สุราษฎร์ธานียกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมัน มอบเกียรติบัตรโรงงานสกัดที่ได้คุณภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายชาญชัย ศศิธร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้เกษตรกร ลานเท และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม พัฒนาการผลิตและซื้อขายปาล์มน้ำมันคุณภาพ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการจำหน่ายผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้นและเป็นธรรม โดยมีสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 
          การดำเนินโครงการ ได้มีการจัดประกวดโรงงานการพัฒนาคุณภาพปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยโรงงานที่เข้าประกวดจะต้องพัฒนาคุณภาพสกัดน้ำมันปาล์มดิบให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ อัตราน้ำมันร้อยละ 18 ขึ้นไป (ปาล์มน้ำมัน 100 กิโลกรัม สามารถสกัดน้ำมันปาล์มดิบ หรือ CPO ได้ 18 กิโลกรัม) ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการฯ ได้ประเมินโรงงานที่สมัครเข้าร่วมประกวด จำนวน 20 โรงงาน ในช่วงเดือนธันวาคม 2561- มกราคม 2562 พบว่า มีโรงงานที่สกัดน้ำมันปาล์มดิบได้อัตราร้อยละ 18 - 18.99 จำนวน 16 ราย และโรงงานที่สกัดน้ำมันปาล์มดิบได้ อัตราร้อยละ 19 จำนวน 2 ราย นอกจากนี้ ได้มีการติดตามผลต่อเนื่อง พบว่า มีโรงงานสกัดที่พัฒนาการผลิตน้ำมันปาล์มดิบให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2562) สามารถสกัดน้ำมันปาล์มดิบได้อัตราร้อยละ 18 จำนวน 2 ราย และโรงสกัดที่สามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ในอัตราร้อยละ 19 จำนวน 4 ราย
          ผลจากการประกวดตามโครงการฯ ทางจังหวัดได้มีพิธีมอบเกียรติบัตรให้ผู้ประกอบการโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันในจังหวัดที่เข้าประกวด ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 โดยมีนายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีและมอบเกียรติบัตร ซึ่งการจัดประกวดโครงการในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวและสร้างความตระหนักร่วมกันในการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ          
          สำหรับการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามโครงการ ขณะนี้เสร็จสิ้นตามเป้าหมายแล้ว โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งจากโรงงาน เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ลานเทในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการตัดและซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เน้นคุณภาพมากขึ้น
          ทั้งนี้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของประเทศ โดยมีเนื้อที่ให้ผลและผลผลิตมากที่สุดในประเทศ ซึ่งปี 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2562) จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ให้ผล 1.219 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 4 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ โดยจังหวัดมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาปาล์มน้ำมันไปสู่ Oil Palm City ซึ่ง สศท.8 ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วย ดังนั้น หากมีการพัฒนายกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมัน และสามารถสกัดน้ำมันได้อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.15 - 0.20 บาท/กิโลกรัม ส่งผลทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรายได้เพิ่มขึ้นในภาพรวมอย่างน้อยประมาณ 809 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ต้องให้ความความสำคัญในการตัดปาล์มน้ำมันที่สุก สด และมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิตในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมให้บริการและให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน
สุราษฎร์ธานียกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมัน มอบเกียรติบัตรโรงงานสกัดที่ได้คุณภาพ
 
สุราษฎร์ธานียกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมัน มอบเกียรติบัตรโรงงานสกัดที่ได้คุณภาพ
สุราษฎร์ธานียกระดับคุณภาพปาล์มน้ำมัน มอบเกียรติบัตรโรงงานสกัดที่ได้คุณภาพ
 
 
 
 

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...