แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของจังหวัดตราด ตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) พบว่า ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน เงาะ กุ้งขาวแวนนาไม โดยการปลูกยางพาราในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 1,166 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิ เฉลี่ย 194 บาท/ไร่ ทุเรียน พื้นที่ S1/S2 ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 48,267 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 46,352 บาท/ไร่ เงาะ พื้นที่ S1/S2 ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 19,768 บาท/ไร่ พื้นที่ S3/N ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 19,673 บาท/ไร่ และกุ้งขาวแวนนาไม ซึ่งไม่มีการจำแนกพื้นที่ความเหมาะสม มีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 74,503 บาท/ไร่
          หากมองถึงการปลูกข้าวในจังหวัดตราด พบว่า มีพื้นที่ S1/S2 ที่เหมาะสำหรับการปลูก 114,233 ไร่ เกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 607 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N จำนวน 20,633 ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 487 บาท/ไร่ ซึ่งพิจารณาสินค้าทางเลือกเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม ตาม Agri – Map พบว่า มีสินค้าหลายชนิดที่สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่า อาทิ
          มะพร้าวน้ำหอม มีต้นทุนการผลิต 5,789 บาท/ไร่/ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-60 วัน/รอบ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 22,352 บาท/ไร่/ปี (ประมาณ 6 รอบ) ซึ่งมีโครงการ Zoning ของภาครัฐ สนับสนุนต้นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม และค่าปรับพื้นที่ในการเตรียมดิน ในการปรับเปลี่ยนการผลิตจากนาข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมปรับเปลี่ยนเป็นยกร่องทำแปลงมะพร้าวน้ำหอม และราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นที่ต้องการของตลาดนักท่องเที่ยวที่มาจังหวัดตราด ฟักทอง มีต้นทุนการผลิต 6,860 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 60 วัน/รุ่น ได้ผลตอบแทนสุทธิ 14,667 บาท/ไร่/รุ่น โดยจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิตต่อเนื่อง
          มันเทศ มีต้นทุนการผลิต 10,651 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 13,724 บาท/ไร่/รุ่น พริก มีต้นทุนการผลิต 21,184 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 90 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 13,037 บาท/ไร่/รุ่น โดยมันเทศและพริกมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิตและขายปลีกแก่ผู้บริโภคในท้องถิ่น 
          แตงกวา มีต้นทุนการผลิต 8,282 บาท/ไร่/รุ่น ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40 วัน/รุ่น ผลตอบแทนสุทธิ 9,941 บาท/ไร่/รุ่น เป็นพืชหลังนาที่ใช้น้ำน้อย ปัจจุบันผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง มีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อในแหล่งผลิต นอกจากนี้ ยังมีการปลูกกาแฟ ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกร่วมในพื้นที่ไม่เหมาะสมของการปลูกยางพาราได้ มีต้นทุนการผลิต 15,818 บาท/ไร่/ปี ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 150 วัน โดยเกษตรกรเก็บเกี่ยวปีละ 1 ครั้ง ได้ผลตอบแทนสุทธิ 20,815 บาท/ไร่/ปี ทั้งนี้ การปลูกกาแฟ ดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก มีแมลงรบกวนน้อย ราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตมีการสร้าง แบรนด์กาแฟเพื่อการค้าของดีจังหวัดตราดจึงมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคตะวันออก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 038 351 261 หรืออีเมล [email protected]
แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด
 
แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด
แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด
 
แนะสินค้าทางเลือก ทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเกษตรกรจังหวัดตราด
 
 
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...