โควิด-19 เปลี่ยนวิถีการส่งออกเครื่องสำอาง สินค้าด้านความงาม ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและร่างกาย ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรต่อจากนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคไปทั่วโลก ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 นั้นเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึง ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ความงาม และเครื่องสำอางลดลง 5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2563[1]

โควิด-19 เปลี่ยนวิถีการส่งออกเครื่องสำอาง สินค้าด้านความงาม ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและร่างกาย ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรต่อจากนี้

จากรายงานของเว็บไซต์ CosmeticsDesign-Asia.com[2] พบว่า โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดเครื่องสำอางสำหรับการแต่งหน้าและน้ำหอมชะลอตัว เนื่องจากคนทำงานจากที่บ้านมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ขณะที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณ และสุขอนามัยส่วนบุคคลมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายนั้น ปัจจุบันการป้องกันสุขภาพและสุขอนามัยได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักและรับรู้เรื่องของการป้องกันสุขภาพ และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อความงามจึงเปลี่ยนเป็นการมุ่งเน้นที่ “สุขภาพและสุขอนามัย” มากกว่า และเทรนด์นี้มีแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว

ในขณะเดียวกัน ผู้คนมีเวลาให้กับตัวเองหรือให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง (me-time) มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ประเทศและการรักษาระยะห่างทางกายภาพในสังคม

นี่คือโอกาสครั้งสำคัญสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวพรรณที่จะได้นำเสนอสินค้าที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียหรือรักษาความชุ่มชื้น หรือแม้กระทั่งชุดดูแลผิวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงผิวหน้า ผิวกาย ผม เล็บ ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาสร้างบรรยากาศในการดูแลตัวเองอย่างผ่อนคลายเหมือนทำสปาที่บ้าน

“เราเห็นสัญญาณมากมายในอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่ยังมีโอกาสฟื้นตัวจากสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมองหาความพึงพอใจจากการดูแลตัวเอง หรือการทำทรีตเมนต์ขณะอยู่ที่บ้าน ความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายยังคงมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจกับประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม เป็นต้น” เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าว

“ยังคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์โควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจที่กำลังจะกลับมา ผลการวิจัยจาก Kantar[3] เผยว่า การปรนนิบัติผิวหรือการบำบัดทางร่างกาย (Beauty Therapy) เป็นกิจกรรมอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคคิดจะทำหลังจากมาตรการล็อคดาวน์ของประเทศตนเองผ่อนคลายลง หรือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น”

5 เคล็ดลับส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การส่งสินค้าไปต่างประเทศอาจมีความล่าช้า ซึ่งโดยมากเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับพิธีการทางศุลกากรซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในสถานการณ์เช่นนี้ รวมถึงปัญหาการเดินเอกสารเพื่อเคลียร์สินค้าในประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตามคุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์เหล่านี้ได้ด้วย 5 เคล็ดลับที่ช่วยให้พิธีการศุลกากรเป็นเรื่องง่าย และส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีอุปสรรค ดังนี้

1.เตรียมตัวให้พร้อมก่อนรุก เข้าใจกฏระเบียบและข้อบังคับของตลาด โดยเฉพาะเมื่อเริ่มส่งสินค้าไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทำความเข้าใจกฎระเบียบและข้อบังคับของประเทศปลายทาง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มส่งสินค้าไปขาย หรือส่งให้ผู้รับที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก มิฉะนั้น คุณอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เกิดความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หรือแม้แต่ต้องส่งสินค้ากลับไปประเทศต้นทาง

2.มองหาตัวช่วยจากหน่วยงานศุลกากรท้องถิ่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่จะมีหน่วยงานรัฐบาลที่ให้คำแนะนำด้านศุลกากรฟรีสำหรับเอสเอ็มอี เอสเอ็มอีเผชิญกับข้อกำหนดในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าสินค้าจะถูกส่งถึงประเทศปลายทางแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ผู้ประกอบการควรใช้โอกาสจากการได้รับคำปรึกษาฟรีจากหน่วยงานต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย

3. ใช้บริการลอจิสติกส์แบบครบวงจรที่เหมาะสำหรับผู้ส่งออกประเภท B2C  เมื่อเอสเอ็มอีส่งออกโดยตรงไปยังผู้บริโภคในประเทศต่างๆ มักจะนำโมเดลที่เรียกว่า "Duty and Tax Paid on Import" มาใช้ ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการเกี่ยวกับการเดินพิธีศุลกากรในประเทศปลายทางทั้งหมดแทนที่จะให้ผู้ซื้อเป็นคนจัดการ อย่างไรก็ตาม นั่นหมายความว่าเอสเอ็มอีต้องสื่อสารกับตัวแทนต่างๆ มากมายเพื่อจัดการเกี่ยวกับภาษีอากร และขั้นตอนพิธีการทางศุลกากรอื่นๆ การทำงานกับผู้ให้บริการเดียวที่สามารถให้บริการแบบ door-to-door ตั้งแต่รับของจากผู้ส่ง ดำเนินการส่งของเข้าไปยังประเทศปลายทางและส่งของถึงมือผู้รับ จะช่วยลดความยุ่งยากในกรณีที่มีข้อติดขัด หรือความท้าทายอื่นๆที่เกิดขึ้น 4. ลองประยุกต์ใช้โมเดลการขายแบบ B2B: ขายผ่านช่องทางผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสินค้าส่งออก และส่วนแบ่งการตลาด การจัดการด้านศุลกากรอาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับธุรกิจแบบ B2C ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการส่งออกไปยังผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่ โดยทั่วไปผู้จัดจำหน่ายมักจะมีประสบการณ์ตรง หรือมีคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหรือตลาดนั้นๆ และอาจอำนวยความสะดวกให้คุณได้มากกว่าหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเอื้อให้เอสเอ็มอีได้ประโยชน์ตรงที่สามารถเร่งครื่องทำธุรกิจ และขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น บางครั้งการมีพาร์ทเนอร์ด้านการจัดจำหน่ายเพิ่มเข้ามาแล้วจะทำให้สัดส่วนกำไรของคุณลดลง แต่ก็แลกมาซึ่งความมั่นใจในการทำธุรกิจ ทำให้เอสเอ็มอีทำการส่งออกสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศใหม่ๆได้อย่างราบรื่น

5.อย่ากลัวที่จะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อเอสเอ็มอีสั่งสมความรู้และประสบการณ์ด้านการส่งออกเรื่องการเดินพิธีศุลกากรในแต่ละประเทศปลายทาง และกฏระเบียบการนำเข้าในแต่ละประเทศที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของตนเองจนคล่องแล้ว มั่นใจได้ว่าเอสเอ็มอีจะสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ๆ ในประเทศใหม่ๆ ได้เร็วกว่าที่เคยเป็น การพัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ศุลกากรต้องการก่อนทำการค้าขายกับลูกค้าปลายทาง และการทำงานกับลอจิสติกส์พาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดเป็นโอกาสที่เอสเอ็มอีจะได้เติมเต็มประสบการณ์ด้านการส่งออก การนำความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้เป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว และไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเอสเอ็มอีอีกต่อไป ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส คือผู้นำด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศ เราพร้อมที่จะช่วยขยายธุรกิจของคุณไปยังทั่วโลก เยี่ยมชม เว็บไซต์ เพื่อรับประสบการณ์การบริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ หรือดาวน์โหลดอีบุ๊ค Cosmetics and Personal Care Going Global ฟรี! ได้ที่ https://www.iexpressbydhl.com/th/landing/cosmetics-and-personal-care-export-trend


ข่าวสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย+เครื่องสำอางไทยวันนี้

"อินฟอร์มา มาร์เก็ต" แถลงข่าวจัดงาน "Cosmoprof CBE ASEAN 2023" งานแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงามระดับโลก

นายธัชพล วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมด้วย นางเกศมณี เลิศกิจจา กรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย นางสาวบุษบา จินตโสภณ กรรมการด้านธุรกิจ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด และนายดนัย ดีโรจนวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมแถลงข่าวความพร้อมการจัดนิทรรศการ "Cosmoprof CBE ASEAN 2023" หรือ "คอสโมพรอฟ ซีบีอี อาเซียน 2023" งานจัด

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ อ... “อินฟอร์มา มาร์เก็ต” แถลงข่าว การจัดงานแสดงสินค้าธุรกิจความงามระดับโลก “Cosmoprof CBE ASEAN 2020” — นายสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ อินฟอร์มา มาร์...

อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น และ อินฟอร์ม่า เอ็กซ... จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ครบเครื่องเรื่องธุรกิจความงามในงาน BEYOND BEAUTY ASEAN BANGKOK — อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น และ อินฟอร์ม่า เอ็กซิบิชั่น ร่วมกับสภาอุตสาห...