นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตสาเหตุที่ทำให้ทางเท้าในกรุงเทพฯ ทรุดโทรมเร็ว เป็นเพราะประชาชนใช้งานไม่ถูกวัตถุประสงค์หรือเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานว่า สำนักการโยธา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทางเท้า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงคนเข้าสู่โครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ จึงได้จัดทำมาตรฐานทางเท้า เพื่อทุกคนในสังคมขึ้นทดแทนมาตรฐานทางเท้าเดิม โดยได้กำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทางเท้าได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างของชั้นพื้นฐานทางเท้า ประกอบด้วย ชั้นคอนกรีตหยาบ ชั้นปูนทรายสำเร็จรูป และใช้กระเบื้องคอนกรีตสำหรับปูพื้น เพื่อควบคุมคุณภาพการก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดปัญหาระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง อีกทั้งลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน นอกจากนั้น ยังได้เข้มงวดตรวจสอบการก่อสร้างทางเท้าของบริษัทผู้รับเหมาและตรวจสอบสภาพทางเท้าในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยกำชับต้องมีการเว้นทางเท้าให้ประชาชนสามารถเดินได้ในขณะทำงานและต้องมีการกั้นพื้นที่การทำงานให้ชัดเจน และหากทางเท้าแคบขณะปรับปรุง ประชาชนต้องลงเดินบนถนน จะต้องดำเนินการกั้นแนวทางเดินบนถนนให้ปลอดภัย ซึ่งหากไม่ดำเนินการหรือทำให้ประชาชนเดือดร้อนจะสั่งหยุดงาน เพื่อแก้ไขทันที ส่วนกรณีมีหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่นเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ ได้กำชับให้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. กล่าวว่า สำนักเทศกิจ คำนึงถึงความสะดวกปลอดภัยของผู้ใช้ทางเท้า และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง รวมถึงการมุ่งสร้างวินัยที่ดีของผู้ขับขี่รถให้ยึดถือปฏิบัติตามกฏจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้น้อยลง จึงได้กำหนดโครงการกวดขัน จับ ปรับ ผู้ขับขี่ หรือจอดรถบนทางเท้าสาธารณะ โดยสำนักเทศกิจ ร่วมกับทุกสำนักงานเขตจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจลงพื้นที่ตรวจตรา กวดขัน จับกุมผู้ฝ่าฝืนในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด ซึ่งจากการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ส่งผลให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ใช้ทางเท้าได้รับความสะดวก มีความปลอดภัย และผู้ใช้ยวดยานในเขตเมืองมีวินัยด้านจราจรดีขึ้น ทั้งนี้จะขยายผลการดำเนินการ โดยจะใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิด (CCTV) เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ ติดตามดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืน เพื่อให้จำนวนผู้ฝ่าฝืนขับขี่บนทางเท้าลดลงอย่างต่อเนื่อง
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) กทม. กล่าวชี้แจงกรณีสภาผู้บริโภคตั้งข้อสังเกตการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการให้รายละเอียดผลกระทบ และการจัดรับฟังความคิดเห็น กทม. ไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงว่า การวางและจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) กทม. ได้คำนึงถึงสิทธิ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวม ซึ่งเป็น
เคนยากุ มอบแว่นตาให้กับผู้สูงอายุ เฟส 8
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง พร้อมด้วย นายสุธี ช้างเจริญ ประธานชุมชนชายทะเลบางขุน...
กทม. เตรียมรวบรวมความเห็นปรับปรุงร่างผังเมืองรวมเสนอ คกก. ผังเมืองจังหวัด
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) กทม. กล่าวถึงก...
กทม. รับฟังความเห็นชาวซอยปรีดีพนมยงค์ 26 เตรียมเสนอทบทวนแนวถนนโครงการสาย ก 30
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) กทม. กล่าว...
กทม.เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ขยายเวลารับฟังความคิดเห็นร่างผังเมืองรวมฉบับใหม่ถึง 29 ก.พ.นี้
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ...
กทม.เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ 23 ธ.ค.66 - 22 ม.ค.67
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) กทม.กล่าวถึง...
สำรวจสะพานไม้ข้ามคลองลำพะอง - เตรียมแผนซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรง
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวกรณีประชาชนในพื้นที่เขตลาดกระบังและเข...