กลุ่มทรู ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พัฒนาระบบคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านระบบแชตบอตและวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กลุ่มทรู ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยพัฒนาระบบคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านระบบแชตบอตและวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พร้อมติดตั้งเทคโนโลยีและระบบสื่อสารเพื่อการแพทย์ สนับสนุนวงการสาธารณสุข สู้ภัยโควิด-19

กลุ่มทรู ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พัฒนาระบบคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านระบบแชตบอตและวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

กลุ่มทรู โดย นายพิชิต ธันโยดม (กลาง) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ส่งมอบแพลตฟอร์มระบบคัดกรองเบื้องต้น ประเมินความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 พร้อมด้วยอุปกรณ์ เทคโนโลยี และระบบสื่อสารเพื่อการแพทย์ แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นำโดย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการ รับมอบบริการ เพื่อนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการแพทย์ในการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 กลุ่มทรู ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พัฒนาระบบคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านระบบแชตบอตและวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรู นำความพร้อมทั้งในด้านโครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยี และดิจิทัลแพลตฟอร์ม ร่วมช่วยเหลือและสนับสนุนวงการสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้ป่วยและสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารที่ล้ำสมัยสามารถสร้างประโยชน์และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนคนไทยได้เป็นอย่างดี กลุ่ม

ทรู จึงร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย พัฒนาแพลตฟอร์มและระบบคัดกรองเบื้องต้นผ่านระบบแชตบอต สำหรับผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
โดยใช้งานผ่าน LINE @chulacovid19 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณสุข
ให้ประชาชนเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น นอกจากนี้
กลุ่มทรูยังติดตั้งระบบ VDO Conference เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญใช้สื่อสารและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
รวมทั้งใช้ในการเรียนการสอนทางไกลแก่นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พร้อมกับติดตั้งโครงข่าย True 5G เพิ่มประสิทธิภาพให้โรงพยาบาลจุฬาฯ
ได้ติดต่อสื่อสารให้บริการผู้ป่วย ผ่านเครือข่ายที่ดีที่สุดจากทรู โดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตนี้

อ.นพ.กวิรัช ตันติวงษ์ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ร่วมมือกับกลุ่มทรู พัฒนาระบบที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของโรงพยาบาลจุฬาฯ และระบบสาธารณสุขได้ดีขึ้น โดยใช้งานผ่าน LINE @chulacovid19 ให้ประชาชนประเมินความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งทีมแพทย์จุฬาฯ จะช่วยตอบข้อสงสัยในอาการที่ผู้ป่วยมีความกังวล พร้อมข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว ก่อนเข้ารับมารับการรักษาที่โรงพยาบาล จึงเป็นการช่วยให้ทีมแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยทั้งสำหรับแพทย์และประชาชน ช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อโรคที่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

สำหรับ LINE @chulacovid19 เปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้บริการได้แล้ว โดยกลุ่มทรูจะยังคงสานต่อความร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการพัฒนาระบบและกระบวนการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริการมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ กลุ่มทรู จะยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เพื่อช่วยยกระดับบริการสาธารณสุขและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

ในภาพ จากซ้าย-ขวา

  • นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
  • นายธนกาญ เพิ่มทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอโค่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • นายสุพจน์ มหพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีพี เมดิคอล จำกัด และผู้ช่วยบริหารงาน ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
  • นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
  • ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • นพ.กวิรัช ตันติวงษ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรและทรัพยากรบุคคล


ข่าวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์+ประเมินความเสี่ยงวันนี้

"Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90% เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้!

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป "Check PD" เพื่อใช้ตรวจหาความเสี่ยงการเป็นพาร์กินสัน เหตุพบสถิติคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นและยังพบในคนอายุต่ำกว่า 60 ปี ชี้ความแม่นยำของการตรวจประเมินมีสูงถึง 90% พร้อมเชิญชวนคนไทยโดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไปโหลดแอปประเมินความเสี่ยงเพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที รศ. นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า แอปพลิเคชัน Check PD เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัล

เมืองไทยประกันชีวิต ตอกย้ำนโยบายการตอบแทน... เมืองไทยประกันชีวิต มอบเงินสนับสนุนกว่า 16 ล้านบาท เพื่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย — เมืองไทยประกันชีวิต ตอกย้ำนโยบายการตอบแทนสังคมเดินหน้าโครงการเพื...

ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าโครงการสอ... โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก รพ.จุฬาฯ ขอเชิญร่วมทำบุญประจำปี 18 ก.พ.2568 — ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังและศูนย์คอมพิวเตอร์เ...

ร่วมทำความดี ฉลอง 12 ปี นูเมโร ไทยแลนด์ อ... นูเมโร ไทยแลนด์ มอบเงินช่วยเหลือผู้ป่วยพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ — ร่วมทำความดี ฉลอง 12 ปี นูเมโร ไทยแลนด์ อมรสิริ บุญญสิทธิ์ บรรณาธิการบริหาร นูเมโร...