ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ทั่วโลกมากกว่าสองล้านราย ซึ่งได้สร้างการหยุดชะงักครั้งใหญ่และคุกคามวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เพียงแต่โลกกายภาพเท่านั้น แคสเปอร์สกี้เตือนภัยร้ายที่มาเยือนโลกโลกออนไลน์โดยอาศัยวิกฤตโลกระบาดนี้ นายวิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยของแคสเปอร์สกี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวยืนยันว่า “ไวรัสโรคระบาดกลายเป็นภัยคุกคามไซเบอร์ได้ เพราะเหตุการณ์สำคัญและกระแสใหญ่ๆ ในโลกกายภาพมักจะส่งผลต่อไซเบอร์อยู่เสมอ” นายวิทาลียังระบุว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบไอทีขององค์กรในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย
มาตรการกักตัวทำให้พนักงานนำคอมพิวเตอร์จากที่ทำงานกลับไปเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กบ้านที่ไม่มีระบบการป้องกัน กระแสการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home นี้ได้เปิดช่องให้มิจฉาชีพไซเบอร์เข้าโจมตี การปกป้องคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นประเด็นที่องค์กรต้องพิจารณา เพราะพนักงานจำนวนมากที่เข้าใช้ทรัพยากรและเน็ตเวิร์กขององค์กรผ่านดีไวซ์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งอาจเข้าใจได้ว่าองค์กรจำเป็นต้องตัดงบ เลือกโซลูชั่นป้องกันไซเบอร์ราคาย่อมเยา และขาดความสามารถในการโต้ตอบกรณีโดนโจตีทางไซเบอร์
การโจมตีโดยใช้วิศวกรรมทางสังคม หรือ Social engineering ยิ่งทำได้ง่ายขึ้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตกหลุมพรางได้ง่ายในช่วงที่โลกกำลังวุ่นวาย และมิจฉาชีพไซเบอร์ก็รู้จุดอ่อนตรงนี้ดี ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบมัลแวร์เก่าอายุ 7 ปีในเวียดนามและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ถูกปัดฝุ่นมาใช้โจมตีใหม่โดยใช้วิกฤตโคโรน่าไวรัส
“การใช้ชื่อและคำฮิตที่เกี่ยวโยงกับโรคระบาดปัจจุบัน เป็นการเพิ่มโอกาสให้เวิร์มที่คัดลอกตัวเองมาจากเน็ตเวิร์กหรือยูเอสบีไดรฟ์นั้นถูกเปิดโดยผู้ใช้งาน” นายวิทาลีกล่าวเสริม
รายชื่อไฟล์มัลแวร์ที่ตรวจพบ
แปลจากภาษาเวียดนาม
Threat Dynamics: ช่วงเพิ่มขึ้นสูงและลดต่ำของมัลแวร์ชี้ว่ามิจฉาชีพไซเบอร์ก็เป็นคน
ในส่วนของภัยคุกคามทางเว็บ แคสเปอร์สกี้จับตาการเพิ่มขึ้นของมัลแวร์อินเทอร์เน็ตตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนมีนาคม และมีอัตราการลดลงที่น่าจับตามองช่วงหลังกลางเดือนมีนาคมจนถึงเมษายน การวิเคราะห์ของนายวิทาลีชี้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สหภาพยุโรปและประเทศต่างๆ เริ่มมาตรการเว้นระยะทางกายภาพกับบุคคลอื่นๆ ในสังคม หรือ Social Distancing การกักตัวเข้มงวด และการอยู่แต่ในที่พักอาศัย
“มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลนั้นกระทบมิจฉาชีพไซเบอร์ด้วย เพราะมิจฉาชีพก็เป็นคนเช่นเดียวกัน ต้องพักอยู่แต่ในบ้าน อาจจะมีบ้างที่ต้องไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่มิจฉาชีพก็ต้องรามือเพื่อเอาเวลาไปดูแลตัวเองและครอบครัว ทั้งการซื้ออาหาร การวิ่งไล่หาของใช้ในบ้านที่ต่างคนก็ต้องการ มีการแย่งชิงมาก เช่น กระดาษชำระ เห็นได้ชัดว่าเหตุการณ์นี้กระทบเหล่าโจรไซเบอร์ เพราะตัวเลขของภัยคุกคามลดลง”
ปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อจำนวนมัลแวร์ที่ลดลง เช่น บริษัทปิดตัว ปฏิบัติการต่างๆ หยุดชะงักเพราะไม่มีทูลและนโยบายรองรับการทำงานจากระยะไกล
ในส่วนของภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบแคมเปญมัลแวร์ 4 รายการที่โจรไซเบอร์ทำการเผยแพร่ URL และไฟล์ติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังพบว่าแคมเปญต่างๆ นั้นมีอัตราการลดลงในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นเพราะคนทำงานจากบ้านแต่ใช้เวลาทำงานเหมือนอยู่ที่ออฟฟิซ และไม่เปิดใช้งานแล็ปท็อปหรือเปิดอีเมลเลยในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ทำให้กิจกรรมออนไลน์และการรับส่งอีเมลลดลง
ในส่วนของอีเมลสแกม หรือการหลอกลวงผ่านอีเมลนั้น นายวิทาลีระบุตัวอย่างที่โจรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากเรื่องโรคระบาดโดยไร้จรรยาบรรณ โดยได้สอดส่องมองหาช่องทางเพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น การเลี่ยงใช้ไฟล์ .zip และ .rar ซึ่งโซลูชั่นความปลอดภัยต่างๆ ป้องกันได้
หัวข้อที่โจรไซเบอร์นิยมใช้เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ ได้แก่
ความหวังในช่วงวิกฤตโคโรน่าไวรัส
ขณะที่อาชญากรไซเบอร์ยังคงใช้โรคระบาดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง นายวิทาลีได้แบ่งปันว่าผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์นั้นหากร่วมมือกันก็จะช่วยหยุดยั้งภัยคุกคามออนไลน์ได้
นายวิทาลีกล่าวถึงกลุ่ม “COVID-19 CTI League” ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาที่ไม่หวังผลกำไร เป็นการรวมตัวของบุคคลและองค์กรมากกว่า 150 รายทั่วโลกที่ช่วยกันสกัดเว็บไซต์ปลอม ตรวจจับมัลแวร์ที่เกี่ยวข้องกับโคโรน่าไวรัส และการเสนอความช่วยเหลือในการโต้ตอบการโจมตี แคสเปอร์สกี้ได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม COVID-19 CTI League นี้ ทำงานควบคู่กับนักวิจัยและบุคลากรจากรัฐบาล สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน
ในส่วนของการโต้ตอบการโจมตีนั้น สามารถใช้ทูลบิตสเก๊าต์ (Bitscout) ซึ่งพัฒนาโดยนายวิทาลี เป็นทูลโอเพ่นซอร์สและใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการตรวจสอบพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล (digital forensics) และการสืบสวนทางไซเบอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการโต้ตอบและวิเคราะห์การโจมตี
ผู้สนใจทูลบิตสเก๊าต์ (Bitscout) สามารถเข้าร่วมคอร์สอบรมออนไลน์ได้ในวันที่ 28 เมษายน 2020 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bitscout-forensics.info
Group-IB ผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับการตรวจสอบ ป้องกัน และต่อสู้กับอาชญากรรมดิจิทัล เผยแพร่รายงาน High-Tech Crime Trends 2025 โดยผลการศึกษาเผยให้เห็นว่าอาชญากรรมไซเบอร์ไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์เดี่ยว ๆ อีกต่อไป แต่ได้พัฒนาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ซับซ้อนและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภัยคุกคามระดับภูมิภาค ได้แก่ การจารกรรมแบบ State-sponsored ที่มีหน่วยงานรัฐหนุนหลัง แรนซัมแวร์ ตลาดมืดใต้ดิน (underground marketplaces) และภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-driven cybercrime)
JMART จับมือ JMT คว้ามาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 ยกระดับความปลอดภัยข้อมูล เสริมแกร่งธุรกิจค้าปลีกและการเงินของกลุ่มบริษัท
—
บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ...
ผู้เชี่ยวชาญ Group-IB เผยทิศทางภัยคุกคามไซเบอร์ 2568
—
บทความโดย ดมิทรี วอลคอฟ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Group-IB ในยุคที่โลกดิจิทัลกับโลกความเป็นจริงแทบจะเ...
วว. คว้ารางวัลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Prime Minister Awards : Thailand Cybersecurity Excellence Award 2024
—
ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการบริหา...
Kaspersky และ AFRIPOL ลงนามข้อตกลงฉบับใหม่ จับมือเสริมแกร่งสู้อาชญากรไซเบอร์
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) และองค์กรความร่วมมือตำรวจแอฟริกา หรือ AFRIPOL ได้ล...
สัมมนาวิชาการ "IT Audit ตามมาตราฐานความมั่นคงไซเบอร์ ISO/IEC 27001"
—
เสริมเกราะความปลอดภัยให้องค์กรของคุณ เรียนรู้วิธีป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์และจัดการควา...
Stellar Cyber ร่วมมือกับ NCSA ส่งโซลูชัน Open XDR ให้ KKU เพิ่มประสิทธิภาพการสอนสร้างบุคลากรมืออาชีพด้านความปลอดภัยไซเบอร์
—
Stellar Cyber จากเมืองซานตาคล...
Kaspersky เผย 8 ข้อสังเกตพิชิตกลโกงและเว็บปลอม เพื่อชีวิตดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
—
ปัจจุบัน ภัยคุกคามไซเบอร์ปรากฏตัวในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล ไฟล์เอ...