วว. /จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมสร้างชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ 3 ชุมชน ผ่านโครงการ InnoAgri นำร่องเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตรภาคเหนือ “กล้วยไข่” ด้วย วทน.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร นักวิจัย วว. ประชุมร่วมกับ นายเทวัญ หุตะเสวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และสภาเกษตรกรจังหวัดฯ ในกรอบการดำเนินงาน "โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (กล้วยไข่)" เพื่อสร้างความยั่งยืนในการปลูกกล้วยไข่ ด้วยการทำให้กล้วยไข่ต้นเตี้ย ขยายขนาดผล และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม สร้างมูลค่าใหม่จากใบกล้วยเป็นอาหารสัตว์ และจากต้นกล้วยเป็นปุ๋ย ตรงตามหลัก BCG ของกระทรวง อว. โดยมีวัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ 3 ชุมชน ได้แก่ 1.ยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) สามารถนำ วทน. ที่เหมาะสมกับยุคสมัยมาใช้สำหรับลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ 2.ยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgri Entrepreneur) ด้วย วทน. สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผล และ 3.สนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (InnoAgri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgri village) สู่ความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตเกษตรกร ผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจของประเทศต่อไป (วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุม สภาเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร)
          การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากกล้วยไข่ โดย วว. ได้แก่
          1. น้ำกล้วยไข่ 
          2. แยมกล้วยไข่
วว. /จังหวัดกำแพงเพชร ร่วมสร้างชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ 3 ชุมชน ผ่านโครงการ InnoAgri นำร่องเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตรภาคเหนือ “กล้วยไข่” ด้วย วทน.
          3. ชาเกสรดอกกล้วยไข่
          4. ชาหัวปลีกล้วยไข่
          5. ข้าวเกรียบจากแป้งกล้วยไข่
          6. คุกกี้ธัญพืชจากแป้งกล้วยไข่
          7. โดนัทจากแป้งกล้วยไข่
          8. เส้นสปาเก็ตตี้จากแป้งกล้วยไข่
          9. สังขยาจากแป้งกล้วยไข่
          10. ซอสพริกจากแป้งกล้วยไข่
          11. น้ำพริกเผาจากปลีกล้วยไข่
          12. น้ำพริกนรกจากปลีกล้วยไข่
          การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับกล้วยไข่ผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดย วว. ได้แก่
          1. บรรจุภัณฑ์กล้วยไข่ผลสด
          2. บรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งกล้วยไข่
          3. บรรจุภัณฑ์ชาหัวปลีกล้วยไข่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (กล้วยไข่) โดย วว. ได้แก่ อาหารสัตว์จากใบกล้วยไข่ (เพื่อเลี้ยงแพะ) เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ประมาณ 30 %
          การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (กล้วยไข่) โดย วว. ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากลำต้นกล้วยไข่ เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ประมาณ 30-40 %
นอกจากนี้ วว. ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับกล้วยไข่ ดังนี้
          1. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยไข่ : ผ่านการทำแปลง ทดลองสาธิตใน 3 พื้นที่ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง และอำเภอคลองลาน ซึ่งเป็น ชุมชนเกษตรนวัตกรรมที่คัดเลือกไว้ โดยได้ดำเนินงาน ดังนี้ คือ
          1.1 การลดความสูงของต้นกล้วยไข่ (กล้วยเตี้ย) จากสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
          1.2 การเพิ่มขนาดและน้ำหนักผลกล้วยไข่จากสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
          2. การขยายพันธุ์กล้วยไข่
          2.1 เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
          2.2 เทคนิคการชำเหง้า