สธ. ส่งทีมเยียวยาใจเด็กนักเรียน ป.4 จากเหตุถูกปืนลั่นใส่ ป้องกันเกิด “โรคเครียดเฉียบพลัน โรคบาดแผลทางใจ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เขตสุขภาพที่ 9 ส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต เยียวยาเด็กนักเรียนชั้น ป.4 จากเหตุการณ์ถูกปืนพกสั้นลั่นใส่จนได้รับบาดเจ็บเมื่อ 3 ม.ค. 2563 เพื่อป้องกันโรคเครียดเฉียบพลันและโรคบาดแผลทางใจ โดยเน้นดูแลเป็นพิเศษ 2 กลุ่มคือเด็กที่เห็นเหตุการณ์ 4 คน และเด็กร่วมชั้นเรียนอีก 30 กว่าคน ในเบื้องต้นพบเด็กมีอาการตกใจบ้าง แนะให้ครู ผู้ปกครองสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หวาดกลัว ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ ฝันร้าย โดยจะประเมินจิตใจซ้ำอีก 2 สัปดาห์ 
          นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ประจำเขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา หลังเกิดเหตุการณ์เด็กนักเรียนได้รับบาดเจ็บจากถูกอาวุธปืนพกสั้นลั่นใส่ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมาว่า จากการติดตามอาการของเด็กที่ถูกปืนลั่นใส่ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ม.ค.2563 เด็กปลอดภัยแล้ว อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ รพ.มหาราชนครราชสีมา โดยมีทีมของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.นครราชสีมา และจิตแพทย์ รพ.มหาราชฯ ดูแลด้านจิตใจรวมทั้งผู้ปกครองด้วย
          นายแพทย์พงศ์เกษม กล่าวต่อว่า ในส่วนของการดูแลจิตใจเด็กนักเรียน ครูในโรงเรียนที่เกิดเหตุครั้งนี้ รวมทั้งผู้ปกครองด้วย ได้ส่งทีมวิกฤติสุขภาพจิต หรือทีมเอ็มแคท (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) จาก รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จ.นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ให้การเยียวยา ปฐมพยาบาลทางใจร่วมกับทีมสุขภาพจิตของสำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงทางจิตใจ โดยเฉพาะ 2 โรคที่พบบ่อยหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤติคือโรคเครียดเฉียบพลัน (Acute Stress Disorder) และโรคบาดแผลทางใจหรือโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งอาจนำมาสู่ภาวะซึมเศร้า หรือส่งผลกระทบต่อการเรียนได้ โดยมุ่งเน้นเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ 2 กลุ่มคือเด็กที่เห็นเหตุการณ์ในวันนั้น ซึ่งมีจำนวน 4 คน และเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนของเด็กที่บาดเจ็บซึ่งมี 30 กว่าคน
          "ผลการตรวจประเมินสภาพจิตใจในเบื้องต้นพบว่า เด็กมีอาการตกใจอยู่บ้าง แต่ยังสามารถทำกิจกรรมในชั้นเรียนได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามทีมเอ็มแคทได้ประชุมและวางแผนร่วมกับคณะครูของโรงเรียนแห่งนี้ โดยจะทำการตรวจประเมินสภาพจิตใจซ้ำในอีก 2 สัปดาห์ ในระหว่างนี้ได้แนะนำให้โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนเด็กตามปกติ และแนะนำทั้งครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนให้สังเกตอาการผิดปกติของเด็ก เช่น หวาดกลัว สับสน กระวนกระวาย ฝันร้าย หรือมีภาพเหตุการณ์เดิมผุดขึ้นมาในใจ ตกใจง่าย มีอาการซึมเศร้า หรือมีอารมณ์พฤติกรรมก้าวร้าวต่างไปจากเดิม ไม่มีสมาธิในการเรียน มีปัญหาการนอน บางคนมีปัสสาวะบ่อย หากพบจะให้การดูแลจิตใจร่วมกันอย่างเต็มที่" นายแพทย์พงศ์เกษมกล่าว 
          ทางด้านนายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล(รพ.)จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคเครียดเฉียบพลัน จะเป็นเร็วและหายเร็วคือมีอาการเพียงช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 วัน นานที่สุดไม่เกิน 4 สัปดาห์ แต่โรคบาดแผลทางใจนั้นจะมีอาการปรากฏหลังเหตุการณ์ไปจนถึงประมาณ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย อาการที่สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท หงุดหงิดง่าย ฝันร้ายหรือระลึกถึงเหตุการณ์ร้ายนั้นซ้ำๆ ตกใจง่าย หรือไม่ยอมเข้าใกล้สถานที่ที่ชวนให้นึกถึงเหตุร้ายนั้นซ้ำอีก ซึ่งหากเด็กได้รับการดูแลจิตใจอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ต้นก็จะสามารถป้องกันผลกระทบนี้ได้
สธ. ส่งทีมเยียวยาใจเด็กนักเรียน ป.4 จากเหตุถูกปืนลั่นใส่ ป้องกันเกิด “โรคเครียดเฉียบพลัน โรคบาดแผลทางใจ”
 
สธ. ส่งทีมเยียวยาใจเด็กนักเรียน ป.4 จากเหตุถูกปืนลั่นใส่ ป้องกันเกิด “โรคเครียดเฉียบพลัน โรคบาดแผลทางใจ”
 
สธ. ส่งทีมเยียวยาใจเด็กนักเรียน ป.4 จากเหตุถูกปืนลั่นใส่ ป้องกันเกิด “โรคเครียดเฉียบพลัน โรคบาดแผลทางใจ”
สธ. ส่งทีมเยียวยาใจเด็กนักเรียน ป.4 จากเหตุถูกปืนลั่นใส่ ป้องกันเกิด “โรคเครียดเฉียบพลัน โรคบาดแผลทางใจ”
 
 
 

ข่าวพงศ์เกษม ไข่มุกด์+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และโนวาร์ตีส (ประเทศไทย) ลงนามความร่วมมือจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ (กลาง) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา (ที่ 3 จากซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 9 ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อบูรณาการการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทยาและเวชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก นำโดยเภสัชกรหญิงสุมาลี คริสธานินทร์ (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการ และนายไรยาน จีโรม

ผู้ตรวจราชการสธ.เขตสุขภาพที่9 เผยสาเหตุกา... สธ.ชี้เหตุมรณภาพพระสงฆ์ที่อ.หนองบุญมาก โคราช เกิดจาก “โรคประจำตัว” แนะประชาชนดูแลสุขภาพกาย-ใจ — ผู้ตรวจราชการสธ.เขตสุขภาพที่9 เผยสาเหตุการมรณภาพของพระสงฆ์...

นพ. พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจ... ภาพข่าว: กรมสุขภาพจิต — นพ. พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดงาน "โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการป้องกันการทุจริต...

นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังห... การประกวดเยาวชนต้นแบบเก่งและดี (To Be Number One Idol) รุ่นที่ 9 ประจำปี 2562 รอบตัวแทนภาคใต้ — นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้เกีย...

วันนี้ (21 ต.ค. 2560) นาวาอากาศตรี นายแพท... กรมสุขภาพจิต พร้อมเข้มการคัดกรอง เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง — วันนี้ (21 ต.ค. 2560) นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิ...

กรมสุขภาพจิต แนะ ประชาชน อย่าตื่นตระหนก ขอให้ ตั้งสติ รับข่าวสาร

วันนี้ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้จัดส่งทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยหรือทีม MCATT (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team) รพ.สวนสราญรมย์ และ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ นำโดย นพ.พงศ์...

กรมสุขภาพจิต ย้ำ ไบโพลาร์ รักษาได้ อยู่ร่วมสังคมได้

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้มอบหมายให้ นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมด้วย นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผอ.รพ.ศรีธัญญา และคณะ เปิดบ้านศรีธัญญา จัดกิจกรรมเนื่องในวันไบโพลาร์โลก ประจำปี2559 เผยผู้ป่วยไบโพลาร์ รักษาได้...