ชูสินค้าทางเลือก จ.สมุทรปราการ มะพร้าวน้ำหอม-ผักกระเฉด ราคาดี มีตลาดรองรับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) ซึ่ง สศท.6 ได้ศึกษาสินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า สินค้า TOP 4 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มะม่วงน้ำดอกไม้ ปลาสลิด โดยข้าวนาปี เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 2,136 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ ในพื้นที่มี S1/S2 เฉลี่ย 2,284 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) พบว่า เกษตรกรไม่มีการเพาะปลูกทั้งข้าวนาปีและนาปรัง มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งไม่มีการจำแนกพื้นที่ความเหมาะสม ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 26,960บาท/ไร่ และ ปลาสลิด ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 9,817 บาท/ไร่
          นอกจากนี้ สินค้าทางเลือกเพื่อเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร ควรปรับรูปแบบการผลิตเป็นเกษตรแบบผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือการเลี้ยงปลาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย อาทิ มะพร้าวน้ำหอม มีต้นทุนการผลิต 4,466 บาท/ไร่/ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตใน 40 – 60 วัน/รอบ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 17,800 บาท/ไร่/ปี (ประมาณ 6 รอบ) ราคาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี มีตลาดชุมชนเมืองรองรับและแปรรูปทำวุ้นมะพร้าวอ่อน รวมทั้งมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่สวน เกษตรกรสามารถปลูกรอบคันบ่อเลี้ยงปลา คันนาข้าว และการดูแลรักษาใส่ปุ๋ยในปริมาณที่น้อย ส่วนการรดน้ำ รดน้ำตอนปลูกใหม่ ส่วนต้นโตไม่ต้องรดน้ำ เพราะรากสามารถดูดน้ำจากบ่อปลาได้ ทั้งนี้ ราคารับซื้อของจังหวัด เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 7.83 บาท 
          ผักกระเฉด มีต้นทุนการผลิต 28,800 บาท/ไร่/ปี ให้ผลผลิตใน 90 วัน เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 52,800 บาท/ไร่/ปี (ประมาณ 4 รอบ) ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรปราการ มีตลาดรองรับแน่นอน พ่อค้าคนกลาง มารับซื้อที่แปลง และสามารถปลูกผักกะเฉด สลับกับการเลี้ยงปลาได้ โดยปัจจุบันผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด อย่างต่อเนื่อง ราคารับซื้อของจังหวัด เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 7.96 บาท 
          ทั้งนี้ หากเกษตรกรต้องการปรับเปลี่ยนการผลิต ควรวางแผนการผลิต ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน ระยะเวลาการปลูกหรือเลี้ยง จนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยมีข้อมูลสนับสนุนความต้องการของตลาด โดยเกษตรกร หรือท่านที่สนใจข้อมูลสินค้าทางเลือกในพื้นที่ หรือข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตรที่สำคัญ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. 0 3835 2435 หรือ [email protected]
ชูสินค้าทางเลือก จ.สมุทรปราการ มะพร้าวน้ำหอม-ผักกระเฉด ราคาดี มีตลาดรองรับ
 
ชูสินค้าทางเลือก จ.สมุทรปราการ มะพร้าวน้ำหอม-ผักกระเฉด ราคาดี มีตลาดรองรับ
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...