Dowเปิดตัวเป้าใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจก หยุดขยะพลาสติก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท ดาว (Dow)ประกาศความมุ่งมั่นใหม่ ต่อยอดจากเป้าหมายความยั่งยืนปี 2568 เน้นแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และขยะพลาสติก มุ่งสู่การเป็นบริษัทด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials Science) ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากที่สุดในโลก โดยดำเนินงานด้วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม เอาใจใส่ต่อลูกค้า และให้การยอมรับบุคลากรที่หลากหลายนอกจากนี้ Dow ยังได้เผยแพร่รายงานความยั่งยืนปี 2562ซึ่งบริษัทฯ ได้ออกรายงานความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 17 เพื่อรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานสู่เป้าหมายความยั่งยืน    

Dowเปิดตัวเป้าใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจก หยุดขยะพลาสติก

นายจิม ฟิทเทอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Dow กล่าวว่า “การประกาศเป้าใหม่ในวันนี้เป็นอีกก้าวของเส้นทางสู่ความยั่งยืนของเราที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่กว่า 30 ปีก่อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและขยะพลาสติกเป็นสองปัญหาใหญ่ที่สุดในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมที่โลกได้เคยเผชิญมา ซึ่งผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของ Dowจะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาทั้งสองเรื่องนี้Dow มีความรับผิดชอบ และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในการแก้ไขความท้าทายนี้ได้ผมเชื่อว่าอนาคตที่ยั่งยืนนั้นเป็นจริงได้ แต่พวกเราต้องลงมือแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องด้วยความรับผิดชอบ และร่วมมือร่วมใจกันหาโซลูชั่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและขยะพลาสติกได้อย่างตรงจุด”    

เป้าใหม่ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ การลดขยะของ Dow ที่สอดคล้องและต่อยอดจากเป้าหมายความยั่งยืนปี 2568 มีดังนี้      

ต้านโลกร้อน: ภายในปี 2573 Dow จะลดการปล่อยคาร์บอนจำนวน 5 ล้านตันต่อปี หรือ ลดลง 15% จากฐานปี 2563 นอกจากนี้ Dow ยังตั้งใจจะเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2593เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยบริษัทฯ ตั้งใจที่จะใช้และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยลงเพื่อช่วยให้ลูกค้าของ Dow ได้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน    

หยุดขยะพลาสติก: ภายในปี 2573Dow จะช่วย “หยุดขยะพลาสติก” โดยการทำให้ขยะพลาสติกจำนวน 1 ล้านตันถูกเก็บกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลผ่านการดำเนินงานของบริษัทและความมือร่วมกับภาคส่วนต่างๆซึ่งบริษัทฯ กำลังลงทุนและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มการรีไซเคิลทั่วโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ    

ส่งเสริมวงจรรีไซเคิล:ภายในปี 2578 Dow จะช่วยสร้าง“วงจรรีไซเคิล”ให้สมบูรณ์โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของDow ที่นำไปผลิตเป็นแพคเกจจิ้งจะต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ซึ่งบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นจะออกแบบและคิดค้นโซลูชันการนำกลับมาใช้และการรีไซเคิลให้กับผลิตภัณฑ์สำหรับงานแพคเกจจิ้ง    

นอกเหนือจากการดำเนินงานต่างๆที่ Dow ได้ทำในทั่วโลกเพื่อจะบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนแล้ว Dow ได้ทำสัญญาเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงานที่อาร์เจนตินา บราซิล รวมทั้ง ที่เท็กซัสและเคนตักกี้ ในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้พลังงานจากทรัพยากรหมุนเวียนทั้งหมด338 เมกะวัตต์ประมาณการเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 225,000 ตันซึ่งตรงกับแผนงานที่มีเป้าหมายจะใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้มากกว่า 750 เมกะวัตภายในปี 2568    

ผลิตภัณฑ์ของ Dow จำนวนมากช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตของตัวผลิตภัณฑ์เอง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้รถยนต์มีน้ำหนักเบาขึ้นและใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ อาคารที่ประหยัดพลังงานมากกขึ้น และอาหารที่ปลอดภัยและคงความสดใหม่ได้นานขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับโลกที่คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านคนภายในปี 2593    

วันนี้ Dow ได้นำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับงานแพคเกจจิ้งที่ได้มาจากกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล หรือ Mechanical Recycling (การนำขยะพลาสติกมาบดและหลอมเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล)ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและการใช้พลังงานได้ถึง 20-30%    

เป้าหมายเรื่องขยะพลาสติกของ Dow คือต้องแน่ใจว่าการลงทุนและความร่วมมือต่างๆ ซึ่งรวมถึงการลงทุนใน Alliance to End Plastic Waste และ Circulate Capitalนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะหยุดขยะพลาสติกไม่ให้ไปสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมนำธุรกิจของ Dow ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน    

“การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการหยุดขยะพลาสติกเป็นเรื่องท้าทายที่มีความเชื่อมโยงกัน ในฐานะที่Dow เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (Low carbon economy) เราจึงคิดค้นและลงทุนในกระบวนการผลิตแบบใหม่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งมองขยะเป็นทรัพยากรที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้”แมรี่ เดรฟส์ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืน กล่าว    

Dow จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ องค์กรไม่แสวงหากำไร ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบ พันธมิตรด้านเทคโนโลยี และหน่วยงานอื่นๆเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง เทคโนโลยีที่ปลดปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำ เพื่อในที่สุดแล้วจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทต่างๆสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการลดก๊าซเรือนกระจกดังที่กล่าวมาได้Dow ตั้งใจจะเปิดเผยข้อมูลด้านความร่วมมือเพิ่มเติมในปลายปีนี้     จากเนื้อหาของรายงานความยั่งยืนปี 2562ของ Dowที่เผยแพร่ในวันนี้ เราได้มีความคืบหน้าในการดำเนินงานเพื่อไปถึงเป้าหมายความยั่งยืนปี 2568 ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ปี 2549Dow ได้

-    ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้ว 15%
-    รวมราคาคาร์บอนเครดิตเข้าไปอยู่ในแผนธุรกิจ
-    ลงทุนในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน– Dow เป็นบริษัทที่ใช้พลังงานสะอาดมากเป็นเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรมเคมี และติด 1 ในท็อป 25 ของบริษัททั่วโลกในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน
       

ดูรายงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท Dow ระดับสากล ฉบับเต็มที่https://corporate.dow.com/en-us/science-and-sustainability/reporting/sustainability-report-2019/

สำหรับประเทศไทย นอกจากการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยยังได้หารือความร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เพื่อริเริ่มโครงการ Dow & Thailand Mangrove Alliance ในการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับป่าไม้ประเภทอื่น และป้องกันขยะไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลด้วยกลไกทางเศรษฐศาสตร์และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยในปีนี้จะเริ่มทำโครงการนำร่องที่ป่าชายเลนในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำประแส จังหวัดระยอง เป็นแห่งแรก และจะขยายผลไปยังป่าชายเลนที่สำคัญของประเทศไทยต่อไปอีกด้วย

“Dow ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนที่ปากน้ำประแสมานานกว่า 11 ปี และ ในปีนี้เราจะยกระดับโครงการให้ใหญ่และครบวงจรมากขึ้น เพื่อเป็นโครงการนำร่อง เตรียมการขยายไปยังป่าชายเลนที่สำคัญในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมทั้งกับชุมชนและประชาชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันแก้วิกฤตโลกร้อน ลดปัญหาขยะทะเลด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย สอดคล้องกับเป้าหมายใหม่ของ Dow ทั่วโลก”นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัยประธานบริหารกลุ่มบริษัทดาวประเทศไทยกล่าว


ข่าวด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์+ลดก๊าซเรือนกระจกวันนี้

EPG ผนึก Dow มอบเตียงสนามแอร์โรคลาส หนุนระยองต้านโควิดให้ผู้ป่วยพ้นวิกฤต

บริษัท อีสเทิร์น โพลิเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์และพลาสติกแปรรูปชั้นนำของโลก ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ ระดับโลก ผลิตเตียงสนามแอร์โรคลาสจากพลาสติกคุณภาพสูง เพื่อสนับสนุนสาธารณสุขจังหวัดระยอง ในการจัดตั้งศูนย์พักคอย (Community Isolation) และโรงพยาบาลสนามในพื้นที่จังหวัดระยองอย่างทั่วถึง EPG และ Dow ได้ส่งมอบเตียงสนามแอร์โรคลาส เบาะที่นอน และชุดเครื่องนอน จำนวน 600 ชุด รวมมูลค่ากว่า 1,750,000 บาท โดยมีนายขวัญประชา

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้าน... Dow ห่วงใย ช่วยไทยต้านโควิด มอบ 2.2 ล้านบาท ซื้อเครื่องออกซิเจน ไฮ โฟลว์ ต่อลมหายใจผู้ป่วย — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้... Dow เดินหน้าพัฒนาครูวิทย์ไทย จัดอบรมออนไลน์ โครงการห้องเรียนเคมีดาว ต่อเนื่องรุ่นที่ 7 — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ...

กลุ่ม บริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เร่งเครื... Dow เดินหน้าเป้าทำงานใหม่เพื่อความยั่งยืน จับมือ ทช. และ IUCN — กลุ่ม บริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เร่งเครื่องเดินหน้าเป้าการทำงานใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวทั่วโลก...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทด้า... Dow ย้ำ พลาสติกที่ยั่งยืนต้องสร้างการมีส่วนร่วม หนุน “มือวิเศษ X วน” เพื่อคนไทย — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials ...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้าน... ภาพข่าว: Dow เติมสุขด้วยน้ำใจ เสริมรายได้ให้ชุมชน ผ่านตู้ปันสุข — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials Science) และพนักง...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้าน... Dow จับมือสถาบันพลาสติก บริจาคอุปกรณ์ช่วยพ่นยา ป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials Sc...