ทส.ชี้แจงการถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          จากกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้คัดค้านแนวคิดการถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบัง เพื่อก่อสร้างท่าเรือ–โรงงานปิโตรเคมี โดยจะถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบังเพื่อรองรับท่าเรือและโรงงานดังกล่าวจำนวน 1 – 3 พันไร่ โดยเห็นว่าเป็น การเอื้อประโยชน์ให้เอกชนซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้ง อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเพียงอุตสาห-กรรมผลิตเม็ดพลาสติกในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษตามนโยบายของ EEC นอกจากนี้ การถมทะเลจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและวิถีทางการประมงพื้นบ้านและ การท่องเที่ยวของชุมชนในบริเวณทะเลแหลมฉบัง อ่าวอุดม เกาะสีชัง และการถมทะเลดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทต่างชาติ ซึ่งอาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิการจัดการ บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามกฎหมายไทยได้
          นายโสภณ ทองดี ผู้ตรวจราชการกระทรวง ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การถมทะเลเป็นกระบวนการสร้างที่ดินใหม่ โดยการถมทราย ดิน หรือโคลน หรือวัสดุอื่นใดในพื้นที่ทะเลรวมไปถึงชายฝั่งทะเล เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะเน้นด้านผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มีอำนาจในการอนุญาตหรืออนุมัติในการก่อสร้างหรือถมทะเลแต่อย่างใด ซึ่งการอนุญาตหรืออนุมติเพื่อดำเนินการจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี
          ด้านนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ตรวจสอบระเบียบที่เกี่ยวข้องและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ดังกล่าวโดยละเอียด ทั้งนี้ การถมทะเลดังกล่าวซึ่งมีขนาดมากกว่า 300 ไร่ จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการกิจกรรม หรือการดำเนินการที่อาจมีผล กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งจะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ซึ่ง EIA ดังกล่าวจะมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง ถึงผล กระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพประชาชน และกฎระเบียบต่าง ๆ นอกจากนี้ สผ. จะได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอความคิดเห็นประกอบ การพิจารณาอีกด้วย สำหรับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ที่กล่าวอ้างว่าจะมีการดำเนินการ ทช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้สำรวจพื้นที่บริเวณดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว พบว่า มีแนวปะการังที่ใกล้แหลมฉบังมากที่สุดอยู่ที่เกาะสีชัง มีระยะห่างออกไปในทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 10 กิโลเมตร โดยในพื้นที่หมู่เกาะสีชังมีแนวปะการังประมาณ 271 ไร่ พบมากบริเวณเกาะสีชัง-ยายท้าว 57 ไร่ เกาะขามใหญ่ 67 ไร่ และเกาะท้ายตาหมื่น 77 ไร่ ที่เหลือกระจายใน พื้นที่เกาะใกล้เคียงอีกประมาณ 70 ไร่ ซึ่งโครงการที่จะดำเนินการในบริเวณดังกล่าว จะต้องศึกษาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรดังกล่าวด้วย
          นายโสภณ ทองดี โฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง รักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อให้คงอยู่ และสร้างสมดุลในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งตามนโยบายของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เน้นย้ำการดำเนินการใด ๆ จะต้องมีความถูกต้องของกฎหมาย บูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน และแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์แก่ประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการ ก็จะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบและกฎหมายที่กำหนด โดย ทส. จะได้พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อไป นายโสภณ ทองดี โฆษกประจำกระทรวง กล่าวในที่สุด
ทส.ชี้แจงการถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบัง
 
ทส.ชี้แจงการถมทะเลในพื้นที่แหลมฉบัง
 

ข่าวสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน+ศรีสุวรรณ จรรยาวันนี้

ภาพข่าว: ขอความร่วมมือผู้ประกอบการร่วมแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ระบุตามที่ กทม. มีคำสั่งหยุดการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ถนน และอาคารสูง ระหว่างวันที่ 4 6 ก.พ. 63 เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 แต่ในพื้นที่เขตหลักสี่ ยังมีการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งในบริเวณศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ถนนเลียบทางรถไฟ หรือถนนกำแพงเพชร 6 ข้างโรงแรมมิราเคิลแกรนด์ว่า กทม. ได้ขอความร่วมมือโครงการก่อสร้างบริเวณถนนเลียบรางรถไฟ หรือถนนกำแพงเพชร ๖ ข้างโรงแรมมิราเคิลแกรนด์

กทม. ชี้แจงข่าวร้องเรียน เรื่อง กทม.ชี้แจงกรณีขุดล้อมย้ายต้นไม้หน้ากระทรวงยุติธรรม

นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่าตามที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนระบุบริเวณจุดก่อสร้างป้ายกระทรวงยุติธรรมด้านหน้าอาคารที่ทำการกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ตามแนวทางเท้าริมถนน...

โฆษกกระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีไทยซื้อถ่านหิ... “พลังงาน” ชี้แจงกรณีไทยซื้อถ่านหินสหรัฐฯไม่ขัดต่อปฏิญญาปารีส — โฆษกกระทรวงพลังงานชี้แจงกรณีไทยซื้อถ่านหินจากประเทศสหรัฐฯ ไม่ได้ขัดแย้งต่อปฏิญญาปารีสว่าด้ว...

จัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย - กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการค้าในที่สาธารณะ

นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. กล่าวกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำตัวแทนผู้ค้าหาบเร่แผงลอยทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ไปยื่นคำร้องที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้ กทม. ระงับการยก...

กทม.ดำเนินโครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอยตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เรียกร้องให้องค์กรอิสระต่าง ๆ ตรวจสอบโครงการโรงไฟฟ้าเผาขยะทั้ง 2 โรงของ กทม.ที่ขาดการมีส่วนร่วม...

ความคืบหน้ากรณีกล่าวหาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ในวันนี้ (10 มีนาคม ๒๕๕8) เวลา 16.00 น. นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ได้แถลงถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ...

แถลงการณ์ของกรีนพีซ

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพร้อมด้วยตัวแทนชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือถ่านหินกระบี่เดินทางมายังศาลปกครองเพื่อยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยเรียกร้องความเป็นธรรมตามสิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ...

แถลงการณ์ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เรื่อง คัดค้านเขื่อนแม่วงก์ที่มุ่งผลาญงบประมาณ-ทำลายแหล่งดูดซับโลกร้อน

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 เห็นชอบข้อเสนอของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในโครงการเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์-กำแพงเพชร ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ซึ่งติดต่อกับผืนป่า...

ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ให้ระงับ ๗๖ โครงการ เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุด

วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ ศาลปกครองกลาง องค์คณะที่ ๑๙ โดยนายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ในคดีหมายเลขดำที่ ๙๐๘/๒๕๕๒ มีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี ...