เบื้องหลัง “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” อาวุธปกป้องแพทย์-พยาบาล ช่วยคลี่คลายวิกฤตโควิด-19 ในไทย เริ่มต้นจากแนวคิดของหน่วยเฉพาะกิจ “ทีมแพทย์-ทีมเอสซีจี”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ความร้ายกาจของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้คนทั่วโลกอยู่ในภาวะตื่นตระหนกจากการสูญเสียชีวิตประชากรนับแสนคน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตภายใต้วิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และรอความหวังจากนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในวงการแพทย์คิดค้นวัคซีนและยารักษาโรค เพื่อปิดเกมกำราบโควิด-19

เบื้องหลัง “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” อาวุธปกป้องแพทย์-พยาบาล ช่วยคลี่คลายวิกฤตโควิด-19 ในไทย เริ่มต้นจากแนวคิดของหน่วยเฉพาะกิจ “ทีมแพทย์-ทีมเอสซีจี”

แม้สถานการณ์ในประเทศไทยจะคลี่คลาย แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การกลับมาดำเนินชีวิตหลังผ่อนคลายการล็อกดาวน์นั้น การปฏิสัมพันธ์กับผู้คนย่อมมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้งสิ้น หากย้อนกลับไปในช่วงวิกฤต เป็นช่วงที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาล (รพ.) กลายเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจากผู้ติดเชื้อ จึงจำเป็นอย่างมากที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้มากกว่าเดิม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกำลังพลของทีมแพทย์และขีดความสามารถในการดูและประชาชน เบื้องหลัง “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” อาวุธปกป้องแพทย์-พยาบาล ช่วยคลี่คลายวิกฤตโควิด-19 ในไทย เริ่มต้นจากแนวคิดของหน่วยเฉพาะกิจ “ทีมแพทย์-ทีมเอสซีจี”

เอสซีจี องค์กรนวัตกรรมที่มีหลักคิดไม่ยอมปล่อยให้ทีมหมอตกอยู่ในภาวะคับขันเพียงลำพัง จึงผนึกกำลังกับทีมแพทย์ ด้วยการใช้องค์ความรู้ ปรับการผลิต พัฒนายุทธภัณฑ์ทางการแพทย์เฉพาะกิจสู้ภัยโควิด-19 นับเป็นการใช้ความรู้ความสามารถของคนไทยคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน ในเวลาอันสั้น เพื่อให้ตอบโจทย์และใช้งานได้จริง เบื้องหลัง “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” อาวุธปกป้องแพทย์-พยาบาล ช่วยคลี่คลายวิกฤตโควิด-19 ในไทย เริ่มต้นจากแนวคิดของหน่วยเฉพาะกิจ “ทีมแพทย์-ทีมเอสซีจี”

ทีมแพทย์ปรับระบบและเปลี่ยนแผนการตรวจรักษา รับมือสถานการณ์โควิดระลอกแรกสู่ “ห้องคัดกรองและห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Screening & Swab Unit) นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” จากเอสซีจี เบื้องหลัง “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19” อาวุธปกป้องแพทย์-พยาบาล ช่วยคลี่คลายวิกฤตโควิด-19 ในไทย เริ่มต้นจากแนวคิดของหน่วยเฉพาะกิจ “ทีมแพทย์-ทีมเอสซีจี”

นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า ปัญหาด่านแรกในการรักษาผู้ป่วยคือ การแยกผู้ติดเชื้อกับไม่ติดเชื้อโควิด-19 ออกจากกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่สามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยรายใดติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา จึงหาทางออกด้วยการตั้งจุดคัดกรองในสถานที่โล่งนอกอาคาร เพื่อช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายแพร่เชื้อในอาคาร โดยคัดแยกและตรวจภายในจุดเดียว (One-Stop Service)

“รพ.ราชวิถีถือเป็นรพ.แห่งหนึ่งที่รับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีผู้เข้ามารับการตรวจจำนวนมากที่สุด ดังนั้น ต้องมีห้องคัดแยกที่มีประสิทธิภาพ จึงจะช่วยให้แพทย์มั่นใจเมื่อต้องใกล้ชิดผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดที่จุด One Stop Service โดยนวัตกรรมห้องปลอดเชื้อจากเอสซีจีมาช่วยให้การทำสวอปเก็บสารคัดหลั่งปลอดภัย เพราะช่วยแยกผู้ป่วยติดเชื้อออกจากผู้ป่วยทั่วไป โดยผู้ป่วยไข้หวัดธรรมดาก็แยกรักษาให้ยาได้”

การคัดกรองผู้ติดเชื้อโดยการแยกจุดเป็นเพียงวิธีการเบื้องต้น ที่ยังไม่สามารถปกป้องแพทย์จากการติดเชื้อได้เต็มร้อย เอสซีจีจึงผนึกกำลังกับทีมแพทย์ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมปกป้องการติดเชื้อในทุกขั้นตอนของกระบวนการรักษาตั้งแต่จุดเริ่มต้น การคัดกรอง ห้องตรวจเชื้อ และกระบวนการรักษา

นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวถึงการพัฒนานวัตกรรมว่า ทีมงานของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ได้สังเกตการณ์ ศึกษาความต้องการ และทำงานร่วมกับทีมแพทย์ที่โรงพยาบาล ทำให้เห็นว่าทีมแพทย์และพยาบาลซึ่งเป็นด่านหน้าในการต่อสู้และยับยั้งเชื้อโควิด-19 ต้องการสถานที่พร้อมระบบระบายอากาศในการตรวจคัดกรองที่มีมาตรฐาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ในการตรวจลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้ปริมาณมากขึ้น

“หลังจากที่ทีมงานได้ศึกษาความต้องการและสังเกตการทำงานของทีมแพทย์ พยาบาล ที่โรงพยาบาล ทำให้สามารถพัฒนาห้องคัดกรองและตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง โดยพัฒนาจากเทคโนโลยีของ SCG HEIM และ Living Solution ซึ่งได้ออกแบบให้มีระบบที่จะช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศให้ สะอาด ปลอดภัย มีระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล ที่ทำให้ห้องปิดสนิท ป้องกันอากาศเข้า-ออกตัวอาคาร ทำให้ภายในอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้มากขึ้น โดยโครงสร้างกว่าร้อยละ 70-80 ถูกประกอบขึ้นรูปภายในโรงงาน ที่มีการควบคุมคุณภาพและความสะอาดตลอดกระบวนการผลิต โดยทีมแพทย์จะอยู่ในห้องที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไป อากาศภายในจึงบริสุทธิ์ปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจะอยู่ในห้องที่ป้องกันไม่ให้มีอากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก พร้อมใช้แสงยูวีเข้มข้นสูง ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) หลังการใช้งานห้องทุกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์”

พระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี แผ่ไพศาล ทรงห่วงใยประชาชน พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ” โควิด-19 ให้ รพ. 20 แห่งทั่วประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit)” ซึ่งเป็นหนึ่งใน “โครงการเครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือแพทย์พระราชทาน” เพื่อรับสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้เอสซีจีดำเนินการก่อสร้างให้โรงพยาบาลต่าง ๆ 20 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเสริมความพร้อมหากมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซ้ำในอนาคตยังความปลื้มปีติแก่ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ต่างรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

พลเรือตรี เกิดศักดิ์ วีระโยธิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ กล่าวว่า “ปัจจุบัน โรงพยาบาลฯ ต้องดูแลผู้ป่วยเก่า และคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ การที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจเชื้อก่อน ซึ่งเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ของสังคม ก็สามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วยที่อาจจะมีเชื้อแต่ไม่มีอาการได้ จะทำให้ช่วยป้องกันบุคลากรไม่ให้ติดเชื้อ และไม่สิ้นเปลืองชุด PPE สร้างความมั่นใจให้บุคลากรในการทำหัตถการกับผู้ป่วย จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่าหาที่สุดมิได้ ที่ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานห้องตรวจหาเชื้อ ให้แก่โรงพยาบาลฯ ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพให้สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อของทั้งบุคลากรและประชาชนได้”

เอสซีจีไม่หยุดพัฒนา ต่อยอดสู่ “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ (Mobile Isolation Unit)” ใช้งานง่าย ติดตั้ง-เคลื่อนย้ายสะดวก ตอบโจทย์การใช้ในโรงพยาบาล แม้พื้นที่ห่างไกล

ด้วยความเชี่ยวชาญทั้งในด้านวัสดุพลาสติก วิศวกรรมศาสตร์ และการออกแบบนวัตกรรม ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ผสมผสานกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของทีมแพทย์ จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อให้กับบุคลากร ทางการแพทย์ โดยเน้นที่การป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อจากผู้ป่วย และทำให้นวัตกรรมนี้สามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่แม้ในที่ห่างไกล จึงเป็นที่มาของ “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่” ที่นอกเหนือจากความสะดวกในการขนส่ง ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาแล้ว ยังช่วยลดภาระในการจัดหาและสวมใส่ชุด PPE (Personal Protective Equipment) ได้เป็นจำนวนมาก แพทย์สามารถทำงานได้อย่างอุ่นใจและคล่องตัว แม้ต้องเผชิญหน้ากับศึกใหญ่

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า “ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ ร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงของแพทย์มากที่สุด โดย Mobile Isolation Unit นี้ มีทั้งหมด 5 นวัตกรรม จุดเด่นคือ นอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อสู่บุคลากรการแพทย์ด้วยระบบควบคุมความดันอากาศที่มีประสิทธิภาพ และระบบกรองอากาศระดับ HEPA ที่ช่วยกรองอากาศให้สะอาด ปลอดภัยแล้ว ยังตอบโจทย์เรื่องความสะดวกในการใช้งานอย่างมาก เพราะสามารถติดตั้ง-รื้อถอนได้ง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก โครงสร้างทุกชิ้นแข็งแรง ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องจากมีน้ำหนักเบาแต่ยังคงความแข็งแรงทนทาน”

ทั้งนี้ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ ของเอสซีจี ประกอบด้วย 5 นวัตกรรมหลัก ได้แก่

  1. ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room) อุปกรณ์เสริมพิเศษที่ออกแบบให้เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู หรือแม้แต่เป็นห้องพักผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่น ๆ
  2. ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ (Negative/Positive Pressure Isolation Chamber) ห้องตรวจที่ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถสอดมือเข้าไปทำหัตถการ (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ออกแบบเป็นทรงกระบอกแนวตั้ง ทางเข้าเป็นซิปรูดสำหรับเปิด-ปิด เพื่อให้สะดวกในการใช้งาน
  3. แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ (Patient Isolation Capsule) อุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  4. แคปซูลความดันลบขนาดเล็ก สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อเข้าเครื่อง CT Scan (Small Patient Isolation Capsule for CT Scan) อุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan
  5. อุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้เพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อ สำหรับงานทันตกรรม (Dent Guard) ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างการทำงานทันตกรรม

รศ.นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ หัวหน้างานศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลราชวิถี หนึ่งในทีมแพทย์ที่นำห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ไปติดตั้งในห้องฉุกเฉิน เล่าว่า “ทีม Design Catalyst ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุและการออกแบบ และทีมวิศวกรของเอสซีจี ได้ออกแบบให้ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบฯ ติดตั้งง่ายแบบ DIY (Do It Yourself) ด้วยการอธิบายวิธีการติดตั้งประมาณ 1 ชั่วโมง ก็สามารถติดตั้งเองได้ ถือเป็นการปรับปรุงห้องรองรับผู้ป่วยใหม่จากห้องผู้ป่วยเดิม โดยไม่ต้องลงทุนใหม่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ติดตั้งช่วยเคลื่อนย้ายได้ เป็นประโยชน์ในการช่วยป้องกันเชื้อ เพราะมีระบบดูดลมเอาเชื้อโรคจากแพทย์ผู้รักษา และมีกำแพงยางกั้นอีกชั้น จึงทำให้โอกาสสัมผัสเชื้อจากผู้ป่วยลดลง สามารถนำไปปรับใช้ในโรงพยาบาลสนามในได้อนาคตหากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น”

ธนวงษ์ อธิบายเสริมว่า แม้ทั้ง 5 นวัตกรรมได้ถูกพัฒนาขึ้นจากพลาสติก แต่ถือเป็นพลาสติกที่ยังคงรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล และหมุนเวียนกลับมาเป็นวัตุดิบสำหรับการผลิตใหม่ได้ เพราะนั่นมาจากหลักคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเอสซีจี ที่จะต้องมาพร้อมกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ต้องสามารถหมุนเวียนสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งานกลับสู่ระบบการจัดการ เพื่อให้สามารถนำมากลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไม่เพิ่มขยะให้โลก

พลาสติกเมื่อใช้ถูกที่ถูกเวลา จึงเป็นวัสดุที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ช่วยเป็นเกราะป้องกันทีมแพทย์ สู้เชื้อโควิด-19 ซึ่งได้รับการประดิษฐ์และพัฒนาเฉพาะกิจจากฝีมือคนไทย ที่สามารถนำมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์ ถูกที่และถูกเวลา

คนไทยไม่ทิ้งกัน คนไทย – ภาครัฐ – เอกชน ประสานพลัง ปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ จัดหาอุปกรณ์เสริมทัพช่วยแพทย์-พยาบาล สู้วิกฤตโควิด-19

ในยามที่ประเทศไทยประสบวิกฤตอย่างที่ไม่มีใครเคยคาดคิดและเตรียมแผนการ รับมือไว้ และขณะเดียวกันทรัพยากรทางการแพทย์ต่างขาดแคลน โรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวนมากต่างต้องการอุปกรณ์ป้องกันที่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อได้ เราได้เห็นน้ำใจจากคนไทย ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างจึงร่วมมือกันระดมทุนเพื่อจัดหานวัตกรรมและอุปกรณ์ทางแพทย์ อาทิ ห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล ฯลฯ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทีมแพทย์และพยาบาล สำหรับใช้ในการป้องกันตนเองและดูแลผู้ป่วยโควิด-19

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิชัยพัฒนา กล่าวว่า “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรู้สึกห่วงใยพี่น้องชาวไทยที่กำลังเผชิญปัญหากันอยู่ในขณะนี้ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นช่องทางในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชน ด้วยการจัดหาอุปกรณ์และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อนำไปจัดหาอุปกรณ์ที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรแพทย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย โดยได้นำ “นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่” ของเอสซีจี ไปส่งมอบที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จ.ยะลา เป็นแห่งแรก เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในขณะปฏิบัติงานตรวจรักษาผู้ป่วยแล้ว นวัตกรรมนี้ยังสะดวกในการใช้งาน สามารถติดตั้งได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะสมกับโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยมีกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย จะช่วยสนับสนุนการขนส่งไปยังโรงพยาบาลดังกล่าว”

ในขณะที่ เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจี ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ “ช่วยกันแคร์ดูแลกัน” ให้ประเทศไทยก้าวผ่านภัยครั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท เพื่อใช้พัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด โดยที่ผ่านมาได้เร่งส่งเร่งส่งมอบนวัตกรรมต่าง ๆ ให้แก่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมาก เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับของทีมแพทย์ พยาบาล ให้สามารถทำงานต่อสู้กับโควิด-19 อย่างปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยดี”

นอกจากนี้ กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมถึงภาคเอกชน ตระหนักถึงความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 และพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยที่กำลังเผชิญวิกฤตกันอยู่ในขณะนี้จึงได้เชิญชวนเครือข่ายของหอการค้าทั่วประเทศ ทั้งหอการจังหวัด สมาคมการค้า หอการค้าต่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สมาชิก ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคเงิน เพื่อนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและเร่งด่วน สำหรับช่วยเหลือทีมแพทย์-พยาบาล ซึ่งเป็นบุคคลด่านหน้าที่ต้องเผชิญกับผู้ป่วยและเชื้อโควิด-19 โดยหอการค้าฯ ได้สนับสนุน 'นวัตกรรมห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure SWAB Unit)’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ CPAC Construction Solution จำนวน 10 ยูนิต ให้แก่ 10 โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมากในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือกันของภาคธุรกิจในครั้งนี้จะเป็นพลังให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านภัยครั้งนี้ได้”

นวัตกรรมเหล่านี้เป็นการคิดค้นขึ้นมาเฉพาะกิจ ตอบโจทย์ความต้องการใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ในระยะสั้น ถือเป็นการผนึกกำลังการทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปได้ และอาจจะเป็นหนึ่งในโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบทางการแพทย์จากไทยที่สามารถต่อยอดไปสู่ความต้องการของตลาดโลก เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับระบบการดูแลรักษาสุขภาพ แต่เหนือสิ่งอื่นใด สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย จะไม่สามารถคลี่คลายลงได้อย่างทุกวันนี้ หากขาดพลังความร่วมมือ และพลังน้ำใจของคนไทยที่ช่วยเหลือกันในยามที่ต่างคนต่างต้องเผชิญกับวิกฤตที่ไม่คาดคิด


ข่าววิทยาศาสตร์+การกลับมาวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวง... วว. ร่วมเปิดรับสมัครบุคลากรและนักศึกษาฝึกงาน @ อว. JOB FAIR 2025 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....

"มะลิลา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sa... วว. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหย "ดอกมะลิลา" — "มะลิลา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac Ait. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถ...

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี แ... รองนายกฯ ประเสริฐ ย้ำบทบาทผู้นำไทย! จัดประชุมวิชาการ "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025" — นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และร...

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ... เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล — ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...