CAT รอลุ้น ครม.อนุมัติ เผยศักยภาพทุกด้านพร้อมรับโอกาสดูแลกิจการดาวเทียมหลังหมดสัญญาสัมปทานไทยคมในปี 2564 เผยแผนพัฒนาดาวเทียมระยะยาวหนุนรัฐบาลรักษาวงโคจรดาวเทียมของประเทศ
พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยเกี่ยวกับการที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบให้ CAT เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับโอนหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานให้บริการดาวเทียมกับ บมจ. ไทยคม ในเดือนกันยายน 2564 ว่าอยู่ระหว่างรอกระทรวงดิจิทัลฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็ว ๆ นี้ โดยหากได้รับอนุมัติจาก ครม. CAT ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่พร้อมด้วยศักยภาพองค์กรในด้านดาวเทียมสามารถบริหารจัดการภาพรวมทั้งโครงการ ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนบริหารจัดการดาวเทียมแห่งชาติแบบจีทูจีด้วยกระบวนการตาม ม. 49 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นำเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติและคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563 โดยแผนดังกล่าวครอบคลุมการเตรียมความพร้อมในทุกด้านซึ่งอยู่ในขอบเขตความสามารถบริหารจัดการของ CAT ทั้งการพิจารณาต่อยอดสินทรัพย์ดาวเทียมที่จะหมดอายุการใช้งานวิศวกรรมเพื่อการใช้งานระยะยาวโดย CAT ได้เตรียมแผนบริหารดาวเทียมที่จะเหลือ 2 ดวงหลังสิ้นสุดสัมปทานคือไทยคม 4 และ ไทยคม 6 รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรรองรับงานในอนาคต
แนวทางสำหรับดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งมีอายุทางวิศวกรรมและพลังงานเชื้อเพลิงใช้ได้ถึงปี 2565 CAT ประเมินว่าเป็นตำแหน่งดาวเทียมที่มีศักยภาพสูงรองรับลูกค้าไทยและต่างชาติ ควรรักษาไว้โดยร่วมทุนกับพันธมิตรในการจัดหาดาวเทียมดวงใหม่มาทดแทน และอาจส่งโดรนเติมเชื้อเพลิงเพื่อใช้งานต่ออีกระยะหนึ่งระหว่างรอการจัดหาดาวเทียมทดแทน
“หลังหมดอายุใช้งานทางวิศวกรรมในปี 2565 เราจะพยายามรักษา Slot นี้ให้อยู่กับประเทศไทยต่อไป โดยหากเราได้ดาวเทียมใหม่มาแทนที่ไทยคม 4 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานมานานกว่าสิบปี ดาวเทียมบรอดแบนด์ใหม่จะใช้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยมีต้นทุนทางเทคโนโลยีที่ลดลงซึ่งอาจส่งผลลดค่าบริการลงได้ ในขณะที่จะสามารถขยายสัญญาณการให้บริการแก่ลูกค้าได้มากขึ้นทั้งไทยและต่างชาติ นอกจากเป็นการรักษาลูกค้าเดิมจึงสามารถขยายฐานลูกค้าเพิ่มโอกาสธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการช่วยภารกิจรัฐบาลที่จะได้รักษาตำแหน่งวงโคจรที่สำคัญนี้ไว้เพื่อความมั่นคงของกิจการดาวเทียมของประเทศ ทั้งนี้ แนวทางการบริหารดาวเทียมดังกล่าวหลังหมดสัมปทานหากสามารถดำเนินการได้เร็วจะยิ่งช่วยให้ลูกค้าในระบบเกิดความมั่นใจในการใช้บริการต่อ เพราะที่ผ่านมาหลังจากไม่มีการยิงไทยคม 9 ทดแทน จึงทำให้ลูกค้าดาวเทียมไทยคม 4 ทยอยลดลง”
สำหรับดาวเทียมดวงที่ 6 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 เป็นตำแหน่ง Hot Bird ที่มีศักยภาพและมูลค่าธุรกิจสูงมาก ขณะนี้รับลูกค้าบริการบรอดคาสต์ที่โอนย้ายจากไทยคม 5 เต็มขีดความสามารถโดยรองรับผู้ชมโทรทัศน์
ระบบดาวเทียมกว่า 15-16 ล้านรายและมีอายุการใช้งานถึงปี 2572 หลังจากนั้น CAT จะสามารถดำเนินการด้านเอกสารข่ายงานดาวเทียม (Satellite Network Filing) เพื่อจองตำแหน่งดาวเทียมและพัฒนาดาวเทียมใหม่ทดแทน โดยเป็นการช่วยรักษาตำแหน่งดาวเทียมนี้ไว้ต่อไปเพื่อการใช้ประโยชน์ในระยะยาวของประเทศ
สำหรับงานบริหารจัดการและควบคุมดาวเทียมในบางส่วนซึ่งมีความละเอียดอ่อนจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรเพิ่มความรู้ทักษะเฉพาะด้าน CAT จะพัฒนาบุคลากรโดยส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการบริหารสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดสัมปทาน
“CAT เชื่อมั่นว่าดาวเทียมสื่อสารจะมีบทบาทสนับสนุนประเทศไทยให้พร้อมขับเคลื่อนทุกภาคส่วนด้วยดิจิทัล ซึ่ง CAT พร้อมให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่าเราจะมีดาวเทียมใช้งานในอนาคตอย่างมั่นคงเพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ได้ทั่วถึงและครอบคลุมในทุกพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น โดยนอกเหนือจากไทยคม 4 และไทยคม 6 ดังกล่าว ยังเสริมด้วยการให้บริการจากเครือข่ายดาวเทียม LEO (Low Earth Orbit) ที่มีการใช้งานลักษณะกลุ่มดาวเทียม(Constellation) ครอบคลุมทั่วโลกกว่า 600 ดวง ซึ่ง CAT อยู่ระหว่างดำเนินการโดยเป็นเครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำที่จะรองรับการพัฒนาโครงข่าย 5G อย่างเต็มศักยภาพ ของไทยด้วยคุณสมบัติสำคัญคือการส่งข้อมูลความเร็วสูงเกิน 400 Mbps ความหน่วงต่ำกว่า 32 มิลลิวินาที (32 ms) และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายอุปกรณ์ IoT, M2M (Machine to Machine) จำนวนมาก จึงสามารถเสริมประสิทธิภาพร่วมกับ 5G ภาคพื้นดินเพื่อครอบคลุมทุกพื้นที่สำหรับการพัฒนา 5G ของไทยอย่างเต็มรูปแบบ”
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงานศาลปกครองได้ดำเนินการภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อให้บริการประชาชน โดยได้เปิดให้บริการศูนย์ดิจิทัลศาลปกครองในศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำนวน 1,722 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว
รองนายกฯ ประเสริฐ ย้ำบทบาทผู้นำไทย! จัดประชุมวิชาการ "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025"
—
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และร...
NT นำคลาวด์หนุนแพลตฟอร์มกันลวง ร่วมลงนาม MOU DE-fence ระหว่างกระทรวงดีอีและหน่วยงานพันธมิตรพร้อมเปิดใช้งาน 1 พฤษภาคมนี้
—
ดร.ณัฐวุฒิ ศาสตราวาหะ รองกรรมการ...
NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง
—
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...
สคส. จับมือ Meta เปิดตัว DPA Casework Channel ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ผนึกกำลัง Met...
นายกฯ แพทองธาร เผย ODOS Summer Camp พร้อมเปิดรับสมัคร 24 มี.ค.นี้
—
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ ODOS Summer Camp โ...
ETDA ลุยต่อ EDC Pitching Season 3 ชูคอนเซปต์ 'Digital Connect Space' ชิงรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัคร 10 มี.ค.นี้
—
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ก...
7 กระทรวง ร่วมลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
—
(วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมน...