“พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" โดยเริ่มทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 – 12 มิถุนายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,507 หน่วยตัวอย่าง สอบถามการรับรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบพบตัว โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.00
          จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.89 ระบุว่า เคยได้ยิน ขณะที่ ร้อยละ 17.11 ระบุว่า ไม่เคยได้ยิน 
          ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า เคยได้ยินเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า ร้อยละ 55.58 ระบุว่า พอทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์หลักของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร้อยละ 26.71 ระบุว่า ทราบดี และร้อยละ 17.71 ระบุว่า ไม่ทราบเลย
          และสำหรับช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของผู้ที่ ระบุว่า ทราบดีและพอทราบเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.27 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา ร้อยละ 58.65 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 10.82 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อเว็บไซต์ ร้อยละ 7.37 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 5.26 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อบุคคล และร้อยละ 2.63 ระบุว่า รับรู้ผ่านสื่อวิทยุ
เมื่อถามประชาชนถึงการรับรู้สาระสำคัญเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยแบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 
          (1) ประเด็น พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยดูแลและปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ของภาครัฐและเอกชน ให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.80 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 5.20 ระบุว่า ไม่ทราบ 
          (2) ประเด็น พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการเฝ้าระวัง สอดส่องติดตามข้อมูลเนื้อหาในโลกโซเชียลของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.87 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 27.13 ระบุว่า ไม่ทราบ 
          (3) ประเด็น สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มีหน้าที่ดูแล และเฝ้าระวัง
การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ สาธารณูปโภค การบริการทางการเงิน และความมั่นคงของประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.91 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 25.09 ระบุว่า ไม่ทราบ 
          (4) ประเด็น ในกรณีเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับไม่ร้ายแรง สามารถอุทธรณ์ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 51.75 ระบุว่า ไม่ทราบ และร้อยละ 48.25 ระบุว่า ทราบ 
          (5) ประเด็น ในกรณีเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับร้ายแรง เจ้าหน้าที่ต้องมีหมายศาลในการ ตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ และการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 51.05 ระบุว่า ทราบ และร้อยละ 48.95 ระบุว่า ไม่ทราบ 
          (6) ประเด็น กรณีเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับวิกฤติ เจ้าหน้าที่ไม่ต้องมีหมายศาลในการตรวจค้น ยึดอุปกรณ์ และการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ แต่หลังจากดำเนินการแล้วต้องแจ้งรายละเอียดต่อศาลโดยเร็ว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 51.87 ระบุว่า ไม่ทราบ และร้อยละ 48.13 ระบุว่า ทราบ
          ด้านความคิดเห็นที่มีต่อ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ว่าจะช่วยสร้างความมั่นคงปลอดภัยและแก้ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.80 ระบุว่า ช่วยได้ค่อนข้างมาก รองลงมา ร้อยละ 23.10 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 20.47 ระบุว่า ช่วยได้ค่อนข้างน้อย และร้อยละ 2.63 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย
          เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในประเด็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.09 ระบุว่า ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพราะ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีไว้เพื่อป้องกัน และรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และเศรษฐกิจ รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ไม่เกี่ยวกับการสอดส่องดูข้อมูลส่วนตัวของประชาชน อีกทั้งมีกฎหมายควบคุมไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ รวมถึงเชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ใช้อำนาจในทางมิชอบ ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 21.00 ระบุว่า ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพราะ มองว่า พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้สิทธิและอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเกินไป ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลประชาชนได้ง่าย เลยกังวลว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงไม่มีหน่วยงานอิสระที่ถ่วงดุลอำนาจ และตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเลย เลยกลัวว่ารัฐบาลจะใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ และร้อยละ 54.91 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.22 ระบุว่า ควรสร้างความรู้/จิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับโทษในการคุกคามความมั่นคงทางไซเบอร์ รองลงมา ร้อยละ 61.99 ระบุว่า ควรควบคุมไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐนำไปใช้ในทางมิชอบ ร้อยละ 56.84 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและลงโทษขั้นรุนแรงกับผู้ที่กระทำผิด ร้อยละ 42.63 ระบุว่า ควรมีหน่วยงานภายนอกที่เป็นองค์กรอิสระเข้ามาถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบการทำงาน ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ควรมีการรายงานผลความสำเร็จของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายต่อไป และร้อยละ 10.41 ไม่ระบุ/ไม่สนใจ
          เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.86 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 49.14 เป็นเพศชาย โดยร้อยละ 33.43 มีอายุ 26 - 35 ปี รองลงมา ร้อยละ 25.73 มีอายุ 36 - 45 ปี ร้อยละ 21.54 มีอายุ 18 - 25 ปี ร้อยละ 15.32 มีอายุ 46 - 59 ปี และร้อยละ 3.98 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 34.98 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/เทียบเท่า รองลงมา ร้อยละ 29.80 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 18.71 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 11.53 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า และร้อยละ 4.98 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี/เทียบเท่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 28.29 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ รองลงมา ร้อยละ 20.34 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 18.59 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.11 เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.02 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 5.86 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.23 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน และร้อยละ 0.56 ประกอบอาชีพประมง ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.05 มีรายได้ 10,001 - 20,000 บาท/เดือน รองลงมา ร้อยละ 22.02 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 19.55 มีรายได้ 20,001 - 30,000 บาท/เดือน ร้อยละ 6.58 มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท/เดือน ร้อยละ 5.58
ไม่มีรายได้ ร้อยละ 3.79 ไม่ระบุรายได้ และร้อยละ 3.43 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน


 
“พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...