กองทุน AMD COVID-19 HPC ส่งมอบซูเปอร์คอมพิวติ้งคลัสเตอร์ (Supercomputing Cluster) เพื่อนักวิจัยใช้ต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

AMD (NASDAQ: AMD) และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี Penguin Computing Inc. ที่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท SMART Global Holdings, Inc. (NASDAQ: SGH) ประกาศว่า มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (Rice) จะเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ขับเคลื่อนด้วยผลิตภัณฑ์ AMD อย่างเต็มรูปแบบจากกองทุน AMD HPC Fund เพื่อวิจัยโรคระบาด COVID-19 นอกจากนี้ยังประกาศรองรับระบบคลาวด์ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพด้วยโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และ AMD Radeon Instinct ที่ตั้งอยู่ ณ Penguin Computing ส่งมอบประสิทธิภาพการประมวลผลในระยะไกล สำหรับนักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วทุกมุมโลก เมื่อผสมผสานเข้ากับระบบที่ได้รับมอบมาจาก AMD จะช่วยให้นักวิจัยมีใช้ประสิทธิภาพการประมวลผลมากกว่า 7-Petaflops เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไป

ดร. ลิซ่า ซู ประธานและซีอีโอ ของ AMD กล่าวว่า “เทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูงมีบทบาทสำคัญมากต่อการวิจัยสมัยใหม่ ช่วยให้เราเข้าใจถึงระบบการทำงานของไวรัสแต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายก็จะสามารถพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพออกมาได้ AMD และพันธมิตรด้านเทคโนโลยีของเรารู้สึกยินดีที่นักวิจัยทั่วโลกสามารถใช้ระบบการประมวลผลใหม่นี้ได้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผลเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19 และสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ในอนาคต”

AMD คาดหวังว่ามหาวิทยาลัยที่ได้รับการสนับสนุนนี้สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพการประมวลผลไปในงานที่  เกี่ยวข้องกับการระบาดในวงกว้างครั้งนี้ รวมถึง จีโนมิกส์ การพัฒนาวัคซีน การศึกษาและโมเดลการแพร่ระบาด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่กำลังวิจัยโรคระบาด COVID-19 สามารถขอเข้าถึงจากระยะไกลการประมวลผลบนระบบคลาวด์ HPC ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ AMD ที่ตั้งอยู่ที่ Penguin Computing โดยส่งข้อเสนอมาที่อีเมล [email protected]

การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก AMD กำลังเตรียมแผนการวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพร้อมรับระบบการประมวลผล รวมไปถึง การกำหนดโครงการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อรองรับผลลัพธ์ที่จะได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

มหาวิทยลัยนิวยอร์ก (NYU)

รัสเซล แคฟลิช ผู้อำนวยการสถาบัน NYU Courant Institute of Mathematical Sciences กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของโรคระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการวิจัยในระดับอุดมศึกษา ทั้งในแง่ของของทิศทางการดำเนินงาน และความต้องการด้านผลลัพธ์อย่างเร่งด่วน ดังนั้น การได้รับบริจาคเทคโนโลยีในครั้งนี้จาก AMD นับเป็นเรื่องที่โชคดีเป็นพิเศษ และเรารู้สึกขอบคุณ AMD เป็นอย่างมาก ทรัพยากรการประมวลผลที่ได้รับมาจาก AMD จะนำไปใช้โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จากหลาย ๆ สาขาวิชาที่อยู่ในโครงการการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านต่าง ๆ ของวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ประกอบด้วย: การค้นพบยาที่สามารถรักษาโรคระบาด COVID-19 และการกลายพันธ์ของไวรัสโรคระบาด SARS ในอนาคต, การสืบค้นผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องจากผลงานด้านชีวการแพทย์ที่มีจำนวนมหาศาล, การวิเคราะห์ทางการแพทย์ด้วยภาพเพื่อคัดกรองผู้ป่วย และการวิเคราะห์ทัศนคติด้านการเมือง และพฤติกรรมการออกเสียงเพื่อตอบสนองอุปสรรคด้านการเงิน”

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)

ดาเนียล ฮัตเตนโลเกอร์ คณบดีสถาบัน MIT Schwarzman College of Computing กล่าวว่า “ที่ MIT เราทำงานร่วมกันเพื่อจัดการโรคระบาด COVID-19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก งานด้านที่ให้ผลกระทบทันที เช่น การสร้างรูปแบบจำลอง การทดสอบ และการรักษา ไปจนถึงงานที่ให้ผลกระทบในระยะกลาง และระยะยาว เช่น การค้นพบการรักษาและวัคซีนใหม่ ๆ งานเหล่านี้เกือบทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับการประมวลผล และส่วนใหญ่ต้องใช้การประมวลผลขั้นสูง นับเป็นความปรารถดีของ AMD ที่มอบเครื่องประมวลผลระดับ Petaflop ให้กับเรา”

มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (Rice)

โฮเซ โอนูชิค นักวิจัยจาก Center for Theoretical Biological Physics มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ ใช้งานค้นคว้าของเขาก่อนหน้านี้ในเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A (Influenza A) เป็นแนวทางในการค้นคว้าโปรตีนบนพื้นผิวของเชื้อไวรัส Coronavirus ว่าเอื้อต่อการแทรกซึมเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์หรือไม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมากของการติดเชื้อ โดยนักวิทยาศาสตร์อีกท่าน ปีเตอร์ โวลนส ใช้หลักการจากทฤษฎีพื้นฐานการม้วนตัวของโปรตีนเพื่อคัดกรองโมเลกุลของยานับพันชนิด และคัดเฉพาะส่วนผสมที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดสอบในทางการแพทย์ โดยพิจารณาจากความสามารถในการจับตัวของโปรตีนบนพื้นผิวของไวรัส

ปีเตอร์ รอสสกี คณบดีสถาบัน Wiess School of Natural Sciences มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ กล่าวว่า “ของขวัญที่ได้รับจาก AMD ในครั้งนี้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อระบบการประมวลผล เพื่อต่อกรกับโรคระบาด COVID-19 ของเรา เรามีแนวทางที่จะดำเนินงาน แต่ด้วยงานค้นคว้าที่มีขนาดใหญ่ และซับซ้อนอยู่ในระดับแถ วหน้าของความต้องการด้านการประมวลผล การเข้ามามีส่วนร่วมของ AMD ในด้านประสิทธิภาพการประมวลผลที่ล้ำสมัยจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการพัฒนาเพื่อเอาชนะโรคระบาดในครั้งนี้”

พันธมิตรของ AMD

AMD ได้เข้าร่วมกับบริษัท Penguin Computing ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องโซลูชั่น HPC และ AI เพื่อนิยาม เพื่อสร้าง และเพื่อส่งมอบระบบแบบ on-premises และคลัสเตอร์ Penguin on Demanc (POD) ของบริษัท Penguin ซึ่งขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ AMD โดยการรองรับของคลัสเตอร์ POD บริษัท Penguin จะตั้งอยู่ในพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ DataBank สนับสนุน การได้รับการสนับสนุนจาก Penguin Computing, NVIDIA, Gigabyte และพันธมิตรรายอื่น ๆ ช่วยให้กองทุน AMD HPC Fund สามารถทำให้การพัฒนาการวิจัยโรคระบาด COVID-19 ก้าวหน้าต่อไป

ซิด แมร์ ประธานบริษัท Penguin Computing กล่าวว่า “เราต้องการจะสนับสนุน และให้ความช่วยเหลืองานการวิจัยโรคระบาด COVID-19 ผ่านความร่วมมือกับ AMD เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของเราในด้านการประมวลผลขั้นสูง ปัญญาประดิษฐ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัย และการประมวลผลระยะไกลบนระบบคลาวด์ผ่านคลัสเตอร์ POD”

กีแลด เชเนอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดเครือข่าย Mellanox บริษัท NVIDIA กล่าวว่า “ความเร็วของข้อมูลที่เร็วเป็นพิเศษ และการประมวลผลข้อมูลรูปแบบอัจฉริยะจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เป็นที่ต้องการในด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ โดยโซลูชั่น NVIDIA Mellanox HDR 200 Gigabit InfiniBand ส่งมอบความสามารถด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่สูง ความหน่วงต่ำมาก และแอปพลิเคชั่นแบบ offroad engine ที่เร่งขั้นตอนการจำลองทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และพัฒนาการรักษา และต่อต้านโรคระบาด Coronavirus”

Gigabyte เป็นผู้จัดหาโหนดการประมวลผล G290-Z21 สำหรับคลัสเตอร์ของ Penguin สร้างขึ้นด้วยคอร์ประมวลผลแบบซิงเกิลคอร์ จำนวน 48 คอร์ บนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7642 จับคู่กับกราฟิกการ์ด Radeon Instinct จำนวน 8 ตัว โดยโหนดสำหรับการจัดการระบบ R182-291 นั้นได้รับการสนับสนุนจาก Gigabyte ซึ่งในแต่ละเครื่องใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7302 พร้อมคอร์ประมวลผล 16 คอร์

ความมุ่งมั่นของ AMD ในการวิจัยโรคระบาด COVID-19

กองทุน AMD COVID-19 HPC จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ มีแหล่งข้อมูลสำหรับการประมวลผล เพื่อพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์เรื่องโรคระบาด COVID-19 และโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากการบริจาคระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูง AMD มูลค่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในครั้งแรกนี้แล้ว AMD ยังสนับสนุนเทคโนโลยี และทรัพยากรด้านเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลเกือบสองเท่า ให้กับห้องปฎิบัติการแห่งชาติ Lawrence Livermore National Laboratory ซึ่งนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลการสร้างแบบจำลองโมเลกุลเพื่อสนับสนุนการวิจัยโรคระบาด COVID-19

Supporting Resources

  • Video from AMD President and CEO, Lisa Su
  • AMD response to COVID-19
  • Submit a Proposal to access the Penguin Computing on Demand cluster

เกี่ยวกับ AMD

เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่ม Fortune 500 และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ website, blog, Facebook และ Twitter


ข่าวมหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์+สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์วันนี้

กลุ่มทรู โชว์ความพร้อมในงาน "MIT Media Lab Southeast Asia Forum" นำเทคโนโลยีทะลุขีดจำกัดของมนุษย์ด้วย AI ขับเคลื่อนการพัฒนาบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ

กลุ่มทรู นำโดย นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (ขวาสุด) ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาระดับภูมิภาค "MIT Media Lab Southeast Asia Forum" จัดโดย MIT Media Lab หน่วยงานวิจัยชั้นนำของโลกในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การออกแบบ และศิลปะ ที่มุ่งเน้นสำรวจ ค้นคว้าและสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยี ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมร่วมเป็นวิทยากรพิเศษหัวข้อ "Human AI: Opportunities and Challenges" ซึ่งนอกจากจะเป็นการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI

กลุ่มทรู ตอกย้ำการเป็นเทคคอมปานีเต็มรูปแบ... กลุ่มทรู ย้ำภาพความเป็นบริษัทเทค ร่วมจัดสัมมนาระดับภูมิภาค "MIT Media Lab Southeast Asia Forum" — กลุ่มทรู ตอกย้ำการเป็นเทคคอมปานีเต็มรูปแบบ ชวนชาวเทคและผ...

เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก คิว... คิวเอส ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2566 — เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) สถาบ...

จบไปแล้วสำหรับการแข่งขันแผนธุรกิจฉบับ IDE... เผยโฉมผู้ชนะการแข่งขันแผนธุรกิจฉบับ IDE จากงาน IDE 2019 — จบไปแล้วสำหรับการแข่งขันแผนธุรกิจฉบับ IDE หรือ IDE Competition ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย...

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเ... เปิดรับสมัครเยาวชนร่วมประกวด RDC2019 รอบภูมิภาค พัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ — ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร...

มหาวิทยาลัยฮาหมัด บิน คาลิฟา เปิดคอร์สออนไลน์กับ edX.org เป็นมหาวิทยาลัยแรกในตะวันออกกลาง

การร่วมมือกับแพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ไม่หวังผลกำไรครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกเข้าถึงหลักสูตรที่โดดเด่นไม่เหมือนที่อื่น มหาวิทยาลัยฮาหมัด บิน คาลิฟา (HBKU) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมูลนิธิกาตาร์ (Qatar Foundation...

GARP ยกย่อง “แอนดรูว์ โล” เป็นผู้จัดการความเสี่ยงแห่งปี

- ศาสตราจารย์ด้านการเงินของโรงเรียนการบริหารสโลนแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ได้รับเกียรติจากผลงานทางวิชาการที่แพร่หลายและโด่งดัง รวมถึงการมีส่วนร่วมสนับสนุนวิชาชีพการจัดการความเสี่ยง Global Association of Risk Professional (GARP)...