37.9 % นิว นอร์มอล (New Normal) อยู่นาน 1 ปี 68.4% มาตรการผ่อนปรนจะทำให้เกิด นิว นอร์มอล (New Normal) อีก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ตรัง ชลบุรี ภูเก็ต ราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 1,112 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

37.9 % นิว นอร์มอล (New Normal) อยู่นาน 1 ปี 68.4% มาตรการผ่อนปรนจะทำให้เกิด นิว นอร์มอล (New Normal) อีก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคนในสังคมเป็นอย่างมาก จากการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 การสวมหน้ากากอนามัยของผู้คนในสังคมในอดีตคือผู้ป๋วย แต่ในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องปกติของคนในสังคม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมในครั้งนี้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่แทนการนั่งทานในร้าน การทำงานที่บ้าน (Work From Home) / การเรียนการสอนออนไลน์ การซื้อสินค้าจากออกไปซื้อข้างนอกกลายเป็นซื้อทางออนไลน์ การลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย ซึ่งมีการกำหนดว่าในปี 2563 นั้นทำให้เกิดความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ หรือ นิว นอร์มอล (New Normal) ของคนในสังคม การสำรวจในครั้งนี้เน้นไปที่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมและมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 จะทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมไปอย่างไร โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 37.9 % นิว นอร์มอล (New Normal) อยู่นาน 1 ปี 68.4% มาตรการผ่อนปรนจะทำให้เกิด นิว นอร์มอล (New Normal) อีก

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม หรือความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) ร้อยละ     84.2 และคิดว่ามาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 จะทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม หรือความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) ร้อยละ 68.4

โดยคิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมมากที่สุด ของความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) อันดับหนึ่งคือ หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ร้อยละ 48.3 อันดับสองคือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) / การเรียนการสอนออนไลน์ ร้อยละ 17 อันดับสามคือ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ร้อยละ 14.6 อันดับสี่คือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่แทนการนั่งทานในร้าน ร้อยละ 11 อันดับห้าคือ การซื้อสินค้าจากออกไปซื้อข้างนอกกลายเป็นซื้อทางออนไลน์ ร้อยละ 6.4 และอันดับสุดท้ายคือ การลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย ร้อยละ 2.6

และคิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมน้อยที่สุด ของความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) อันดับหนึ่งคือ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ร้อยละ 22.5 อันดับสองคือ การลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย ร้อยละ 20.5 อันดับสามคือ การซื้อสินค้าจากออกไปซื้อข้างนอกกลายเป็นซื้อทางออนไลน์ ร้อยละ 19.3 อันดับสี่คือ หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ร้อยละ 12.9 อันดับห้าคือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) / การเรียนการสอนออนไลน์ ร้อยละ 12.8 และอันดับสุดท้ายคือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่แทนการนั่งทานในร้าน ร้อยละ 12.1

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม หรือความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) จะมีความต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี มากที่สุด ร้อยละ 37.9 รองลงมาคือเกิน 1 ปี ร้อยละ 35.7 และไม่ถึง 1 ปี ร้อยละ 26.3

อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคม หรือความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่, นิว นอร์มอล (New Normal) มากที่สุดอันดับหนึ่งคือ หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ร้อยละ 33.5 อันดับสองคือ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ร้อยละ 22.5 อันดับสามคือ การทำงานที่บ้าน (Work From Home) / การเรียนการสอนออนไลน์ ร้อยละ 13.7 อันดับสี่คือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่แทนการนั่งทานในร้าน ร้อยละ 11.3 อันดับห้าคือ การซื้อสินค้าจากออกไปซื้อข้างนอกกลายเป็นซื้อทางออนไลน์ ร้อยละ 10.3 และอันดับสุดท้ายคือ การลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย ร้อยละ 8.5


ข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา+มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จวันนี้

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และผู้บริหารคณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำโดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ตำแหน่ง ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบด... ครบรอบ 40 ปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา — ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ สิงห์ขจร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ กล่าวถึง คณะวิทยาการจัดก...

ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลั... มบส.จับมือ WMC จัดมวยไทยลีก 3 ปีซ้อน สร้างประวัติศาสตร์กีฬามวยไทย — ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เปิดเผยว่า...

ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลั... มบส.มุ่งเสริมความรู้"เท่าทัน AI ภัยคุกคามใกล้ตัวในยุคปัญญาประดิษฐ์ " — ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า...

รศ.ดร.ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน รองอธิการบดีมหา... มบส. กำชับทุกหน่วยงานปฎิบัติงาน "สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้" — รศ.ดร.ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ( มบส.) กล่าวว่า ...

ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลั... มบส.พร้อมพัฒนาพื้นที่และสร้างรายได้ชุมชนท้องถิ่น 5 กลุ่มชาติพันธุ์ — ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(มบส.) กล่าวว่า เม...

ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลั... มบส.ระดมพลเร่งขับเคลื่อนโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎ งบปี68 — ผศ.ดร.คณกร สว่างเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) กล่าวว่า...