เคทีซีรายงานการดำเนินงานไตรมาส 1/2563 ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 กำไรสุทธิ 1,641 ล้านบาท จำนวนสมาชิกบัตรเครดิตและยอดลูกหนี้ขยายตัวดี ค่าใช้จ่ายทางการเงิน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เร่งวิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการในองค์กรทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด อีกทั้งสนับสนุนภาครัฐออกมาตรการผ่อนผันและแบ่งเบาภาระสมาชิกที่เดือดร้อนจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก เพื่อดูแลรักษาคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อไว้ให้ดีที่สุดอย่างเต็มกำลัง
นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของการดำเนินงานของเคทีซีในไตรมาสแรกถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มีการเติบโตทั้งรายได้และผลกำไร รายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขณะเดียวกันสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายทางการเงินและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2563 ยังมีอัตราขยายตัว 10% ในขณะที่อุตสาหกรรมเติบโต 6.2%”
“อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่
โควิด-19
ได้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก จนกลายเป็นวิกฤติรุนแรงที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจเกือบทุกประเภท
ต่อเนื่องมาถึงชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน และมีผลให้การเติบโตของพอร์ตลูกหนี้และปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีเริ่มได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เคทีซีได้ติดตามและประเมินผลกระทบของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และคาดว่าสถานการณ์และผลกระทบจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนในช่วงไตรมาส
2 ของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
(พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) แล้วอย่างเต็มที่”
“ภารกิจของเคทีซีที่เราจะต้องคิดวิเคราะห์ให้ถ้วนถี่ในช่วงเวลานี้คือ
การหากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤตินี้ไปอย่างไรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และจะเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรหลังวิกฤติโควิด-19 เพราะโลกหลังจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
(New Normal) อีกทั้งจะเร่งวิเคราะห์ พัฒนาปรับปรุงกระบวนงานทั้งระบบ
(End to End Process Improvement) ปรับลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน
เสริมสร้างการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติ
ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลให้ดีที่สุด”
“บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนภาครัฐในการออกมาตรการผ่อนผันช่วยเหลือแบ่งเบาภาระลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามนโยบายของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเต็มที่
โดยปรับลดอัตราผ่อน
ชำระของบัตรเครดิตจากเดิม
10% เหลือ 5% ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคล “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) ปัจจุบันได้รับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ 3% ซึ่งอยู่ในแนวทางการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่แล้ว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเตรียมจะออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติมในวันที่ 20
เมษายน 2563 ที่จะถึงนี้อีกด้วย”
“สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาสแรก สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 เคทีซีมีกำไรสุทธิ 1,641 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ย (รวมค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) เท่ากับ 3,615 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวม (NPL) 4.01% (ถ้าเป็นภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินเดิมจะเท่ากับ 1.21%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้การค้ารวม) เท่ากับ 82,102 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.5 ล้านบัญชี (เพิ่มขึ้น 5.6%) แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,593,947 บัตร (เพิ่มขึ้น 10.4%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้บัตรเครดิต)52,137 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 50,167 ล้านบาท เติบโต 2.2% NPL บัตรเครดิตตามมาตรฐานใหม่ TFRS 9 อยู่ที่ 3.44% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซีเท่ากับ926,729 บัญชี (ลดลง 6.0%) จากการปิดบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหว เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม (ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคล)29,965 ล้านบาท NPL สินเชื่อบุคคลตามมาตรฐานใหม่ TFRS 9 อยู่ที่ 4.99%”
“นอกจากนี้ ตามมาตรฐานใหม่ TFRS 9 บริษัทฯ ยังสามารถทำรายได้รวมเท่ากับ
5,669 ล้านบาท และมีรายได้ค่าธรรมเนียมเท่ากับ 1,183 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมภาษีเงินได้) อยู่ที่ 3,631 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน 1,929 ล้านบาท
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ) เท่ากับ 1,308
ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 394 ล้านบาท
ตามลำดับ”
บริษัท PwC ประเทศไทย จัดงาน 'Corporate Reporting Forum' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาประจำปี PwC Thailand's 2024 Symposium ภายใต้หัวข้อ 'ก้าวข้ามความท้าทาย: สร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งวันพรุ่งนี้ (Beyond boundaries: Shaping tomorrow's innovations)' เพื่อให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านมาตรฐานบัญชี การจัดทำรายงานความยั่งยืนและกิจกรรมสีเขียวที่อาจส่งผลต่อรายงานทางการเงิน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI: GenAI) กับงานด้านบัญชีและการเงิน โดยมี
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจเตรียมรับมือผลกระทบจากมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ การนำ GenAI มาใช้กับฝ่ายการเงิน และการจัดทำรายงานความยั่งยืนและกิจกรรมสีเขียว
—
PwC ประเทศไ...
PwC ประเทศไทย จัดงานสัมมนาด้านมาตรฐานบัญชี "ถอดรหัสความท้าทายภาคธุรกิจไทยในอนาคต"
—
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา บริษัท PwC ประเทศไทย จัดงานสัมมนาปร...
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจเตรียมความพร้อมด้านมาตรฐานบัญชี-การจัดทำรายงานความยั่งยืน-การเข้ามาของเอไอ
—
PwC ประเทศไทย แนะผู้บริหารติดตามแนวโน้มและการเปลี่ยนแป...
หัวเว่ยจับมือ IUCN เดินหน้าโครงการ Tech4Nature เฟส 2 มุ่งขยายผลการอนุรักษ์ธรรมชาติ
—
หัวเว่ย (Huawei) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUC...
SME D Bank เข้าพบอธิบดีกรมสรรพากร หารือประสานความร่วมมือ หนุนเอสเอ็มอียกระดับสู่มาตรฐานบัญชีเดียว และเข้าถึงบริการ "เติมทุนคู่พัฒนา"
—
นางสาวนารถนารี รัฐป...
SCN โชว์ผลงาน Turnaround ชัดเจน กำไรแตะ 300% ก๊าซธรรมชาติโต หนุน SCN ดันผลงาน Q2/64 พุ่ง!!
—
บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN โดย ดร.ฤทธี กิจพิ...
ปี 64 ยังคงเดินหน้าเต็มที่
—
SCI มีกำไรจากการดำเนินงานเป็นบวกในปี 2563 แต่ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตตามมาตรฐานบัญชีใหม่...
SCN ไฟแรง หนุนบริษัทย่อย "SAP" สะสมกำลังการผลิตในมือกว่า 17 MW ทยอย COD แล้ว 5 MW
—
บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้นำด้านธุรกิจพลังงาน พลั...
SME D Bank เสริมแกร่งผู้ประกอบการ จัดอบรม SMEs บัญชีเดียว พาเข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่วยต่อยอดธุรกิจ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
—
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางแ...