กอปภ.ก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ในช่วงวันที่ 21 - 24 มีนาคม 2563 โดยประสานจังหวัดและศูนย์ ปภ. เขต ในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศและแนวโน้มสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกล สาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีรวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา และพิจารณาปัจจัยเสี่ยง พบว่า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าฝ่าเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำ มีความร้อนปกคลุม รวมถึงลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ได้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลาง สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์วาตภัย ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2563 แยกเป็น
ซึ่ง กอปภ.ก ได้กำชับให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดรวมถึงปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัดตลอดจนตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงห้ามหลบพายุบริเวณใต้ต้นไม้ ป้ายโฆษณาหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการถูกล้มทับ ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพฯ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 10 – 13 พ.ค. 63 ซึ่งมีลักษณะอากาศของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น โดยประสานจังหวัดและศูนย์ ปภ. เขตในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศ และแนวโน้มสถานการณ์ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลสาธารณภัย
NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง
—
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...