ปี 63 ทุเรียนภาคตะวันออกขายได้ราคา มีสมาพันธ์ฯ สนับสนุนร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมขาย ภายใต้การสนับสนุนจากส่วนงานภาครัฐ ขยายผลวางแผนการผลิตปี 64 แบบตลาดนำ ภายใต้คุณภาพดีจากแปลงปลูกคุณภาพ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เตรียมหนุนเต็มพิกัด
นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของสมาพันธ์ทุเรียนภาคตะวันออกภายหลังร่วมการประชุมกับคณะกรรมการสมาพันธ์ทุเรียนตะวันออกเกี่ยวการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การผลิตทุเรียนปี 2564 ณ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ว่าสมาพันธ์ทุเรียนภาคตะวันออกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เป็นการรวมตัวของสมาชิกผู้ที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งหมด เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาในการผลิตทุเรียนคุณภาพ และการทำการตลาดร่วมกัน โดยมีสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในด้านวิชาการด้านการผลิตและการตลาด ตลอดถึงการประสานงานกับส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
“เป็นองค์กรที่จะต้องให้การสนับสนุนเพราะจะช่วยให้เกษตรกรสามารถยืนหยัดกับอาชีพของตัวเองได้ มีการทำการผลิตที่ถูกวิธี ลดต้นทุนการผลิตตรงตามความต้องการของตลาด มีรายได้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่งคั่งและยังยืน โดยภาคราชการจะให้การสนับสนุนส่งเสริมการรวมกลุ่มและขับเคลื่อนการผลิต ให้มีการบริหารจัดการผลิตทุเรียนออกมาอย่างมีคุณภาพ ตลอดถึงแนวทางการกระจายผลผลิตไปยังตลาดต่าง ๆ เช่น ตลาดต่างประเทศ โดยประสานงานกับทางสมาคมผู้ส่งออก ตลอดถึงตลาดภายในประเทศ และตลาดท้องถิ่นรวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
เมื่อกำหนดแผนการผลิตร่วมกันแล้ว จึงกำหนดแนวทางการผลิตขยายสู่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกฯ ว่าแต่ละสวนจะผลิตออกมาเท่าไหร ผลผลิตควรออกมาแบบมีระยะกันอย่างไร เพื่อไม่ให้กระจุกตัว และมีคุณภาพที่ดีตามที่แต่ละตลาดต้องการ” นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ กล่าว
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าหากไม่มีสมาพันธ์มาทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเข้าด้วยกันก็จะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ ทั้งการผลิตและการตลาดเป็นการแข่งกันเองของเกษตรกร ในที่สุดก็จะตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าคนกลาง เกิดความเหลื่อมล้ำทางการตลาดอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อชาวสวนทุเรียนมารวมกลุ่มกันก็จะได้รับการส่งเสริม มีโอกาสและช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนตลอดถึงปัจจัยการผลิต ได้รับการพัฒนา ตั้งแต่การเพาะปลูก การบำรุงรักษา การดูแลผลผลิต การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาด รวมถึงการประชาสัมพันธ์ จะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการตลาดโดยสมาพันธ์ฯ จะทำให้เกษตรกรสมาชิกสมาพันธ์มีความเสมอภาคในการรับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน
ทางด้านนายธีรภัทร อุ่นใจ นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก กล่าวว่า สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออกปี 2563 ค่อนข้างโชคดีสมาชิกสมาพันธ์มีรายได้กันถ้วนหน้า เนื่องจากตลาดมีความต้องการทุเรียนเป็นจำนวนมาก ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีราคาสูงกว่าปี 2562 ประมาณ 20 – 30 % สำหรับฤดูการผลิตปี 2564 ทางสมาพันธ์จะระดมสมาชิกให้ร่วมกันผลิตทุเรียนคุณภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ
“สมาพันธ์จะหาตลาดให้สมาชิกพร้อมกำหนดวันตัดทุเรียนให้สมาชิกฯ ซึ่งจะนำวิธีการนับวันตั้งแต่ผลิดอกจนครบ 120 วันตามกำหนดตามมาตรฐาน ซึ่งจะได้ทุเรียนที่มีคุณภาพ ไม่มีปัญหาทุเรียนอ่อน โดยทางสมาพันธ์จะร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมหารือและแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาหากเกิดขึ้น ที่สำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกถูกเอาเปรียบในการขายผลผลิต ทางสมาพันธ์ฯ จะช่วยหาล้งที่ดีมีคุณภาพและรับผิดชอบ ไม่เอาเปรียบเกษตรกรและให้ราคาดีให้กับสมาชิกด้วย” นายธีรภัทร อุ่นใจ กล่าว
และเพื่อประโยชน์ของชาวสวนทุเรียนทางสมาพันธ์ฯ ขอเชิญชวนชาวสวนทุเรียนทั่วประเทศมาร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์ โดยอยู่ภาคไหนก็สังกัดสมาพันธ์ภาคนั้นเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการผลิตทุเรียนคุณภาพและร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อให้ทุเรียนไทยก้าวไกลสู่สากลอย่างยั่งยืนตามเจตนารมย์ของสมาพันธ์ที่ตั้งไว้ต่อไป
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขต (Regional Workshop : RW) ครั้งที่ 1 / 2568 ณ ห้องประชุมตลาดเกษตรกรจังหวัดราชบุรี โดยนายสุพัฒน์ อ่อนคง เกษตรจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ และนายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2จังหวัดราชบุรี กล่าวรายงาน การจัดเวทีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับเขต จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่ 8 จังหวัดของภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี
สสก.2 จ.ราชบุรี ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาก...
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ร่วมประชุมคณะทำงานสรรหาปราชญ์เกษตรของแผ่นดินเขตตรวจราชการที่ 3
—
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ผู้ตรวจราชการก...
เกษตรเขต 2 สัมมนาสร้างนักจัดการ APP. Tech. ด้าน BCG เชิงพื้นที่ ครั้งที่ 1 เชื่อมโยงงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรภาคตะวันตก
—
นายประสาน ปานคง...
เกษตรเขต 2 ตรวจสอบผลการวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล พื้นที่ปลูกจริงเทียบกับการวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล จังหวัดกาญจนบุรี
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนัก...
เกษตรเขต 2 ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 7
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษ...
เกษตรเขต 2 ภาคตะวันตก จัดเวทีการจัดการความรู้ (KM) ระดับเขต เสริมความรู้การปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ 8 จังหวัดภาคตะวันตก
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงาน...
กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเกษตรเขต 2 พร้อมเกษตรจังหวัด 8 จังหวัด ประชุมขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภาคตะวันตก เพิ่มรายได้เกษตรกร 3 เท่าใน 4 ปี
—
นายรพีทัศน์...
เกษตรเขต 2 ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 6
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษ...