นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานการประชุม แก้ไขปัญหาการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็ม จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับกรมชลประทาน เกษตรจังหวัด และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เพื่อหารือร่วมกันถึงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในพื้นที่ปลูกข้าวของในจังหวัดเพชรบุรี ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พร้อมกันนี้อธิบดีกรมการข้าวยังได้ลงพื้นที่ดูงานแปลงนาที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และดินเค็ม รวมถึงเขื่อนกั้นน้ำระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืดที่กำลังประสบปัญหาน้ำเค็มหนุนเข้ามาปะปนกับน้ำจืด ที่ส่งผลตกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านในพื้นที่
นายสุดสาคร เปิดเผยว่า ดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการปลูกข้าวมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นต่อผลผลิตข้าวในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึงร้อยละ 50 โดยปัญหาดินเค็มนั้น จะส่งผลให้ดินเกาะตัวแน่น เนื่องจากเกลือที่เข้าไปลดพื้นที่ของช่องอากาศภายในดิน ทำให้น้ำซึมลงสู่ดินยาก ทำให้ข้าวที่หว่านไม่เจริญเติบโต
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อไปว่า จังหวัดเพชรบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัด ที่ประสบปัญหาดินเค็ม โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านแหลม ที่ประสบปัญหาทั้งด้านน้ำแล้ง น้ำท่วม และดินเค็ม สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่โดยเฉพาะการทำนาข้าว
"อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวพันธุ์ กข49 และ กข31 แต่เนื่องจากประสบปัญหาดินเค็มและปัญหาลมฝน ทำให้ได้ผลผลิตน้อยและต้นข้าวไม่แข็งแรง ซึ่งในขณะนี้กรมการข้าวได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่ปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวพันธุ์ กข73 ซึ่งมีคุณสมบัติทนเค็ม ทนลม ไวต่อช่วงแสงได้ และเหมาะกับพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาดินเค็ม" อธิบดีกรมการข้าว กล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาดินเค็มนั้นมีหลายวิธี อาทิ ใช้การชะล้างเกลือด้วยระบบระบายน้ำใต้ดิน การทำคันนาขนาดใหญ่กั้นระหว่างบ่อเกลือกับพื้นที่ทำนา ทำร่องน้ำดักดินเค็ม ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีวัตถุ เช่น แกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือการไถกลบตอซัง อีกทั้งควรมีการปกคลุมดินหลังปลูกพืชเพื่อรักษาความชื้น และปลูกพืชที่ทนเค็ม
วันที่ 18-19 มีนาคม 2568 นายสุริยา ศรีนาโค เกษตรอำเภอบ้านแหลม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านแหลม ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานและบริการมูลค่าสูง โดยมีหลักสูตรการถ่ายทอดความรู้ ดังนี้ การรวมกลุ่มชุมชนกับการแก้ปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ โดย ปราชญ์ชุมชนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การผลิต
เกษตรบ้านแหลมฯ พัฒนาศักยภาพกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรสู่ smart group
—
วันที่ 7 8 มกราคม 2568 นายสุริยา ศรีนาโค เกษตรอำเภอบ้านแหลม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำน...
เกษตรหนองหญ้าปล้อง ประกวด ศจช. ดีเด่น ระดับเขต ประจำปี 2567
—
นายธัญสิทธิ์ ชาติวิระยะพงษ์ เกษตรจังหวัดเพชรบุรี นางสาวนิตยา ตั้งศุภธวัช หัวหน้ากลุ่มอารักขา...
เกษตรบ้านแหลมฯ จัดงานขยายผลขับเคลื่อนโรงเรียนเกษตรกร (Farmer Field School Day)
—
สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านแหลม ร่วมกับกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเพช...
กรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษ๖รเพื่อความยั่งยืน (มะพร้าว)
—
เจ้าหน้าที่กลุ่...
เกษตรอำเภอเขาย้อยขับเคลื่อน Smart Farmer ถ่ายทอดความรู้จัดทำแผนการผลิตรายบุคคล
—
นางสาวสุจิรา กิจเจริญ เกษตรอำเภอเขาย้อย พร้อมด้วย นายพันวิทย์ ศรีสังข์งา...
ภาพข่าว: การใช้สารชีวภัณฑ์และการกำจัดวัชรพืชในแปลงปลูก
—
นายณรงศักดิ์ สินเหลือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำน...
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรีลุยทำแผนพัฒนาแปลงใหญ่เพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรและต่อยอดธุรกิจ
—
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ...
ภาพข่าว: เพชรบุรีขานรับระบบส่งเสริมการเกษตร Training and Visiting System (T&V) เพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่
—
นายวันชัย คนงาม เกษตรจังหวัดเ...