ดิ อิโคโนมิสต์ อีเว้นส์ จัดงานปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม 2562 (Social Innovation in Action 2019) มีกลุ่มผู้นำจากทั่วภูมิภาคเข้าร่วมงานจำนวน 130 คน ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ เพื่อหารือแบบเจาะลึกและหาแนวทางเกี่ยวกับอนาคตของนวัตกรรมเพื่อสังคมในเอเชีย
การประชุมสุดยอดผู้นำในครั้งนี้มีการหารือว่า เอเชียสามารถเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลมาแก้ปัญหาความท้าทายทางสังคมที่มีมาอย่างยาวนานได้หรือไม่ โดยมี ไซมอน ค็อกซ์ บรรณาธิการด้านตลาดเกิดใหม่ของ ดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist) และชาลส์ รอส บรรณาธิการบริหาร ผู้นำทางความคิดด้านเอเชีย ของ ดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต เป็นผู้ดำเนินรายการ
การประชุมในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการอภิปรายถึงวิธีการสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรมเพื่อสังคม โดย ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า "รัฐบาลไทยกำลังมองหาวิธีการในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างเร่งด่วน เพราะในขณะนี้นักลงทุนใจดี (angle investor) นักลงทุนเพื่อสังคมในประเทศไทยมีความกระตือรือร้นในการลงทุนโครงการเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคม"
อลิสัน เอสเคอเซน รองประธานฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ศูนย์มาสเตอร์การ์ดเพื่อการเติบโตอย่างทั่วถึง ได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับความท้าทายด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยได้กล่าวว่า "การสร้างเศรษฐกิจ
ดิจิทิลจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทุกๆ คน ในทุกๆ ที่ แต่ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเป็นความท้าทายหนึ่งที่ต้องเผชิญ"
ปิแอร์ เลอกรองด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส กล่าวว่า 9 ใน 10 ของความท้าทายในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นส์ และความรับผิดชอบทางสังคม คือ ผู้นำ นอกจากนี้แล้วลาเล่ เคซีบี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฮิวแมนแอทเวิร์ก กล่าวว่า "องค์กรขนาดใหญ่เป็นผู้ขับเคลื่อน ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะต้องการหรือไม่ต้องการ องค์กรเหล่านั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยงในกิจกรรมด้านสังคม"
ในช่วงบ่าย เป็นการหารือว่า นวัตกรรมทางสังคมจะช่วยลดผลกระทบจากเทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันอย่างไร เพื่อประสานความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ดิจิทัลในหมู่แรงงาน
การอภิปรายแบบเต็มวันครั้งนี้มีการสรุปย่อโดยบรรณาธิการของ ดิ อีโคโนมิสต์ ที่รวบรวมคำถามมาจากเหล่าผู้ฟัง ซึ่งหัวข้อสำคัญในการประชุม ได้แก่
- สิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้นวัตกรรมเพื่อสังคมช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- นวัตกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงธุรกิจดั้งเดิมอย่างไร
- ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ผู้ประกอบการเพื่อสังคม ภาครัฐ และประชาสังคม จะบรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร
- ใครบ้างที่จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อทำให้ความคิดริเริ่มเหล่านี้ประสบผลสำเร็จทั้งทางสังคมและการเงิน
- ภาคนวัตกรรมเพื่อสังคมสามารถทำได้หรือไม่ ที่จะขจัดคำพูดสวยหรูและการตกแต่งบัญชีของบริษัท เพื่อการดำเนินการที่มุ่งมั่น อุทิศให้แก่มาตรวัดทางการเงินที่มีความหมาย ถ้าหากว่าทำได้ จะใช้วิธีการอย่างไร
- นวัตกรรมเพื่อสังคมจะมีโฉมหน้าอย่างไรเมื่อถึงปี 2573
ผู้อภิปรายหลักในงาน ได้แก่
- ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- อลิสัน เอสเคอเซน รองประธานฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ศูนย์มาสเตอร์การ์ดเพื่อการเติบโตอย่างทั่วถึง
- โจนาธาน วอง ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ
- ปิแอร์ เลอกรองด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส
- ลาเล่ เคเซบี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฮิวแมนแอทเวิร์ก
- ทอมมี เหลียง ประธานเขตเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น บริษัทชไนเดอร์ อิเล็คทริค
- ไชบอล ดาส ชอว์ดรี ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเออร์บาเนติก
เจมส์ ซูคัมนูธ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนแบบคำนึงผลกระทบเชิงบวก บริษัทอินเวสติงอินวีเมน
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์ socialinnovationinaction.economist.com
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเป็นผู้สนับสนุนหลักของการประชุมสุดยอดปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อสังคม ขณะที่ วีเวิร์ค เป็นผู้สนับสนุนรอง และ พรีเชียส คอมมิวนิเคชั่นส์ เป็นผู้รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์
เกี่ยวกับ ดิ อีโคโนมิสต์ อีเวนท์ส (The Economist Events)
ดิ อีโคโนมิสต์ อีเวนท์ส เป็นผู้นำในการให้บริการงานประชุมนานาชาติสำหรับผู้บริหารอาวุโส ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ในด้านต่างๆ โดยงานประชุมที่จัดขึ้นมีตั้งแต่การประชุมอุตสาหกรรม งานอีเวนท์เกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการประชุมโต๊ะกลมของรัฐบาลที่จัดขึ้นทั่วโลก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ ดิ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป ดิ อีโคโนมิสต์ อีเวนท์ส เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนับถืออย่างสูงมาตลอด 162 ปี และมีชื่อเสียงอย่างไร้คู่แข่งในด้านความเป็นเลิศและความเป็นอิสระ การประชุมแต่ละงานที่ ดิ อีโคโนมิสต์ อีเวนท์ส จัดขึ้น ให้การวิเคราะห์อย่างเป็นธรรมและครอบคลุมข้อมูลรอบด้าน การประชุมของเราเป็นเวทีระดับสูงที่ผู้บริหารอาวุโสจะได้รับข้อมูลเชิงลึก แลกเปลี่ยนความเห็น และเปรียบเทียบกลยุทธ์ต่างๆ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์เราของเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม www.economist.com/events
แม้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ตลาดธุรกิจ Food Delivery ของประเทศไทย มีความเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 แต่หลังจากการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น ในวันนี้เหลือผู้เล่นเพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดบนแพลตฟอร์ม Food Delivery ได้อย่างเหนียวแน่น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการร้านค้า SME ที่จะปรับแนวทาง หากลยุทธ์ ปั้นร้านให้ดีที่สุด ขยายฐานลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แต่ท่ามกลางจำนวนร้านค้านับแสนราย การจะสร้างร้านให้ "โดดเด่น" จำ
ทีทีบีชวนทำความรู้จักกองทุน Thai ESGX ทางเลือกใหม่เพื่อวางแผนลดหย่อนภาษีและลงทุนอย่างยั่งยืน
—
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างความม...
TIDLOR ผลประกอบการ Q1/68 แข็งแกร่ง ธุรกิจนายหน้าประกัน-สินเชื่อ โตต่อเนื่อง
—
โชว์กำไรนิวไฮ 1,218 ล้านบาท เติบโต 10.3% (YoY) พร้อมคุม NPL ต่ำ 1.78% เตรียม...
"CHAO" ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2568 ทำรายได้ 323.3 ล้านบาท หลังกลุ่มขนมขบเคี้ยวจากเนื้อสัตว์ในจีนโตเด่น ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 11.8%
—
พร้อมเล็งจับมือ TKN...
อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ มอบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
—
อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้ลูกค้าคนสำคัญเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการต...
XPG โชว์ฟอร์ม Q1/68 กำไรโตแรง 24.27% เดินหน้าธุรกิจสินเชื่อ-กองทุน-โทเคน พร้อมรับมือเศรษฐกิจท้าทาย
—
XSpring Capital (XPG) โชว์ฟอร์มเหนือความท้าทาย ผลงานไ...
กสิกรไทยแต่งตั้งกรรมการใหม่ 2 คน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
—
ธนาคารกสิกรไทยประกาศแต่งตั้ง นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย และนางสาวจิตสุภา วัชรพล เข้าเป็นคณะ...
KBank appoints two new directors to replace vacant positions.
—
KASIKORNBANK (KBank) announces the appointment of Mr. Chatchai Luanpolcharoenchai and Ms. ...