นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบูรณาการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพ ครั้งที่ 1 ปี 2563 ซึ่ง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฏร์ธานี (สศท.8) ร่วมกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 (สสก.5) จังหวัดสงขลา ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) สำนักงานเกษตรจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา (นายสุพิท จิตรภักดี) เป็นประธานการประชุม ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาผลพยากรณ์ไม้ผลภาคใต้ ครั้งที่ 1 ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกองในพื้นที่ 14 จังหวัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู
สำหรับผลพยากรณ์ปี 2563 ครั้งที่ 1 (ข้อมูล ณ 10 มีนาคม 2563) พบว่า เนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,018,651 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 1,002,587 ไร่ (เพิ่มขึ้น 16,064 ไร่ หรือร้อยละ 1.60) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.96 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.10 ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 11.68 และลองกอง ลดลงร้อยละ 10.98
เนื้อที่ให้ผล ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 855,815 ไร่ ลดลงจากปี 2562 ที่มีจำนวน 869,276 ไร่ (ลดลง 13,461 ไร่ หรือร้อยละ 1.55) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.51 มังคุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 13.02 และลองกอง ลดลงร้อยละ 10.73
ผลผลิตรวม ทั้ง 4 สินค้า คาดว่าจะมีประมาณ 865,037 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 800,598 ตัน (เพิ่มขึ้น 64,439 ตัน หรือ ร้อยละ 8.05) โดยผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งคาดว่าผลผลิตรวมของทุเรียนจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 16.29 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาดีต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาต้นทุเรียนดี ส่วนมังคุด เงาะ และลองกอง คาดว่าผลผลิตรวมลดลง โดยมังคุดจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.01 เนื่องจากในแหล่งผลิตที่สำคัญ คือ จังหวัดชุมพร ฝนตกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทำให้ต้นมังคุดแตกยอดอ่อนแทน ส่วนเงาะ ลดลงร้อยละ 6.87 และลองกอง ลดลงร้อยละ 7.55
ผลผลิตต่อไร่ ทั้ง 4 ชนิด ภาพรวมมีทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพต้นสมบูรณ์ พร้อมต่อการออกดอกติดผล ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้ไม้ผลออกดอกมากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของทุเรียน มีปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น คือ ราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาเพิ่มมากขึ้น มีการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ ในส่วนเพิ่มเติม และมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อผลิตทุเรียน GAP เพิ่มขึ้น
ด้านนางพัชรารัตน์ ลิ้มศิริกุล ผู้อำนวยการ สศท.8 กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ ทุเรียนออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 42 ผลผลิตที่ติดในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก โดยจะทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม มังคุดออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 9 โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพรซึ่งเป็นแหล่งผลิต ที่สำคัญ มีฝนตกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทำให้มังคุดแตกใบอ่อนแทนการออกดอก สามารถเก็บผลผลิตรุ่นแรกได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม เงาะออกดอกแล้วประมาณร้อยละ 15 จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบแรกได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนลองกองสถานการณ์ขณะนี้ยังคาดการณ์การออกดอกไม่ชัดเจน เนื่องจากยังมีฝนประปราย ต้นลองกองยังไม่ขาดน้ำ ทำให้ต้น ใบยังไม่สลด แต่คาดว่าจะเริ่มมองเห็นการติดดอกที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายมีนาคม-เมษายน
อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้ปริมาณผลผลิตไม้ผลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อีก เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศที่มีฝนตกทิ้งช่วงไปเร็วกว่าปีที่ผ่านมา อีกทั้งสภาพอากาศหนาวเย็น ส่งผลให้ทุเรียน มังคุด และเงาะ มีการติดดอกออกผลเร็วขึ้น และจะเริ่มเห็นพัฒนาการออกดอกได้ชัดเจนหลังกลางเดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งหลังจากนี้ สศท.8 จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจะร่วมกับคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทันทีหลังจากสถานการณ์โรค COVID – 19 คลี่คลายเพื่อวางแผนบริหารจัดการไม้ผลและรายงานผลพยากรณ์ ครั้งที่ 2 ให้คณะทำงานฯทราบโดยเร็วต่อไป
สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลไม้ผลภาคใต้เพิ่มเติมได้ที สศท.8 โทร. 07731 1641 Email: [email protected]
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "หลักสูตรนักจัดการ APP. Tech. ด้าน BCG เชิงพื้นที่" ครั้งที่ 1 ณ คุ้มพญาซอรีสอร์ท ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนางสาวเชาวนีฐ์ โคมแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายด้าน BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านกระบวนการส่ง
เกษตรเขต 2 ตรวจสอบผลการวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล พื้นที่ปลูกจริงเทียบกับการวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล จังหวัดกาญจนบุรี
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนัก...
เกษตรเขต 2 ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 7
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษ...
เกษตรเขต 2 ภาคตะวันตก จัดเวทีการจัดการความรู้ (KM) ระดับเขต เสริมความรู้การปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ 8 จังหวัดภาคตะวันตก
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงาน...
กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเกษตรเขต 2 พร้อมเกษตรจังหวัด 8 จังหวัด ประชุมขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภาคตะวันตก เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าใน 4 ปี
—
นายรพีทัศน์...
เกษตรเขต 2 ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 6
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษ...
เกษตรเขต 2 ประชุมคณะกรรมการประสานงานวิสาหกิจชุมชนระดับเขต เพื่อขับเคลื่อนงานวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันตก ปี 2568
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยก...
กรมส่งเสริมการเกษตรประชุมผู้บริหารเกษตร 6 เขต และเกษตรจังหวัด 77 จังหวัด ขับเคลื่อนนโยบายภาคการเกษตรของประเทศ ครั้งที่ 1/2568
—
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกร...
เกษตรเขต 2 ประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ขับเคลื่อนการเกษตร 8 จังหวัด ภาคตะวันตก
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเส...