บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมสมทบทุนให้กับ “กองทุนนวัตกรรมวิศวฯ จุฬาฯ” และบริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการช่วยพัฒนาสร้างหุ่นยนต์ ปิ่นโต 'Pinto’ (Quarantine Delivery Robot) หุ่นยนต์ต้นแบบผู้ช่วยแพทย์ช่วยฝ่าวิกฤตเชื้อไวรัส COVID-19 ภายใต้โครงการ 'CU ROBO COVID’ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า จากที่ทีม 'CU ROBO COVID’ ประกอบด้วยนักวิจัย (MI Workspace) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยบริษัทเอชจี โรโบติกส์ (HG Robotics) และบริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมในการผลิตหุ่นยนต์ 'Pinto' หรือ 'ปิ่นโต' ได้สำเร็จ เพื่อทำหน้าที่ขนส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงได้ร่วมสมทบทุนจำนวน 2 ล้านบาทให้กับ “กองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ” เพื่อร่วมสนับสนุนในการผลิตหุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ ลดความเสี่ยงของทีมแพทย์ในโรงพยาบาลจากการรักษาผู้ป่วยในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ร่วมพัฒนาระบบสื่อสาร
'Telepresence' เพื่อใช้งานกับหุ่นยนต์ปิ่นโต และใช้ในจุดคัดกรองผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาทิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้มากขึ้น
"ในสถานการณ์ที่เราทุกคนกำลังเผชิญวิกฤตร่วมกันนี้ MQDC ยินดีที่มีส่วนร่วมสนับสนุนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ให้ทุกท่านได้มีกำลังใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างราบรื่นให้มากที่สุด ผมต้องขอขอบคุณความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งกล้าเผชิญความท้าทายอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา” นายวิสิษฐ์ กล่าว
ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเอชจี โรโบติกส์ (HG Robotics) กล่าวว่า “ทีมงานโอโบดรอยด์ฯและทีมงานเอชจี โรโบติกส์ (HG Robotics) ยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้มีโอกาสร่วมทำงานกับทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MI Workspace) เพื่อร่วมกันผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบ ปิ่นโต 'Pinto’ (Quarantine Delivery Robot) และพัฒนาระบบการสื่อสาร (Quarantine Telepresence) โดยทีมงานโอโบดรอยด์ได้ร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์และทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์เพื่อการผลิตหุ่นยนต์ และระบบสื่อสารตรวจดูแลผู้ป่วยระยะไกลกับแพทย์และพยาบาล รวมถึงการพัฒนาอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ เช่น เครื่องช่วยหายใจ โดยการร่วมงานครั้งนี้ เราจะร่วมกันเดินหน้าผลิตหุ่นยนต์เพื่อมอบให้โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศคาดว่าจะแล้วเสร็จตามเป้าหมายภายในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยใช้งบประมาณการผลิตหุ่นยนต์พร้อมระบบสื่อสาร 1ชุดอยู่ที่ประมาณ 50,000 -70,000 บาท”
ดร. มหิศร กล่าวว่า สำหรับหุ่นยนต์ 'Pinto' ถือเป็นหุ่นยนต์ขนาดค่อนข้างเล็ก สามารถเคลื่อนที่รอบตัวคนไข้บนเตียงได้ ดูแลทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคได้ง่าย ไม่สะสมให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่อไปได้อีก ซึ่งสามารถตอบโจทย์คณะแพทย์และพยาบาลในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตนี้ โดยหุ่นยนต์นี้ เป็นการใช้งานแบบอิสระแบบเบ็ดเสร็จแบบออลอินวัน ไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งเครื่องมือหรือโครงสร้างอื่นใดเพิ่มเติม จึงทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถใช้งานได้ทันที และยังสามารถปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยได้จากระยะไกลโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปใกล้ชิดผู้ป่วย ช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยลดการใช้งานของชุดป้องกันเชื้อไวรัส ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอยู่ในขณะนี้
สำหรับที่มาของหุ่นยนต์ปิ่นโตนี้ ประยุกต์มาจากอุปกรณ์ที่ต้องใช้เป็นประจำในโรงพยาบาล คือ รถเข็น ส่งอาหารผู้ป่วยนำมาปรับเพิ่มระบบให้สามารถควบคุมการเคลื่อนที่จากระยะไกลได้ พร้อมระบบสื่อสาร 'Telepresence' ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ใช้งานได้สะดวกปลอดภัยดูแลผู้ป่วยผ่านจอแท็บเล็ต ได้ถูกนำไปใช้ที่จุดคัดกรองผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้ว พร้อมติดตั้งฐานข้อมูลผู้ป่วยเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ทีมงานบริษัทโอโบดรอยด์ฯ จะมุ่งมั่นทุ่มเทในการผลิตหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทีมแพทย์ทั่วประเทศตามเป้าหมายต่อไป
นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ตัวแทนกลุ่มองค์กรผู้ก่อตั้ง "โรงพยาบาลสนามแสงแห่งใจ" กล่าวว่า ตั้งแต่ มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในรอบที่ 3 นี้ มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ประชาชนเองก็มีการติดเชื้อในระดับหลายหมื่นคนต่อวัน ภาคเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาด 450 เตียง ขึ้นมาพร้อมรับผู้ป่วยระดับสีเขียวและสีเหลือง โดยใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลแสงแห่งใจ" เกิดจากแนวคิดที่ว่า พวก
นิสิตวิศวฯ มก. ได้รับรางวัล Robot Jockey Award
—
นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีนานาชาติ (International Undergraduate Program: IUP...
FutureTales Lab by MQDC จับมือกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ยกระดับ "ปุณณวิถี" เทียบชั้น "ย่านนวัตกรรมไซเบอร์เทค" ระดับโลก
—
นายวิสิษฐ์ ...
MQDC เปิดตัว FutureTales Lab ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาแห่งแรกที่ก่อตั้งโดยภาคอสังหาฯของไทย
—
นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ...
MQDC โดย ดิ แอสเพน ทรี จัดพิธีลงนามร่วมกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เพื่อพัฒนาบุคลากรภายใต้มาตรฐานเบย์เครสต์
—
วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บ...
MQDC เสนอขายหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ อายุ 2 ปี ผลตอบแทน 6.85% ต่อปี
—
นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อป...
MQDC เผยเทรนด์ “วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจติดบ้าน”ตอบโจทย์การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคต
—
วิกฤตคือโอกาส MQDC โชว์วิสัยทัศน์ธุรกิจอสังหาฯ ยุคหลังโควิด-19 ชี้เท...
MQDC เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย ประกาศเดินหน้าต่อทุกโครงการ เตรียมพร้อมเปิด “THE FORESTIAS” เมกะโปรเจค 125,000 ล้านบาท ต้นปี 2564
—
นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ปร...
MQDC รวมพลังบริษัทในกลุ่ม จัดงบ50 ล้านร่วมบรรเทาวิกฤตโควิด
—
บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ DTGO -...