เจลล้างมือแอลกอฮอล์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ปัจจุบันเจลแอลกอฮอล์มีหลายสูตร มีการใส่สารบำรุงผิวและเพิ่มกลิ่นให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น ส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการขึ้นรูปเจลแอลกอฮอล์คือคาร์โบพอล (Carbopol) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด พบว่าคาร์โบพอลมีราคาแพงและขาดตลาด
“ไฮโดรแอลกอฮอล์เจล” ผลงานวิจัยของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา จากหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2662 เป็นเจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรธรรมชาติซึ่งมีการใช้พอลิเมอร์ “แซนแทนกัม” (Xanthan gum) ที่หาซื้อได้ทั่วไปทดแทนคาร์โบพอล ที่สำคัญคือมีความปลอดภัย เนื่องจากการทำเจลแอลกอฮอล์ด้วยคาร์โบพอลต้องใช้สารไตรเอทาโนลามีน (triethanolamine) ในการทำปฏิกิริยาสร้างเนื้อเจล ซึ่งหลายประเทศทางยุโรป โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จัดให้เป็นสารกลุ่ม ethanolamine ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และมีการศึกษาพบว่าสามารถทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิด ก่อตัวเป็นสารกลุ่มไนโตรซามีน (nitrosamines) ซึ่งในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้สารนี้ได้แต่ต้องมีการจำกัดปริมาณการใช้และความเข้มข้นตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
อ.ดร.ธีรพงศ์ เปิดเผยว่า แซนแทนกัมเป็นพอลิเมอร์ที่มีประสิทธิภาพในการโอบอุ้มแอลกอฮอล์ได้ยาก ในการวิจัยมีการนำองค์ความรู้มาปรับกรรมวิธีการผลิตให้สามารถรับแอลกอฮอล์ได้สูงสุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยคงสภาพเนื้อเจลได้แม้เก็บไว้เป็นเวลา 1-2 ปี นอกจากนี้ยังนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรไทย เช่น ตะไคร้หอม มะกรูด มาใส่ในเจลแอลกอฮอล์โดยใช้เทคโนโลยีระดับนาโนในการกักเก็บน้ำมันหอมระเหยไว้ หลังจากแอลกอฮอล์ระเหย กลิ่นหอมก็ยังคงติดมือนานขึ้น
นอกจากเจลแอลกอฮอล์แล้ว อ.ดร.ธีรพงศ์ยังได้พัฒนา “สเปรย์เจล” ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี เพิ่มระยะเวลาในการสัมผัสกับเชื้อโรคได้นานขึ้นเหมือนกับเจลแอลกอฮอล์ โดยใช้แซนแทนกัมเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้ดี ไม่แสบผิว
เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ นวัตกรรมนาโนจากสมุนไพรธรรมชาติที่ปลอดภัยในการใช้งาน จึงเป็นผลงานวิจัยที่พลิก “วิกฤต” ในช่วงโควิด- 19 ให้เป็น “โอกาส” หากเจลแอลกอฮอล์ยังคงเป็นเครื่องมือป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในระยะยาว ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคในอนาคต” อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน
ท๊อป จิรายุส ชวนกูรูสุขภาพแชร์เทคนิคอายุยืนอย่างมีคุณภาพปลดล็อกวิทยาศาสตร์ยืดชีวิตในงาน StayGold Meetup 2
—
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 บริษัท บิทคับ แคปปิ...
วว. ร่วมเปิดรับสมัครบุคลากรและนักศึกษาฝึกงาน @ อว. JOB FAIR 2025
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....
ครบ 6 ปี สอวช. "ดร.สุรชัย" เดินหน้าวางยุทธศาสตร์ "อววน." ปี 68-71 เลือกทำเรื่องใหญ่ ใช้เครื่องมือ Foresight นำประเทศสู่อนาค
—
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อ...
วว. ร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดีเนื่องในงานครบรอบ 6 ปี คล้ายวันสถาปนากระทรวง อว. พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรี อว." ประจำปี 2567
—
นางสาวศุภมาส อ...
วว. วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัดเพื่อการผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหย "ดอกมะลิลา"
—
"มะลิลา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac Ait. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถ...
รองนายกฯ ประเสริฐ ย้ำบทบาทผู้นำไทย! จัดประชุมวิชาการ "The 3rd UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025"
—
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และร...
เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล
—
ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...
สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าก...
กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
—
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...