แนะปลูกพืชกำไรงาม 'ข้าวโพดหวาน กล้วยหอม แตงโม’ ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสม จ.นครสวรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์ (สศท.12) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีพื้นที่เหมาะสมมากและปานกลาง (S1,S2) สำหรับการปลูกข้าว รวม 2,225,450 ไร่ และมีพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3,N) สำหรับการปลูกข้าว รวม 361,077 ไร่ หรือร้อยละ 14 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งจังหวัด โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอไพศาลี หนองบัว และพยุหะคีรี ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการปลูกข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมและปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 1,168 บาท/ไร่ ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ในพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จะได้รับผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เพียง 173 บาท/ไร่

แนะปลูกพืชกำไรงาม 'ข้าวโพดหวาน กล้วยหอม แตงโม’ ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสม จ.นครสวรรค์

หากพิจารณาสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อปรับเปลี่ยนนาข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) พบว่า มีสินค้าหลายชนิดที่ให้ผลตอบแทนดี อาทิ ข้าวโพดหวาน กล้วยหอมคาเวนดิช หรือกล้วยหอมเขียว และแตงโม โดย ข้าวโพดหวาน มีต้นทุนการผลิต 7,099 บาท/ไร่ นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม (ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 3 เดือน) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,557 กก./ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทน 10,228 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 3,128 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 4 บาท/กก. ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 98.5 ส่งขายพ่อค้าคนกลางเพื่อรวบรวมส่งโรงงานใน จ.กาญจนบุรี (บริษัท ริเวอร์ แควอินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด) เพื่อนำไปแปรรูปเป็นข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ 1.5 จำหน่ายผู้บริโภคภายในจังหวัด แนะปลูกพืชกำไรงาม 'ข้าวโพดหวาน กล้วยหอม แตงโม’ ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสม จ.นครสวรรค์

สำหรับสินค้าทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนสูง คือ กล้วยหอมคาเวนดิช หรือกล้วยหอมเขียว มีต้นทุนการผลิต 16,936 บาท/ไร่ นิยมปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนธันวาคม (เริ่มให้ผลผลิตในเดือนที่ 8 และเก็บเกี่ยวได้จนถึง 3-4 ปี) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,819 กก./ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทน 22,552 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 5,616 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 8 บาท/กก. ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 98.2 ส่งขายพ่อค้าคนกลางซึ่งมารับซื้อหน้าสวน จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะส่งขายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมรายใหญ่ในต่างจังหวัด เพื่อส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้า อาทิ บิ๊กซี โลตัส และ 7-Eleven และผลผลิตบางส่วนส่งออกไปยังประเทศจีน ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ 1.8 จำหน่ายผู้บริโภคภายในจังหวัด แนะปลูกพืชกำไรงาม 'ข้าวโพดหวาน กล้วยหอม แตงโม’ ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสม จ.นครสวรรค์

นอกจากนี้ ยังมีสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจ คือ แตงโม มีต้นทุนการผลิต 9,753 บาท/ไร่ นิยมปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,633 กก./ไร่ เกษตรกรได้ผลตอบแทน 15,804 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 6,051 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 6 บาท/กก. ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 98 ส่งขายพ่อค้าคนกลางเพื่อรวบรวมส่งตลาดไทย และตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งตลาดจะรับซื้อตามขนาดและคุณภาพของผลผลิต ส่วนผลผลิตอีกร้อยละ 2 จำหน่ายผู้บริโภคภายในจังหวัด นอกจากนี้ แตงโมมีความต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกเพียง 655 ลบ.ม./ไร่ ในขณะที่ข้าวมีความต้องการใช้น้ำ 1,351 ลบ.ม./ไร่ ดังนั้น แตงโมจึงเป็นพืชทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่ที่ใช้น้ำน้อยและใช้ระยะเวลาการปลูกสั้นเพียง 2-3 เดือน แนะปลูกพืชกำไรงาม 'ข้าวโพดหวาน กล้วยหอม แตงโม’ ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสม จ.นครสวรรค์

ทั้งนี้ การเลือกพืชทางเลือกเพื่อปรับเปลี่ยนการทำนาข้าวนั้น นอกจากปัจจัยด้านผลตอบแทนแล้ว เกษตรกรควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย อาทิ ลักษณะดินของพื้นที่ ปริมาณความต้องการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดความต้องการของตลาด หรือมีตลาดรองรับที่แน่นอน ปัจจัยด้านเงินทุน เป็นต้น รวมถึงเกษตรกรควรมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในด้านการผลิตและการแปรรูป เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย หากเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตสินค้าทางเลือกของจังหวัดนครสวรรค์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สศท.12 โทร. 0 5680 3525 หรืออีเมล [email protected]


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่+สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

สศท.2 เกาะติดสถานการณ์ผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 68 รวม 6 จังหวัด แตะ 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 12.47%

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 2568 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก ตาก และน่าน (ข้อมูล ณ 4 มิถุนายน 2568) โดย สศท.2 ประชุมร่วมกับคณะทำงาน ย่อยพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิตและโลจิสติกส์ไม้ผล ภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2568 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้นรวม 100,559 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 92,474 ไร่ (เพิ่มขึ้น 8,085 ไร่ หรือร้อยละ 9)

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง... สศท.10 เกาะติดสถานการณ์มะพร้าวผลแก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปีนี้ ผลผลิตรวม 252 ล้านผล — เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง เฝ้าระวังโรคแมลง นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำ...