ดัชนีใหม่ที่ชี้วัดดิจิทัลอีโคโนมีแบบเรียลไทม์: โควิด-19 ดันยอดขายพุ่ง ทั้งอีคอมเมิร์ซ และการสั่งออนไลน์และรับสินค้าที่หน้าร้าน (BOPIS)
อะโดบี (Nasdaq:ADBE) เปิดเผยข้อมูลดัชนีดิจิทัลอีโคโนมี (Adobe Digital Economy Index) ซึ่งนับเป็นดัชนีที่ชี้วัดดิจิทัลอีโคโนมีในแบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรก โดยได้ทำการวิเคราะห์ธุรกรรมออนไลน์หลายล้านล้านรายการ ครอบคลุมสินค้ากว่า 100 ล้านรายการใน 18 หมวดหมู่ ดิจิทัลอีโคโนมีมีการเติบโตในอัตราที่รวดเร็วกว่าเศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจทั่วโลกต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเอาตัวรอดโดยอาศัยช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก เมื่อมองภาพรวมอย่างกว้างๆ จะเห็นว่าดิจิทัลอีโคโนมีมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบติดตามราคาสินค้าทางออนไลน์และยอดใช้จ่ายที่แท้จริงอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้เข้าใจแนวโน้ม และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ดัชนีดิจิทัลอีโคโนมีของอะโดบีดำเนินการโดยระบบ Adobe Analytics และอ้างอิง “ตะกร้าสินค้าดิจิทัลสำหรับผู้บริโภค” (Digital Consumer Shopping Basket) ซึ่งวัดยอดขายสินค้าและบริการออนไลน์ โดยครอบคลุมการซื้อผ่านช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น 20% ซึ่งหมายถึงการที่ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้นด้วยจำนวนเงินที่เท่าเดิมตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ยอดขายสินค้าบางหมวดหมู่ เช่น ของชำ ยาแก้หวัด อุปกรณ์ออกกำลังกาย และคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ยอดการสั่งออนไลน์และรับสินค้าที่หน้าร้าน (Buy Online, Pickup In-Store - BOPIS) ก็เพิ่มขึ้นถึง 62%
ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจมีดังนี้:
ระบบดิจิทัลผลักดันพฤติกรรมการซื้อรูปแบบใหม่: สินค้าบางหมวดหมู่มีส่วนแบ่งที่มากกว่าในตะกร้าสินค้าดิจิทัล ขณะที่หมวดหมู่อื่นๆ ไม่ได้รับความนิยม สินค้าของชำมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 8% ในช่วงสามปี ส่วนสินค้าเครื่องแต่งกายเข้าสู่ตลาดดิจิทัลตั้งแต่ช่วงแรกๆ และมีส่วนแบ่งธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 23% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในทางกลับกัน คอมพิวเตอร์มีส่วนแบ่งลดลงจาก 21% เหลือเพียง 8% เนื่องจากอุปกรณ์มือถือได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
การซื้อผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง: ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าออนไลน์ในราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคมีอำนาจการซื้อผ่านระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา กล่าวคือ เงิน 1 ดอลลาร์ในปัจจุบันสามารถซื้อสินค้าที่จะต้องใช้เงิน 20 ดอลลาร์ในการซื้อเมื่อปี 2557 ขณะเดียวกัน สำหรับการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์ เงิน 1 ดอลลาร์ในปัจจุบันสามารถซื้อสินค้าที่มีราคาเพียง 88 เซ็นต์เมื่อปี 2557 อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะหันไปซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบออฟไลน์และออนไลน์ผนวกรวมเข้าด้วยกัน รวมถึงราคาสินค้าด้วยเช่นกัน
โควิด-19 ดันยอดขายอีคอมเมิร์ซพุ่ง: ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 11 มีนาคม 2563 ยอดขายสินค้าหลายรายการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เจลล้างมือ ถุงมือ หน้ากากอนามัย และสเปรย์ฆ่าเชื้อ มียอดขายเพิ่มขึ้น 807% ส่วนยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยา (เช่น ยาแก้หวัด ยาลดไข้ ยาแก้ปวด) มียอดขายเติบโต 217% ขณะที่กระดาษชำระมียอดขายเพิ่มขึ้น 231% ส่วนยอดขายอาหารกระป๋องและอาหารที่เก็บได้นานเพิ่มขึ้น 87% นอกจากนี้ ผู้บริโภคจำนวนมากในสหรัฐฯ เก็บตัวอยู่ในบ้านตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดสั่งซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกาย (เช่น เคตเทิลเบล ดัมบ์เบล จักรยานออกกำลังกาย และลู่วิ่ง) มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 55% และคอมพิวเตอร์ (เดสก์ท็อปและแล็ปท็อป) มียอดเพิ่มขึ้น 40% ตามลำดับ สินค้าของชำโดยรวมมียอดขายออนไลน์ต่อวันเพิ่มขึ้น 100% ในช่วงวันที่ 13-15 มีนาคม ขณะที่ยอดสั่งซื้อแบบสั่งออนไลน์และรับสินค้าที่หน้าร้าน (BOPIS: Buy Online Pick Up In Store) ในช่วงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ถึง 21 มีนาคม เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
นวัตกรรมใหม่ๆ ผลักดันให้ราคาสินค้าทางออนไลน์ลดลง: หมวดหมู่สินค้าที่มีการออกสินค้ารุ่นใหม่มากที่สุด (SKU ใหม่) ในแต่ละปี (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ทีวี) มีราคาลดลงทางออนไลน์ ขณะที่อำนาจในการซื้อของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยรวมในสหรัฐฯ ลดลง ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่ายผ่านทางออนไลน์ลดลงกว่า 40% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงกรกฎาคม 2560 ภาวะเงินฝืดในระบบออนไลน์ทำให้อำนาจการซื้อผ่านทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย9% ต่อปี แต่ผู้บริโภคเริ่มหันไปซื้อสินค้าและบริการที่ไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น สินค้าของชำ และเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้ภาวะเงินฝืดทางออนไลน์และอำนาจในการซื้อมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง โดยเพิ่มขึ้นเพียง 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เริ่มขยายตัวครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ไม่ใช่แค่เฉพาะสินค้าที่เป็นนวัตกรรม ดังนั้นข้อได้เปรียบทางด้านราคาสำหรับการสั่งซื้อทางออนไลน์จึงมีแนวโน้มลดลง
ตะกร้าสินค้าดิจิทัลใหม่สำหรับผู้บริโภค
ส่วนแบ่งของยอดขายออนไลน์ในสหรัฐฯ ประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย (ส่วนแบ่ง 23%), อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (16%), บ้านและสวน (12%), คอมพิวเตอร์ (8%), ของชำ (8%), เครื่องมือปรับปรุงบ้าน (5%), เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (4%), ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว (4%), ดอกไม้และของขวัญที่เกี่ยวข้อง (3%), เครื่องใช้สำนักงาน (3%), สินค้าประเภทกีฬา (2%), หนังสือ (2%), เครื่องประดับ (2%), เฟอร์นิเจอร์และเครื่องนอน (2%), ผลิตภัณฑ์และอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง (2%) และของเล่นและเกม (2%) ส่วนสินค้าประเภทยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาและอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์มีส่วนแบ่ง 1% เท่ากัน
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา
ดัชนีดิจิทัลอีโคโนมีของอะโดบี (Adobe Digital Economy Index) ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด โดยอ้างอิงข้อมูลวิเคราะห์จากการเยี่ยมชมไซต์ต่างๆ กว่าหนึ่งล้านล้านครั้ง และสินค้ากว่า 100 ล้านรายการ ระบบ Adobe Analytics ตรวจสอบธุรกรรมจากผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ 80 รายจากทั้งหมด 100 ราย ซึ่งมากกว่าบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นๆ ข้อมูลที่วิเคราะห์มีความแม่นยำ และเจาะลึกมากกว่าการประเมินโดยใช้แบบสอบถาม เพราะอะโดบีเป็นบริษัทเดียวที่สามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมของผู้บริโภคจำนวนมากได้ในแบบเรียลไทม์ หน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคอุตสาหกรรมหลายแห่ง เช่น สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ ธนาคารกลาง และสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ยินยอมให้อะโดบีเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับดิจิทัลอีโคโนมีได้ทันที
เกี่ยวกับ อะโดบี
อะโดบีเปลี่ยนโลกผ่านประสบการณ์ด้านดิจิทัล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com
บริษัท แรบบิท แคช จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์ ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลิตภัณฑ์ "สินเชื่อแรบบิทแคชผ่อนตามใจ กระเป๋าเงินทุนออนไลน์" ตอบรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซไทย พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ง่าย ปลอดภัย เชื่อถือได้ ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ เสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพิ่มความคล่องตัวในการค้าขายและต่อยอดธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานราก พร้อมดึง "เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น" แม่ค้าออนไลน์ตัวจริงเสียงจริงร่วมแคมเปญ เพื่อสร้าง
กลยุทธ์ 'HERO' + 'FAB' สร้างแบรนด์ ดันยอดขายช่วงซัมเมอร์ปีนี้ พร้อมแนะจับเทรนด์ Live Shopping ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่
—
ช่วงสงกรานต์และซัมเมอร์นอกจากเป็นเ...
AnyMind Group เปิดตัวฟีเจอร์ AI ใหม่บนแพลตฟอร์ม AnyTag ช่วยวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้บริโภคจากโซเชียลมีเดีย
—
ฟีจเจอร์ AnyTag Insight ช่วยให้นักการตลาดสามา...
ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในธุรกิจอีคอมเมิร์ซกับโครงการ E-Commerce Accelerator
—
จากการเติบโตและขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerc...
ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับฮั่วเซ่งเฮง ช้อปออนไลน์
—
ฮั่วเซ่งเฮงผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้กับฮั่วเซ...
AnyMind Group เสริมความแข็งแกร่งทีมผู้นำ ด้วยการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง 5 ตำแหน่ง รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์คนแรกของบริษัท
—
บริษัทประกาศแต่งต...
มิจฉาชีพขยันยันวันหยุด! Kaspersky แนะนำวิธีเที่ยวสงกรานต์สบายใจห่างไกลกลโกงออนไลน์
—
ช่วงวันหยุดสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ผู้คนมีกิจกรรมมากมายทั้งงา...
ลาซาด้าเผยผู้ขายไทย 7 ใน 10 ราย ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมในการใช้ AI ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
—
ลาซาด้า ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ...
เปิดแล้ว "Konvy" บิวตี้อีคอมเมิร์ชสาขาใหม่ล่าสุด สาขาศูนย์การค้าจังซีลอน
—
คอนวี่ (Konvy) ร้านบิวตี้อีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยชั้นนำ ที่รวบรวมแบรนด์เครื่องสำอา...
AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
—
AnyMind Group บริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่นสำหรับการดำเนินธุรกิจ (BPaaS)...