แม่เหล็กอัจฉริยะดูดซับโลหะหนักในแหล่งน้ำเสีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ชื่อผลงาน การสังเคราะห์คุณสมบัติทางแม่เหล็กด้วยนาโนแมกนีไทต์ บนไฮโดรชาล์จากทางปาล์มเพื่อดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย
          คณะผู้จัดทำ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
          แนวคิดที่มา การทำวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ไฮโดรชาล์ที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กจากทางปาล์มสำหรับการดูดซับโลหะหนักในน้ำ ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้ จึงได้ทำการสังเคราะห์ไฮโดรชาล์จากทางปาล์ม ด้วยวิธีการ Hydrothermal carbonization (HTC) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อุณหภูมิต่าเพียง 180-200 องศาเซลเซียส และใช้น้ำกลั่นเป็นตัวกระตุ้น จึงทำให้กระบวนการผลิตไฮโดรชาล์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเนื่องจากมีการเพิ่มคุณสมบัติการดูดติดกับแม่เหล็กด้วยนาโนแมกนีไทต์จากสนิมให้กับไฮโดรชาล์ จึงสามารถนำออกจากระบบได้ด้วยหลักการแม่เหล็กไฟฟ้า 
          ดังนั้น จากการศึกษาและสังเคราะห์ไฮโดรชาล์พบว่าไฮโดรชาล์ที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กจะมีค่า pH point of zero charge ลดลงเฉลี่ย 5.67 โดยไฮโดรชาล์มีค่า pH = 8.9 และ ไฮโดรชาล์, ไฮโดรชาล์ที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก 1:1 , 1:1.5, 1:2 มีค่า pH เท่ากับ 8.3, 8.4 และ 8.3 ตามลำดับ ค่าการดูดซับไอดอดีน (Iodine number) ไฮโดรชาล์ที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก 1:1 , 1:1.5 , 1:2 ได้ผลดังนี้ 785.03 mg/g ,792.85 mg/g ,801.24 mg/g และ797.97 mg/g ตามลำดับ และค่าการดูดซับเมทิลีน (methylene blue number) ไฮโดรชาล์ที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก 1:1 , 1:1.5 , 1:2 ได้ผลดังนี้ 68.32 mg/g ,69.53 mg/g ,69.74 mg/g และ70.12 mg/g ตามลาดับ ซึ่งค่าทางสถิติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 การศึกษาความสามารถในการดูดซับไอออนโลหะหนักของ Magnetic hydrochar โดยแบ่งความเข้มข้นตั้งต้นของไอออนโลหะ 1,000 ppm ปริมาตร 200 ml. ใช้ปริมาณตัวดูดซับ 1 g ทดลองในสภาวะควบคุมอุณหภูมิคงที่ที่ 25 °C และ pH 5 พบว่า Nickel ( Ni2+ ) เป็นโลหะที่ดูดซับได้ดีที่สุดและ Copper ( Cu2+ ) เป็นโลหะที่ดูดซับได้น้อยที่สุด อยู่ที่ 96.76±0.9% และ 68.24±0.7% ตามลำดับ การศึกษาค่า pH ที่มีผลต่อการดูดซับไอออนโลหะได้ดีที่ pH 5 การศึกษาระยะเวลาสัมผัสผิวระหว่างไอออนโลหะและ Magnetic hydrochar เริ่มมีเปอร์เซ็นต์การดูดซับคงที่ที่ 60 นาทีและการศึกษาการดูดซับไอออนโลหะผสมโดยผสมในอัตราส่วนความเข้มข้น 1 : 1 : 1 : 1 : 1 : 1 ปริมาตรสารละลาย 200 มิลลิลิตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การดูดซับไอออน โลหะหนักเริ่มเข้าสู่สมดุลในช่วงนาทีที่ 60 และ Nickel (Ni2+) มีเปอร์เซ็นต์การดูดซับสูงสุดที่ 77.64% และ Copper (Cu2+) มีเปอร์เซ็นต์การดูดซับต่าสุดที่ 18.05% การดูดซับไอออนโลหะหนักของไฮโดรชาล์เป็นไปตามสมการแบบจาลองไอโซเทอมของแลงเมียร์ (Langmuir) ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าการดูดซับบนพื้นผิวคาร์บอนสามารถเกิดได้มากที่สุดมีความหนาเพียงชั้นเดียว แต่ละตำแหน่งจะสามารถ จับสารที่ถูกดูดซับได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นการดูดซับ แบบชั้นเดียว (Monolayer type adsorption) และการดูดซับไอออนโลหะหนักของไฮโดรชาล์เป็นแบบ Pseudo Second Order หรืออันดับสองเทียม
          รางวัลที่ได้รับ รางวัลถ้วยพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา หมวดนวัตกรรมเชิงสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
แม่เหล็กอัจฉริยะดูดซับโลหะหนักในแหล่งน้ำเสีย
 
แม่เหล็กอัจฉริยะดูดซับโลหะหนักในแหล่งน้ำเสีย

ข่าวโรงเรียนวิทยาศาสตร์+นครศรีธรรมราชวันนี้

นักเรียนศูนย์สอวน.ม.วลัยลักษณ์ คว้าเหรียญทองคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 18

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ประธานสาขาคอมพิวเตอร์ ศูนย์ สอวน.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนศูนย์สอวน.ม.วลัยลักษณ์ ได้แก่ นายธีร์ เหมจินดา นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้รับรางวัลเหรียญทองและรางวัล"คะแนนสูงสุดภาคใต้" และ นายชยพัทธ์ ครุฑนิ่ม นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ซึ่ง

มร.ทาฮา แมคเฟอร์สัน (ที่ 4 จากซ้าย) เอกอั... ทูตนิวซีแลนด์ ร่วมแสดงความยินดี 10 ปีโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย — มร.ทาฮา แมคเฟอร์สัน (ที่ 4 จากซ้าย) เอกอัคราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย ร่วม...

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เตรียมจัดงานใหญ่ "10 ปีการพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์"

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เตรียมจัดงานใหญ่ "10 ปีการพัฒนาต่อยอดโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามอุดมการณ์" รัฐมนตรี ผู้บริหารเปิดงานและชมนิทรรศการผลงานฯ...