วิศวะมหิดล จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต ประชุมการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อมโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมชีวการแพทย์, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมไฟฟ้าและ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผนึกพลังกับมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ร่วมประชุมสัมมนานานาชาติ เรื่อง การศึกษาและวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมโลกในภาคพื้นเอเชีย (Kyoto University International Symposium on Education and Research in Global Environmental Studies in Asia) ณ มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขตโยชิดะ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 269 คน จาก 18ประเทศ 31 มหาวิทยาลัยและ 20 องค์กรชั้นนำ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เปรู ไต้หวัน อินโดนีเซีย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย เวียดนาม และประเทศไทย และทั้งสององค์กรได้เจรจาผนึกความร่วมมือด้านวิชาการ ไทย - ญี่ปุ่นด้วย
          ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การประชุมสัมมนานานาชาติ เรื่อง การศึกษาและวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมโลกในภาคพื้นเอเชียได้จัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมมาโดยตลอด และได้ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมในปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และในปลายปีนี้ (พ.ศ. 2563) มหาวิทยาลัยมหิดลจะร่วมเป็นเจ้าภาพอีกครั้งหนึ่งในการจัดการประชุมที่ประเทศไทย โดยสาระสำคัญของประชุม คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และ นวัตกรรมในระดับสากลทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม การเกษตร การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และหารือความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการศึกษาวิจัยและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีการรายงานสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการพัฒนาการศึกษาและงานวิจัยในภูมิภาค
          นอกจากนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ยังได้หารือผนึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกียวโต เกี่ยวกับงานวิจัยร่วมกันเพื่อสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การพัฒนาการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร และ พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมเคมี, การเกษตร, สาธารณสุข ทั้งนี้ ปัจจุบันมีหลักสูตรร่วมระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนแบบ Double Degree หลักสูตรแรกที่เปิดในปี 2560 คือ หลักสูตรนานาชาติวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหลักสูตรการศึกษาสิ่งแวดล้อมโลกของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นหุ้นส่วนในความร่วมมือด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศ และในอนาคตมีการวางแผนเตรียมขยายความร่วมมือเปิดอีก 2 หลักสูตรปริญญา Double Degree ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโทวิศวกรรมเคมี และหลักสูตรปริญญาโทวิศวกรรมชีวการแพทย์ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาระบบการศึกษา งานวิจัยและนวัตกรรมในประเทศไทย เพื่อตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และการพัฒนามุ่งสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก
          สำหรับมหาวิทยาลัยเกียวโตนั้น เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1869 โดยผลิตบุคลากรระดับโลกมากมาย ทั้งนักวิทยาศาสตร์ ระดับรางวัลโนเบล นักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการชั้นสูง ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ โดยเปิดทำการเรียนการสอน ทั้งหมด 10 คณะ ได้แก่Integrated Human Studies, Letters, Education, Law, Economics, Science, Medicine, Pharmaceutical Sciences, Engineering, Agriculture ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 22,000 คน นอกจากนี้ยังมี Graduate schools อีก 9 แห่งด้วย
วิศวะมหิดล จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต ประชุมการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อมโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น
 
วิศวะมหิดล จับมือมหาวิทยาลัยเกียวโต ประชุมการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อมโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น
 
 

ข่าววิศวกรรมชีวการแพทย์+จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์วันนี้

วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลกซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ 6 หลักสูตรจาก ABET สหรัฐอเมริกา นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี และ ผศ.ดร.กฤษฎา อัศวสกุลเกียรติ รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม พร้อมด้วย ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รองคณบดีและรักษาการหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ดร.กิตวิชัย ไชยพรศิริ นายอำเภอพุทธมณฑล เปิดโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล ให้เดินหน้าไปด้วยกัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน... วิศวะมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ต้อนรับ นศ.ใหม่...สู่วิศวกรระดับโลก — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Born To Be Engineer 2021 ผ่านระ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ... ทีม Kidney in a Box จากวิศวะมหิดล คว้ารางวัล SCG Bangkok Business Challenge Thailand 2021 — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากร...

อนาคตประเทศไทยเดินหน้าด้วยพลังสร้างสรรค์ข... นักศึกษาวิศวะมหิดล เผยเคล็ดลับทักษะเรียนดี ใฝ่เรียนรู้...เปิดสู่โลกกว้าง — อนาคตประเทศไทยเดินหน้าด้วยพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบ...

อีกก้าวของความร่วมมือ ไทย ญี่ปุ่น ผศ.ดร.จ... วิศวะมหิดล MOU กับ มหาวิทยาลัยโอซาก้า แห่งญี่ปุ่น ผนึกพลังวิจัยนวัตกรรมระดับโลก — อีกก้าวของความร่วมมือ ไทย ญี่ปุ่น ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศว...

อีกความก้าวหน้าของหลักสูตร 2 ปริญญาในประเ... วิศวะมหิดล -ม. สแตรธไคลด์ เดินหน้าหลักสูตร 2 ปริญญา ป้อนตลาดอาเซียนและนานาชาติ — อีกความก้าวหน้าของหลักสูตร 2 ปริญญาในประเทศไทย ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์...

โลกการศึกษายุคดิสรัพชั่น ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ... วิศวะมหิดล ลงนาม MOU ผนึกความร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส — โลกการศึกษายุคดิสรัพชั่น ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรร... วิศวะมหิดล ลงนาม MOU ผนึกความร่วมมือ กับโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส — ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร...