรศัพท์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต IP-Telephony เป็นระบบสื่อสาร โทรศัพท์และวีดีโอ ที่ใช้งานได้ทั้ง โทรศัพท์ตั้ง...

ฟูจิตสึ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมทดสอบ “ระบบบริหารจัดการสมรรถนะความสามารถของนิสิต” เพื่อเสริมขีดความสามารถของนิสิต โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

บุคคลในภาพ: จากซ้าย ดร.ชัยรัต พงศ์พันธุ์ภาณี หัวหน้ากิจกรรมฝ่ายสารสนเทศและระบบทะเบียนกิจกรรมนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์...

ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส แต่งตั้งนางวัลลภา เปี่ยมนพเก้า กุมบังเหียนรองประธานฝ่ายขายคนใหม่

บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีอย่างครบถ้วน รวมไปถึงโซลูชั่นคลาวด์ ซอฟต์แวร์อีอาร์พี...

ภาพข่าว: อีเอ็มซีมอบรางวัลผลงานดีเยี่ยมสำหรับคู่ค้าปี 2550

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ EMC ได้จัดงาน “EMC Velocity and Partners’ Appreciation 2008: Breaking Away from the Pack” เพื่อนำเสนอทิศทางการดำเนินธุรกิจและโซลูชั่นใหม่ๆ รวมถึงกลยุทธ์การตลาดและ...