ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หมอหัวใจฝากมาบอก!! ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป

โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งคนไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน    

และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตการเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13%และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี

  • ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ20%
  • เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10%
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10%

เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก

  • มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้

คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคร่วมในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในโรคเดิมของผู้ป่วยเอง ดังนี้

  • โรคหัวใจพบในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% โดยแบ่งเป็น
    - เส้นเลือดหัวใจตีบ ประมาณ 10%
    - หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ประมาณ 5%
  • ความดันโลหิตสูง พบเป็นโรคร่วมได้ ถึง 20-30%
  • เบาหวาน พบเป็นโรคร่วมได้ 10-15%
  • เส้นเลือดสมองตีบ พบเป็นโรคร่วมได้ 5%

ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเคร่งครัดมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า     ?? ควรปฏิบัติตัวตามมาตรฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก

  • หากมีอาการไข้ หรือมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรงและต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
  • รับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ยาบางตัวใช้รักษา COVID-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19    

โดยคุณหมอจะเน้นการรักษาโรคเดิมให้ได้ตามเป้าหมาย อย่างเคร่งครัด มีความสำคัญมากเนื่องจากหากเจ็บป่วยด้วย COVID-19 แล้วอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางหัวใจ กับผู้ป่วยโรคหัวใจ, โรคความดัน, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, โดยอาจเพิ่มระยะเวลานอนรพ., เพิ่มอัตราการเสียชีวิต, การนอนICU    

ดังนั้น การมาพบแพทย์ตามนัด จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อติดตามการรักษา การทานยาและปฏิบัติตามแนะนำของแพทย์ผู้รักษาอย่างเคร่งครัดและสามารถควบคุมโรคได้ดีโดยทาง รพ.รามคำแหงมีมาตราการรักษาความปลอดภัยด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาลในระดับสูงสุดแล้ว เพื่อความปลอดภัยของทุกคน มาพบแพทย์ตามนัดได้สบายใจ


ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+กระทรวงสาธารณะสุขวันนี้

โรงพยาบาลหัวเฉียวดูแลหัวใจผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมทั่วประเทศ ด้วยการรักษา 7 หัตถการโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรงพยาบาลหัวเฉียว ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานประกันสังคม ให้สามารถรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และ 39 ใน 7 หัตถการ ได้แก่ การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจการขยายหลอดเลือดหัวใจ การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติการใส่เครื่องช่วยการเต้นของหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกันการศึกษาสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจและการจี้ไฟฟ้าหัวใจการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างภาพ 3 มิติและการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร โครงการนี้มีประ

"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพัน... โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้ — "โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพย... ขอเชิญชวนพยาบาลและบุคลากรสุขภาพเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ECG Interpretation and Nursing Care — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญพยาบาลและบ...

เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสม... "OPEN BOX for OPEN HEART" คอนเสิร์ตแห่งการให้ รวมพลังศิลปินช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ 200 ราย — เพราะทุกจังหวะของหัวใจมีค่า และทุกชีวิตสมควรได้รับโอกาสให้หั...

เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจก... อาหารที่ดีต่อหัวใจ — เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...

นพ.ธนาภูมิ พงษ์กิจพิศาล อายุรแพทย์เฉพาะทา... โรคหัวใจที่คนวัยทำงาน.. ควรใส่ใจ — นพ.ธนาภูมิ พงษ์กิจพิศาล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ อนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจและหลอด...

สุขภาพดีไม่มีขาย! พาราไดซ์ เพลส ศูนย์การค... กลับมาอีกครั้ง กับ "คาราวาน ตรวจสุขภาพฟรี 1 ล้านคน" 16-17 ก.พ. ที่พาราไดซ์ เพลส — สุขภาพดีไม่มีขาย! พาราไดซ์ เพลส ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมกับ กรุ...