ท่ามกลางความจำเป็นที่องค์กรต้องปรับเปลี่ยนระบบปฏิบัติงานและจัดให้พนักงานทำงานที่บ้านนั้น องค์กรยังมีความเสี่ยงในเรื่องความต่อเนื่องทางธุรกิจ Fortinet(R) (NASDAQ: FTNT) ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจรแนะนำ 4 ขั้นตอนให้ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยเครือข่าย (CSOs) ดำเนินการเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจและมีความปลอดภัยสูงได้ดังนี้
ซึ่งสถานการณ์การใช้โปรโตคอลเข้าถึงออฟฟิสจากระยะไกลและอุปกรณ์ที่พนักงานใช้อันหลากหลายมีผลกระทบที่สำคัญต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจและการจัดสร้างแผนการกู้คืนความเสียหาย ดังนั้น ทีมไอทีจำเป็นจะต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้นเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยเครือข่ายก่อนที่อนุญาตให้อุปกรณ์นั้นทำการเชื่อมต่อ นอกจากนี้ องค์กรต้องให้ความสำคัญในการใช้แพทช์ที่อัปเดตล่าสุดและสร้างระบบความปลอดภัยที่แข็งแกร่งโดยใช้การควบคุมและการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ
เห็นได้ว่าในการเปลี่ยนไปใช้วิธีการทำงานจากระยะไกลจึงมีส่วนบังคับให้องค์กรต่างๆ ยกระดับการทำงานของระบบคลาวด์หรืออีคอมเมิร์ซของตนเองไปในตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มปัญหาด้านประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของการปฎิบัติงานมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้นำองค์กรต้องคำนึงถึงคุณสมบัติการควบคุมความปลอดภัยในเครือข่ายที่มีอยู่เดิมนั้นและทำความเข้าใจว่าการควบคุมนั้นจะสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่นี้ได้อย่างไร หากองค์กรที่ยังไม่มีการควบคุมในการสนับสนุนการทำงานจากระยะไกล องค์กรจะต้องสร้างระบบควมคุมขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยขาดพื้นฐานความเข้าใจว่าการรักษาความปลอดภัยที่ตนมีคืออะไร หรือเหตุการณ์ความปลอดภัยที่มีผลต่อธุรกิจของตนในอนาคต ฟอร์ติเน็ตจึงแนะนำให้องค์กรประเภทนี้ใช้ระบบที่ทำงานอย่างอัตโนมัติเพื่อเพิ่มทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นให้มากขึ้นและให้มีความปลอดภัยได้สูงสุดอย่างรวดเร็ว
ติดต่พฤติกรรมการทำงานจากที่บ้านจะกลายเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ต่อไปอีกหลายปี ที่อาจเป็นการสร้างวิธีการทำงานแบบใหม่ ซึ่งต้องการการเปิดกว้างของผู้นำที่จะใช้วิธีการใหม่ๆ ในการสร้างเครือข่ายและการดำเนินธุรกิจท่ามกลางวิกฤต คุณชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แห่งฟอร์ติเน็ตเห็นว่า “องค์กรอาจมีคำถามและความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งแม้ว่าเราอาจไม่มีคำตอบทั้งหมดในตอนนี้ แต่องค์กรควรต้องลงมือปฏิบัติ สร้างรักษาความปลอดภัย รักษาข้อมูลของลูกค้า สนับสนุนการทำงานของพนักงาน และสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งองค์กรสามารถทำได้ด้วยโซลูชั่น เครื่องมือและทรัพยากรด้านความปลอดภัยของฟอร์ติเน็ต อันรวมถึงโซลูชั่นใหม่ๆ ดังนี้
- Endpoint protection: ควรใช้โซลูชั่น FortiEDR (Endpoint protection and response) ที่มีแอนตี้มัลแวร์ขั้นสูง ช่วยตรวจพบมัลแวร์ได้อย่างเรียลไทม์ ถึงแม้ว่า อุปกรณ์ปลายทางนั้นถูกคุกคามไปแล้ว ก็ยังสามารถแก้ไขการคุกคามนั้นได้ จึงทำให้ผู้ใช้งานยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
- Access control: ผู้ใช้งานที่บ้านมักใช้คอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันทั้งในการทำงาน เข้าโซเชี่ยลมีเดีย ให้ลูกเรียนทางอีเลิร์นนิ่ง ดังนั้น ควรใช้เครือข่ายไวไฟที่ปลอดภัย ใช้วีพีเอ็นในการป้องกันข้อมูล และองค์กรควรติดตั้งโซลูชั่น FortiNAC (Network Access Control) ที่สำนักงาน เพื่อช่วยบริหารอุปกรณ์ ผู้ใช้งานและแขกผู้เข้าใช้งานจำนวนมากได้อย่างอัตโนมัติ สามารถโต้ตอบกับพฤติกรรมและอีเว้นท์ที่ผิดปกติได้จากที่ใช้เวลาเป็นวันๆ เป็นระดับวินาที
- Cloud access: องค์กรควรจัดให้ผู้ใช้งานเชื่อมโยงไปที่ผู้ให้บริการความปลอดภัยบนคลาวด์ (SaaS) โดยตรง และใช้ซอฟท์แวร์ FortiClient แยกช่องสัญญาณเพื่อให้พนักงานสามารถเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยไปยังทรัพยากรขององค์กร เช่น อีเมลหรือฐานข้อมูลและลิงก์ตรงไปยังอินเทอร์เน็ตและคลาวด์
อย่างไรก็ตาม องค์กรควรใช้โซลูชั่น FortiCASB (Cloud Access Security Broker) ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกตามนโยบายที่ใช้แต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน พฤติกรรมและข้อมูลในแอปพลิเคชันของ SaaS ซึ่งช่วยให้ทีมไอทีสามารถตรวจและหาภัยคุกคามในข้อมูลในทุกอุปกรณ์ในทุกที่รวมทั้งที่ SaaS ได้อีกด้วย” โซลูชั่นและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ ทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บนโครงสร้างความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบริคของฟอร์ติเน็ต ซึ่งจัดการ ประสานการทำงานได้อย่างราบรื่นและแก้ไขปัญหาได้อย่างเรียลไทม์ จึงช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนและการปรับเปลี่ยนได้อย่างมั่นใจ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการฉ้อโกงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักรักต้มตุ๋น (Romance scams) หรือจะเป็นการสร้างตัวตนปลอมเพื่อหลอกลวงเหยื่อผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งการปลอมแปลงตัวตนหรือแอบอ้างชื่อเพื่อการฉ้อโกงเหล่านี้ ล้วนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนและธุรกิจจำนวนมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความปลอดภัยทางการเงินอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะได้รับการคลี่คลายโดยมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ด้วยโซลูชันประเมินความเสี่ยงการฉ้อโกง หรือ 'Consumer Fraud Risk' ที่เพิ่งประกาศเปิดตัวไปนี้
หวั่นควันพิษจากเหตุไฟไหม้พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จังหวัดนครปฐม ส่ง ทีม SEhRT กรมอนามัย เร่งดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่ง...
กรมอนามัย ชี้ญาติผู้สูญหายในอาคารถล่มกำลังใจดี มีสุขภาพแข็งแรง ย้ำสภาพแวดล้อมโดยรอบยังปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
—
อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผ...
คปภ. เปิดแผน OIC Stress Test ปี 2568 ประเมินความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกและภัยธรรมชาติ เพื่อเสริมเสถียรภาพธุรกิจประกันภัยไทย
—
ดร.อายุศรี คำบรรลือ ผู้ช่วยเลขาธิก...
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหนุน กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแ...
"Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90% เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้!
—
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป "Che...
รพ.จุฬาฯ จับมือสภากาชาดไทย เปิดตัว "Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสันแม่นยำถึง 90%
—
รพ. จุฬาฯ จับมือสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป "Check PD" ห...
CT CALCIUM SCORE การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ
—
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผ...
Integrity Hotline สายด่วนแจ้งเรื่องทุจริต ที่มุ่งสร้างวัฒนธรรม 'Speak Up' 1 ใน 7 นโยบายและกลไกทำจริง เพื่อปราบคอร์รัปชันที่ทรู คอร์ปอเรชั่น
—
ทรู คอร์ปอเร...
กทม. เตรียมพร้อมเปิดศูนย์ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข-คลินิกมลพิษทางอากาศในช่วงค่าฝุ่น PM2.5 สูง
—
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักกา...