ม.อ.ลงนามให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาผลงานโพรไบโอติกส์ให้เอกชน ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยฯ ได้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยโครงการ กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดโปรตีนจากน้ำเลี้ยงเชื้อ lactobacilusrhamnosus และ lactobaciluscasei แก่ภาคเอกชน ที่ประกอบด้วย บริษัท พี เอส ยู  นวัตวาณิชย์ จำกัด บริษัท วธูธร จำกัด และบริษัท ฮายาลิต้า กรุ๊ป จำกัด โดยโครงการดังกล่าว เป็นผลงานประดิษฐ์ภายใต้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร จากทีมวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีความปลอดภัยในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันโรคในช่องปาก

ม.อ.ลงนามให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาผลงานโพรไบโอติกส์ให้เอกชน ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

สำหรับการลงนามในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ที่ให้สิทธิเอกชนนำงานวิจัยไปต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ทางพาณิชย์ได้ในหลากหลายรูปแบบและสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล หัวหน้าทีมวิจัย คณะทันตแพยศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า งานวิจัยจากโพรไบโอติกส์ เป็นงานต่อเนื่องจากที่มุ่งศึกษาเรื่องการป้องกันฟันผุ และสามารถนำมาต่อยอดสู่การพัฒนาสู่การผลิตเป็นเครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เยลลี่ อาหารเสริม และต่อไปจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนำไปใช้ต้านมะเร็งจากการสกัดที่เป็นประโยชน์ที่สร้างจากโพรไบโอติกส์เช่นกัน


ข่าวพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์+มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร

เมอร์ค และ Broad Institute ประกาศกรอบการทำงานด้านการอนุญาตให้ใช้สิทธิใน CRISPR เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม

กรอบการทำงานใหม่นี้ ช่วยให้เข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญา CRISPR ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อนำไปวิจัยต่อไป เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และ Broad Institute of MIT and Harvard ...

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐมร่วมกับคณะมั... ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เน้นจิตวิญญาณสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง ของชุมชนลานตากฟ้า จ.นครปฐม — สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐมร่วมกับคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทย...

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 ร่วมกับส... เชิญร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยใช้ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ฟรี — ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ...

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 ร่วมกับส... เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น — ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 ร่วมกับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภ...

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุต... ภาพข่าว: กสอ.ร่วมกับ สถาบันฯสิ่งทอลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกจังหวัดสุรินทร์ — กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ...