ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา โดยจากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า มีผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำขังตามภาชนะต่าง ๆ จนอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก
นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สเปรย์หญ้าหวานไล่ยุงและมด เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพของทีมนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพลอง จังหวัดแพร่ ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับภาค (ภาคเหนือ) จากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มุ่งมั่นในการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนการสอนตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเตรียมกำลังคนสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ได้คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์งานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง ตอบโจทย์ผู้ใช้ในชุมชน สังคม และภาคอุตสาหกรรม
น้องฟร้อง หรือ นางสาวเพชรรัตน์ ปูใหล นักศึกษาชั้นปวช.3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพลอง จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันไข้เลือดออก กำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย เพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยจากทุกภาคเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยไข้เลือดออก พบได้ในพื้นที่เขตร้อนและร้อนชื้นทั่วโลก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อน แล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง จึงเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน บวมที่ต่อมน้ำเหลือง และมีผื่น บางรายอาจมีอาการปวดท้องรุนแรง หายใจเร็ว อ่อนเพลีย กระวนกระวายใจ และอาจมีเลือดออกภายใน ซึ่งอาจนำไปสู่ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้ ตนและเพื่อนๆจึงมีแนวคิดที่จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อร่างกายโดยไม่ใช้สารเคมีและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนได้เป็นสเปรย์หญ้าหวานไล่ยุงและมด โดยมีครูพิมลณัฐ กิ่งจำปา ครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นครูที่ปรึกษา โดยจากการศึกษาพบว่า หญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิลและปารากวัย โดยหญ้าหวาน เป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิราว 20 – 26 องศาเซลเซียส จึงนิยมปลูกในพื้นที่ทางภาคเหนือของไทย ใบหญ้าหวานประกอบด้วยสารสตีวิโอไซด์ (stevioside) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่สามารถทดแทนน้ำตาลได้ เพราะมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 250 – 300 เท่า แต่เป็นสารที่ให้พลังงานต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมไปถึงผสมใน ยาสีฟันหรือยาบ้วนปากเพื่อช่วยป้องกันฟันผุ และที่สำคัญจากงานวิจัยพบว่า มีสรรพคุณช่วยไล่ยุง มดและแมลงได้ด้วย โดยจากการศึกษาพฤติกรรมของมด พบว่า ขณะที่มดออกหาอาหารจะปล่อยฮอร์โมนฟีโรโมนออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้มดตัวอื่นเดินตามกลิ่นฟีโรโมน ซึ่งสารสตีวิโอไซด์ (stevioside) ของหญ้าหวานและบริเวณขนของใบหญ้าหวานที่มีกลิ่นฉุน ทำให้มด รวมทั้งยุง หลีกเลี่ยงไม่กล้าเข้าใกล้ โดยวิธีการผลิต เริ่มจากนำใบหญ้าหวานมาล้างให้สะอาดและตากให้แห้ง จากนั้นนำมาปั่นให้ละเอียด แล้วนำมาชั่งให้ได้ปริมาณ 200 กรัม ผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ 95% ปริมาณ 1 ลิตร เข้าเครื่องกลั่นไอน้ำสกัดจนได้สารจากหญ้าหวาน จากนั้นนำเปลือกผลมะกรูดมาปั่นให้ละเอียด แล้วผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ 95% เข้าเครื่องกลั่นไอน้ำ จนได้สารสกัดกลิ่นมะกรูด สุดท้ายนำสารสกัดจากหญ้าหวานและสารสกัดกลิ่นมะกรูดมาผสมกันและบรรจุลงในขวดจนได้เป็นสเปรย์หญ้าหวานไล่ยุงและมด ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ปลอดสารเคมี และไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันยุงและมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพียงแค่ฉีดไปตามร่างกาย ยกเว้นรอบดวงตา หรือบริเวณที่ต้องการไล่ยุงและมดไม่ให้มาใกล้ จากการทดลองพบว่า สามารถป้องกันยุงและมดได้นานถึง 3 ชั่วโมง สเปรย์หญ้าหวานไล่ยุงและมด ขนาด 50 ml. มีทั้งกลิ่นมะกรูด และกลิ่นกุหลาบ ราคาขวดละ 35 บาท โปรโมชั่น 3 ขวด 100 บาท มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ สนใจติดต่อได้ที่ โทร.093-614-5993 หรือที่ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพลอง จังหวัดแพร่
นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) "MEDEZE" ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก American Board of Regenerative Medicine (ABRM) นำโดย Dr. Rozina Badal Munir Global Development Director, American Society of Regenerative Medicine, American Board of Regenerative Medicine องค์กรระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผ่านการรับรองวิชาชีพ การศึกษา และการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านการรักษาด้วยเซลล์และเทคโนโลยีชีวภาพล้ำสมัย ในโอกาสเข้า
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบแม่นยำ
—
"FoodSERP" ติดปีกอุตสาหกรรมความงาม เพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยเทคโนโลยีการ...
มจธ. คิดค้น "นวัตกรรมการผลิตซิลิกาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ" ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง พร้อมพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย
—
นักวิจัย มจธ.พัฒนากระบวนการผลิต ไบโอซิลิกา (Biosili...
สวทช. และ กองทัพเรือ โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ร่วมวิจัยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง หนุนนโยบาย Green Navy ด้วยนวัตกรรมสะอาด
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
ไบโอเทค-สวทช. และ ทีโพล์ โปรเฟสชั่นแนล ในเครือเชอร์วู้ด ร่วมมือวิจัยโครงการ "พัฒนากับดักราแมลงกำจัดปลวก" ทางเลือกใหม่ ลดใช้สารเคมีในครัวเรือน
—
ศูนย์พันธุว...
ไฟเซอร์ ขึ้นอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพ จากการจัดอันดับ "สุดยอดนายจ้างระดับโลก 2024" ของ Forbes
—
นิตยสารฟอร์บส์ได้เปิดเผยรายชื่อบริษัท...