ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,113 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 3 - 5 มีนาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ถ่ายทอดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับฝอยละออง จากลมหายใจของผู้ติดเชื้อ (ที่เกิดจากการไอและจาม) การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน อาจอยู่รอดบนพื้นผิวเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ก็ถูกทำลายได้ด้วยสารฆ่าเชื้อทั่วไป ในปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิดมีการระบาดของโรคดังกล่าวไปทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 43 คนมีผู้เสียชีวิต 1 คน และรักษาหาย 31 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563) วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 โดยการสวมหน้ากากอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก ต้องใช้ช้อนกลาง เมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ล้างให้สะอาด และหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง รัฐบาลได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 มี.ค.2563 เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตราย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อฯมีอำนาจ สั่งปิดสถานที่ต่างๆ ไว้เป็นการชั่วคราว สั่งให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหยุดการประกอบอาชีพชั่วคราว และสั่งห้ามผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่บางแห่ง ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การตื่นตระหนกของคนไทยทำให้หน้ากากอนามัยขาดตลาด รัฐบาลได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาสำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปันส่วนหรือจำหน่ายหน้ากากอนามัย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทำให้การโก่งราคาขายหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นสินค้าควบคุม มีความผิดทางอาญาโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ประชาชนที่พบเห็นการกระทำความผิด โทรแจ้งได้ที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ความรู้สึกตื่นตกใจทุกครั้งที่ท่านได้ยินข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ร้อยละ 76.9 และเกิดความกลัวการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ร้อยละ 81.0 และมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ร้อยละ 57.9 และทราบวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 โดยการสวมหน้ากากอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก ต้องใช้ช้อนกลาง เมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ล้างให้สะอาด และหลีกเลี่ยงเดินทางไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 80.6
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบว่ามีการประกาศโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2563 ร้อยละ 68.7
และทราบว่า กรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตราย ให้คณะกรรมการโรคติดต่อฯมีอำนาจ สั่งปิดสถานที่ต่างๆ ไว้เป็นการชั่วคราว สั่งให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคหยุดการประกอบอาชีพชั่วคราว และสั่งห้ามผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่บางแห่ง ผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้อยละ 55
อีกทั้งยังทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปันส่วนหรือจำหน่ายหน้ากากอนามัย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ร้อยละ 68.7
และทราบว่า การโก่งราคาขายหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นสินค้าควบคุม มีความผิดทางอาญาโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ประชาชนที่พบเห็นการกระทำความผิด โทรแจ้งได้ที่สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 ร้อยละ 55.9
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการประกาศโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย สามารถป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าว ร้อยละ 42.9
และคิดว่าการประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปันส่วนหรือจำหน่ายหน้ากากอนามัย ไม่สามารถป้องกันการจำหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคา ร้อยละ 43.8
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ร้อยละ 36
และคิดว่าปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ร้อยละ 69
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และผู้บริหารคณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำโดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ตำแหน่ง ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัท วายเอ็มดอท สตูดิโอ จำกัด (Yell)
—
ผู้ช่วยศาสตราจา...
ครบรอบ 40 ปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ กล่าวถึง คณะวิทยาการจัดก...
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
—
เมื่อวันที่ 25 ตุ...
มบส.จับมือ WMC จัดมวยไทยลีก 3 ปีซ้อน สร้างประวัติศาสตร์กีฬามวยไทย
—
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เปิดเผยว่า...
มบส.เตรียมเป็นแม่งานจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ครั้งที่ 1 (BS2C#2025)
—
ผศ.ดร.เกียรติขร โสภณาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพั...
มบส.มุ่งเสริมความรู้"เท่าทัน AI ภัยคุกคามใกล้ตัวในยุคปัญญาประดิษฐ์ "
—
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า...
มบส. กำชับทุกหน่วยงานปฎิบัติงาน "สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้"
—
รศ.ดร.ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ( มบส.) กล่าวว่า ...
มบส.พร้อมพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้ชุมชนท้องถิ่น 5 กลุ่มชาติพันธุ์
—
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(มบส.) กล่าวว่า เม...
มบส.ระดมพลเร่งขับเคลื่อนโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎ งบปี68
—
ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า...