เสริมความสูงแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา - ป้องกันน้ำรั่วซึมเข้าพื้นที่ชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวกรณีคอลัมนิสต์เสนอบทความ ระบุในเดือน ก.ย. - ต.ค. 63 เป็นช่วงที่ต้องระวังฝนตกหนัก โดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควรปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วม รวมถึงเพิ่มความสูงการกั้นน้ำให้มากขึ้นว่า กทม.ได้เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำล้นตลิ่ง โดยเสริมความสูงของแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ให้สูงขึ้นจากเดิมที่ +2.50 เป็น + 2.80 ถึง +3.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางให้สามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือที่ระบายผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ถึง 3,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมก่อนถึงฤดูน้ำหลาก โดยตรวจสอบความแข็งแรงของแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ รวมถึงปรับปรุงแก้ไขจุดที่ชำรุดและรั่วซึม เรียงกระสอบทรายในบริเวณที่แนวป้องกันน้ำท่วมมีระดับต่ำ และประสานความร่วมมือกับกรมชลประทานในการบริหารน้ำผ่าน กทม. ตลอดจนตรวจสอบความพร้อมของสถานีสูบน้ำให้พร้อมเร่งระบายน้ำกรณีมีน้ำรั่วซึมเข้ามาในพื้นที่

ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ยังได้เตรียมการช่วยเหลือชุมชนนอกแนวป้องกันน้ำท่วมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งปัจจุบันมี 17 ชุมชน 358 ครัวเรือน โดยวางแนวกระสอบทรายเป็นแนวชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน อีกทั้งได้ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมถาวรริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ ปากคลองชักพระ และปากคลองพระโขนงแล้วเสร็จ ความยาวรวม 78.93 กิโลเมตร และยังมีแนวฟันหลอที่ต้องใช้การเรียงกระสอบทรายในช่วงน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนสูงอีก 5.5 กิโลเมตร ซึ่ง กทม. มีแผนปรับปรุงแนวฟันหลอดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 28 แห่ง ให้เป็นแนวป้องกันถาวรต่อไป


ข่าวสำนักการระบายน้ำ+แม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้

กทม. เร่งเจาะแนวอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอนหลังทรุดตัว พร้อมเปิดใช้งานทั้งระบบต้นปี 69

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงแม่น้ำเจ้าพระยาว่า สนน. ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่เขตประเวศ เขตบางนา เขตพระโขนงและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยบึงหนองบอนเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ (แก้มลิง) รองรับน้ำรอบบึงหนองบอนผ่านคลองต่าง ๆ และเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ โดยปัจจุบันผลงานรวมมีความคืบหน้าร้อยละ 96 ทั้งนี้

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับมือสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมคว...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเหนือ เร่งเสริมความสูงแนวคันกั้นน้ำ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวถึงการติดตามเฝ้าระวั...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม. เตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือ-น้ำหนุน ตรวจสอบความแข็งแรงแผงคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยา — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. ก...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.พร้อมรับมือน้ำเหนือ เฝ้าระวังจุดเสี่ยงน้ำท่วม - เสริมกระสอบทรายแนวฟันหลอ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการ...

นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้อ... กทม.บูรณาการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังน้ำเหนือพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา — นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.กล่าวถึงการ...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำจากปรากฏการณ์เอลนีโญ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวถึงการเ...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.เตรียมพร้อมแผนบริหารจัดการน้ำรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวถึงการเตรียมความ...

กทม. รุกพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ หนุนเพิ่มศักยภาพป้องกันน้ำท่วมกรุงฯ

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่าวชี้แจงกรณีมีกระแสข่าว กรุงเทพฯ จะจมน้ำจากภาวะน้ำทะเลหนุนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลจากสื่อมวลชนและนักวิชาการหลากหลายสำนักทั้งในและต่างประ...