“Grand Seiko Studio Shizukuishi” เปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท ไซโก วอตช์ คอร์ปอเรชัน จำกัด เปิดบทใหม่ในประวัติศาสตร์ 60 ปีของแบรนด์ Grand Seiko ด้วยพิธีเปิดสตูดิโอแห่งใหม่ล่าสุดที่อุทิศให้กับการผลิตนาฬิกากลไก (Mechanical Watch) ของ Grand Seiko โดยเฉพาะ

“Grand Seiko Studio Shizukuishi” เปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือน

การประกาศเปิดสตูดิโอมีขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2020 ในพิธีที่จัดขึ้นพร้อมกัน ณ อาคาร Wako ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกของบริษัทไซโก โฮลดิงส์ คอร์ปอเรชัน ในกรุงโตเกียว และที่สตูดิโอในเมืองชิสุกุอิชิ จังหวัดอิวาเตะ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น โดยในโตเกียวนั้น ได้รับเกียรติจาก ชินจิ ฮัตโตริ ประธานกรรมการและซีอีโอของไซโก วอตช์ คอร์ปอเรชัน ร่วมด้วย เคนโงะ คุมะ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงผู้ออกแบบสตูดิโอ ขณะที่ในชิสุกุอิชิ ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดอิวาเตะ ทาคุยะ ทัสโสะ เข้าร่วมงานพร้อมด้วยผู้อำนวยการของสตูดิโอ “Grand Seiko Studio Shizukuishi” เปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือน

ภาพ1: Grand Seiko Studio Shizukuishi
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M102037/202007202222/_prw_PI4fl_3YSON86r.jpg

ชินจิ ฮัตโตริ กล่าวเนื่องในโอกาสประกาศเปิดสตูดิโอว่า "สตูดิโอแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเหล่าช่างฝีมือทั้งชายและหญิงในการที่จะเนรมิตนาฬิกากลไกของ Grand Seiko และยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการฝึกอบรมช่างนาฬิการุ่นใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะของพวกเขา สตูดิโอแห่งนี้แฝงด้วยปรัชญาของ Grand Seiko นั่นคือ The Nature of Time และเป็นหลักฐานชัดเจนให้โลกได้ประจักษ์ถึงการอุทิศตนของเราต่อศิลปะแห่งการรังสรรค์นาฬิกากลไก"

เคนโงะ คุมะ อธิบายแนวคิดของเขาในการออกแบบสตูดิโอแห่งนี้ว่า "มุมมองของ Grand Seiko ที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ สะท้อนอยู่ในทุกมุมของการออกแบบและการก่อสร้าง ผมสนุกมากกับความท้าทายในการทำห้องคลีนรูม ที่ซึ่งนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงสูงสุดจะถูกประกอบขึ้นจากไม้ การรักษาสมดุลระหว่างวัสดุที่เป็นธรรมชาติกับข้อกำหนดทางเทคนิคด้านเทคโนโลยีขั้นสูงของห้องนี้ นับเป็นภารกิจใหม่และน่าสนใจ"

ภาพ2: ห้องคลีนรูมที่ซึ่งนาฬิกาถูกประกอบขึ้น
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M102037/202007202222/_prw_PI1fl_n0ksRHpF.jpg

ภาพ3: นาฬิการุ่น Hi-beat 36000 80 Hours เป็นผลงานชิ้นแรกที่รังสรรค์ขึ้น ณ สตูดิโอแห่งใหม่นี้
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M102037/202007202222/_prw_PI18fl_W0bV5SOS.jpg

ภาพ4: ชินจิ ฮัตโตริ (ขวา) และ เคนโงะ คุมะ (ซ้าย) ฉลองการเปิดสตูดิโอร่วมกันในโตเกียว
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M102037/202007202222/_prw_PI19fl_uYqj3rS4.jpg

สตูดิโอแห่งนี้ยังประกอบไปด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งผู้มาเยือนจะได้เต็มอิ่มไปกับประวัติความเป็นมาของ Grand Seiko และสำรวจคุณลักษณะการผลิตนาฬิกากลไกของ Grand Seiko อีกทั้งจะมีการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนสามารถลองประกอบนาฬิกากลไกด้วยตนเองในพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า Studio Seminar Room

เลานจ์บนชั้นสองประกอบด้วยนิทรรศการที่อธิบายโลกของ Grand Seiko รวมทั้งจะจัดแสดง "แนวคิดการสร้างสรรค์" ผลงานชิ้นแรกของแบรนด์

นอกจากนี้ นาฬิกา Grand Seiko ซึ่งผลิตขึ้นเป็นพิเศษสำหรับและที่สตูดิโอแห่งนี้ จะถูกจัดแสดงและเปิดจำหน่ายด้วย ซึ่งได้แก่ Hi-beat 36000 รุ่นลิมิเต็ดอิดิชัน

ภาพ5: หน้าปัดนาฬิกาได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์สีเขียวที่อุดมสมบูรณ์รอบสตูดิโอ
https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M102037/202007202222/_prw_PI20fl_97SQek3p.jpg

สำหรับข้อมูล กรุณาเข้าชมที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้
URL: https://www.grand-seiko.com/global-en/special/studio-shizukuishi/

รับชมวิดีโอ Grand Seiko Studio Shizukuishi ได้ที่:
https://kyodonewsprwire.jp/attach/202007202222-O1-6P5xjQ53.mp4  

รับชมภาพอื่น ๆ ของสตูดิโอและเมืองชิสุกุอิชิ ได้ที่:
https://kyodonewsprwire.jp/release/202007202222?p=images

เกี่ยวกับ Grand Seiko
Grand Seiko ถือกำเนิดขึ้นในปี 1960 โดยมีเป้าหมายเพื่อรังสรรค์สุดยอดนาฬิกาด้วยฝีมือของบริษัท นาฬิกาทุกเรือนของ Grand Seiko นับตั้งแต่เรือนแรก ล้วนแล้วแต่บรรลุระดับสูงสุดของความเที่ยงตรง ความชัดเจน ความคงทน และใช้ง่าย Grand Seiko มีรากเหง้ามาจากมรดกของญี่ปุ่น ขณะที่ปรัชญาของแบรนด์ ซึ่งได้แก่ "The Nature of Time" นั้น แสดงถึงการยกย่องจิตวิญญาณแห่งกาลเวลาของชาวญี่ปุ่น ที่ได้รับแรงบันดาลใจอย่างลึกซึ้งจากธรรมชาติ และรังสรรค์ขึ้นโดย “ทาคุมิ” (takumi) หรือช่างฝีมือผู้แสวงหาความชำนาญเฉพาะด้าน

ที่มา: ไซโก วอตช์ คอร์ปอเรชัน


ข่าวไซโก วอตช์ คอร์ปอเรชัน+กรุงโตเกียววันนี้

วงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาฯ วง "ChulaThaiYO" พร้อมโชว์บนเวทีระดับนานาชาติในงาน Thai Festival Tokyo 2025 ที่ญี่ปุ่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสืบสานศิลปะดนตรีไทยโดยบูรณาการร่วมกับพันธกิจ CU Social Engagement : Arts and Cultural Communities จัดตั้งวงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนของมหาวิทยาลัย "ChulaThaiYO" ซึ่งเป็นวงดนตรีไทยประจำมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่สุดในกระบวนวิชาการได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย พร้อมแสดงศักยภาพบนเวทีการแสดงระดับนานาชาติ ในงาน Thai Festival Tokyo ครั้งที่ 25 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 11 พฤษภาคม 2568 วงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn

เอส เอฟ ส่ง "เฌอปราง อารีย์กุล" รับภารกิจ... เอส เอฟ ส่ง "เฌอปรางค์" ร่วม Exclusive Mission ปฏิบัติภารกิจกระทบไหล่ "ทอม ครูซ" ที่ประเทศญี่ปุ่น — เอส เอฟ ส่ง "เฌอปราง อารีย์กุล" รับภารกิจสำคัญเป็นตัวแ...

พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavil... พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ — พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...

นายโชคชัย สงสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี... ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล จัดสัมมนาพนักงานส่งท้ายปีและต้อนรับปีใหม่ ณ ประเทศญี่ปุ่น — นายโชคชัย สงสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด...

โคเซ่ เข้าซื้อหุ้นบริษัท ปุริ จำกัด ในไทย พร้อมควบรวมเป็นบริษัทในเครือ

โคเซ่ คอร์ปอเรชั่น - ขยายธุรกิจในตลาดซีกโลกใต้และเร่งดำเนินกลยุทธ์ระดับโลก - โคเซ่ คอร์ปอเรชั่น (KOSE Corporation) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตชูโอ กรุงโตเกียว และบริษัท ปุริ จำกัด (Puri Co., Ltd.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ...