ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Moody’s Investors Service (Moody’s)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวรายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Moody's Investors Service (Moody's) ว่า Moody's ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) จากระดับ "มีเสถียรภาพ (Stable Outlook)" เป็น "เชิงบวก (Positive Outlook)" และคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Credit Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่ง Moody's ได้ชี้แจงเหตุผลและปัจจัยที่สำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          1. การปรับมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเกิดจากการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนของภาครัฐและการพัฒนาทุนมนุษย์ที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รัฐบาลมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) วงเงิน 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นร้อยละ 10 ของ GDP) ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยผ่านการดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการ EEC มีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) สะท้อนได้จากยอดสุทธิการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่าตัวจากปี 2559 รวมถึงการที่รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2.76 ล้านล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 18 ของ GDP) 
          2. การดำเนินงานนโยบายทางการคลังและการเงินของรัฐบาลที่มีความโปร่งใสและคาดการณ์ได้ส่งผลให้หนี้รัฐบาลและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ โดย Moody's ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริงอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 – 3.5 ในปี 2562 – 2563 ซึ่งสอดคล้องกับค่ากลางอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือกลุ่ม A และ Baa ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า ดังนั้น เศรษฐกิจที่มีความมั่นคง การลงทุนภายในประเทศและการพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยลดปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยอีกด้วย
          3. ความแข็งแกร่งทางการเงินภาคต่างประเทศ (External Finance) และภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) เป็นผลจากการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาคที่มีประสิทธิภาพ โดย Moody's ประมาณการสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 35 – 40 ในปี 2562 – 2563 ซึ่งใกล้เคียงกับค่ากลางสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP ของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือกลุ่ม A ที่ร้อยละ 37 และต่ำกว่าค่ากลางสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลต่อ GDP ของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือกลุ่ม Baa ที่ร้อยละ 52 ซึ่งการมีหนี้รัฐบาลในระดับต่ำนั้นจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงรองรับวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่คาดคิด นอกจากนี้ การบริหารหนี้สาธารณะในเชิงรุกและการมีสัดส่วนหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศในระดับต่ำจะเป็นเกราะป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
          4. Moody's ให้ความเห็นว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะจะส่งผลต่อความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้บรรจุแผนการลงทุนด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนงานยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงการทำงานร่วมกับสหประชาชาติในการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม พร้อมทั้งการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา ซึ่งจะช่วยยกระดับผลิตภาพและทักษะแรงงานในระยะต่อไป
          5. Moody's คาดว่า ความเข้มแข็งทางการเงินภาคต่างประเทศจะช่วยปรับสมดุลจากการไหลเข้าออกของเงินทุน โดย Moody's ประมาณการว่าสัดส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของไทยจะเกินดุลอยู่ที่ร้อยละ 3 – 5 ในปี 2562 – 2563 แม้ว่าสัดส่วนดังกล่าวจะอยู่ในระดับต่ำกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัวลงและมีการเบิกจ่ายตามโครงการโครงสร้างพื้นฐานซึ่งมีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่ากลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือกลุ่ม A และ Baa ในขณะที่การเกินดุลต่างประเทศมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 215,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 40 ต่อ GDP ณ เดือนมิถุนายน 2562
          6. ทั้งนี้ Moody's จะติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการแก้ไขปัญหาทักษะแรงงานและปัญหาสังคมผู้สูงอายุซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับอันดับความน่าเชื่อถือในอนาคต
          สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ
          โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505 5522
 
 

ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+ภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุขวันนี้

ผลการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะแถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ผ่านผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และความเสี่ยงของพอร์ตหนี้รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงเป็นการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรมBond Switching ให้ครอบคลุมเครื่องมือทางการ

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำ... การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2 — นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าวพ...

พันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่กระทรวงการคลังกำหนด (Source Bond) สำหรับธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) มีแผนที่จะดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ...

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำ... สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง พร้อมเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล — นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า สำนั...

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำ... ผลการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2561 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ — นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผย...

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำ... การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 (เพิ่มเติม 2) — นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธ...

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 (เพิ่มเติม)

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะแถลงข่าวการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 (เพิ่มเติม) ...

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำ... ภาพข่าว: ธ. ออมสินจัดงานวันกำกับดูแลกิจการที่ดี — นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะกรรมการธนาคารออมสิน รักษาการ...