เอ็นไอเอ พารู้จัก 2 สตาร์ทอัพเลือดใหม่ "ไฟน์ฟู้ดส์ - เฮิร์บส สตาร์ทเตอร์" ผู้เปิดประตูโอทอปเกษตรให้โตในตลาดออนไลน์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เกษตรกรไทยจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกต่อไป เพราะในวันนี้นวัตกรรมและแพลตฟอร์มออนไลน์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีเดิมๆ ของเกษตรกร ให้กลายเป็น Smart Farmer : สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือการทำการเกษตรที่ใช้นวัตกรรมเข้าไปขับเคลื่อนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มผลผลิต ลดความเสี่ยง เพิ่มมูลค่า เพิ่มช่องทางการขายให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะล่าสุด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้จัดโครงการ Agtech4OTOP ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดึงเอาสตาร์ทอัพด้านเกษตรที่หลากหลายอีกทั้งยังมีความพร้อม และความจริงใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยวันนี้เรามี 2 สตาร์ทอัพที่พร้อมจะติดเขี้ยวเล็บอันใหม่ให้กับเกษตรกรไทย อย่าง "Herbs Starter" และ "Find Food"

เอ็นไอเอ พารู้จัก 2 สตาร์ทอัพเลือดใหม่ "ไฟน์ฟู้ดส์ - เฮิร์บส สตาร์ทเตอร์" ผู้เปิดประตูโอทอปเกษตรให้โตในตลาดออนไลน์

? เริ่มกันที่ "Herbs Starter" แพลตฟอร์มที่จะเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรอย่างครบวงจร

นางสาวอิสรีย์ นิตยสมบูรณ์ Co-Founder Herbs Starter เล่าว่า "Herbs Starter" เป็นแพลตฟอร์มที่ต่อยอดจาก "Hub of Herbs" ซึ่งเกิดจากความตั้งใจที่ต้องการจะช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศให้สามารถ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน แปรรูปสินค้าได้ตามที่ต้องการ ดังนั้น จึงได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ทำให้พบปัญหาของเกษตรกรที่แตกต่างกันออกไป เกษตรกรบางรายต้องการแปรรูปวัตถุดิบที่มีอยู่ บางรายต้องการขายแค่วัตถุดิบ หรือบางรายต้องการขยายตลาดให้สามารถขายสินค้าทางการเกษตรให้ได้มากขึ้น ดังนั้น "Herbs Starter" จึงวางรูปแบบบริการไว้ 4 ด้าน คือ การประเมินศักยภาพและความพร้อมในการทำธุรกิจ การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำข้อมูลและสร้างเรื่องราวของชุมชนให้มีอัตลักษณ์ที่น่าสนใจ และการตลาดทั้งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่เกษตรกรต้องการ ผ่านเครือข่ายและพันธมิตรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนอกจากจะใช้นวัตกรรมด้านการสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์เรื่องราวให้แก่สินค้าเกษตรกรและชุมชนแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและอยากจะมาสัมผัสบรรยากาศต้นกำเนิดของผลิตภัณฑ์ในชุมชน ซึ่งตนมองว่าเป็นการต่อยอดและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับเกษตรในพื้นที่ต่างจังหวัดได้ค่อนข้างมาก

นางสาวอิสรีย์ กล่าวต่อว่า นอกจากการสร้างเรื่องราวให้สินค้าเกษตรในแต่ละพื้นให้เกิดความน่าสนใจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว Herbs Stater ยังได้มีการวางแผนการระบายผลผลิตที่ตกค้างด้วยการนำมาแปรรูปให้เป็นสินค้าออแกนิก และอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ภายใต้แนวคิด "Connect Barn to Urban" ซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อมโยงสินค้าเกษตรในต่างจังหวัดให้เข้าถึงชีวิตคนเมืองได้ง่ายและปลอดภัยไปพร้อม ๆ กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและชุมชน

? ถัดมาเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้นนั่นคือ "Find Food" แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มาพร้อมกับแนวคิด "วัตถุดิบต้นทาง ราคาต้นทุน" โดย นางสาวนฤมล ล้อมคง ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Find Food เล่าว่า Find Food เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ต่อยอดมาจากการทำนวัตกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน เนื่องจากในช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถพานักท่องเที่ยวลงพื้นที่ได้เหมือนที่ผ่านมา จึงมานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เกิดขึ้น และพบว่าช่วงนั้นมะม่วง และลิ้นจี่ของชุมชนที่ เคยร่วมงานด้วยไม่สามารถขายได้ ทางบริษัทเลยระดมสมองกันและเกิดไอเดียในการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะเข้ามาช่วยระบายผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร ดังนั้น จึงเริ่มทำเพจเฟซบุ๊ก "Find Food วัตถุดิบต้นทาง ราคาต้นทุน" และเริ่มติดต่อไปยังชุมชนในต่างจังหวัดเพื่อค้นหาสินค้าเกษตรท้องถิ่นมาจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการอุดหนุนสินค้าเกษตรสามารถสั่งซื้อผ่านไลน์แอด @FindFood19

"สำหรับ เพจ Find Food วัตถุดิบต้นทาง ราคาต้นทุน" มีลักษณะเหมือนกับเพจขายสินค้าออนไลน์ แต่จะเน้นขายสินค้าทางการเกษตรที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น เน้นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมเกษตรกรแบบยั่งยืน เป็นการส่งต่ออาหารที่มีคุณภาพในราคาเป็นมิตรให้กับผู้บริโภค นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าชุมชนเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว ทางทีมยังเน้นการสร้างเรื่องราวให้แก่สินค้าการเกษตร โดยมองว่าหากสินค้ามีเรื่องราวที่น่าประทับใจจะช่วยเพิ่มความอยากซื้อให้แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และยังทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าสินค้าไม่ได้มีราคาแพงกว่าท้องตลอด และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ผู้บริโภคมั่นใจได้ 100% ว่าหากสั่งซื้อสินค้ากับทาง Find Food จะได้ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง อีกทั้งยังได้รับประทานผลไม้ หรือสินค้าทางการเกษตรอื่นๆ ที่มาจากพื้นที่นั้นๆ นอกจากนี้ ยังได้แนะนำให้เกษตรกรเขียนข้อความขอบคุณลูกค้าไว้หน้ากล่อง และเชิญชวนลูกค้าให้กลับมาเที่ยวชุมชนของพวกเขา โดยแนวคิดนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตรได้อีกด้วย" นางสาวนฤมล กล่าวทิ้งท้าย

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวว่า สำหรับการเริ่มต้นโครงการ Agtech4OTOP นั้น NIA ต้องการที่จะเปิดช่องทางให้เกษตรกรในประเทศไทยได้เข้าถึงนวัตกรรม เนื่องจากอาชีพเกษตรกรรมถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนในประเทศ แต่จะทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่ดี สามารถผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงตลาดได้อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการมีอำนาจต่อรองกับนายทุนรายใหญ่ ดังนั้น NIA จึงได้มีแนวทางส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านการเกษตรผ่านโครงการดังกล่าว โดยได้รวมเอาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรกว่า 10 รายไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มการเพิ่มมูลค่าสินค้า แพลตฟอร์มสำหรับเพิ่มผลผลิต แพลตฟอร์มที่ช่วยด้านแบรนด์ แพลตฟอร์มด้านการตลาดเข้ามาจับคู่กับสินค้าเกษตรที่มีอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่ผ่านการคัดเลือกมากว่า 50 ราย อาทิ ส้มโอนครชัยศรี จ.นครปฐม ทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ มะปี๊ด จ.จันทบุรี โดยสตาร์ทอัพที่เข้าโครงการนั้นจะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพ และการเติบโต พร้อมทั้งช่วยขยายตลาดให้แก่เกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมให้นวัตกรรมและเกษตรกรมาเจอกัน ซึ่งนอกเหนือไปจากการเสริมศักยภาพแล้ว สตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมจะช่วยให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้เจอกันโดยตรง รวมไปถึงการเจาะตลาดใหม่ ๆ เช่น ตลาดต่างประเทศ ซึ่ง NIA มองว่าการนำนวัตกรรมมาจับคู่กับสินค้าที่มีอัตลักษณ์พื้นถิ่น การสร้างเรื่องราวให้แก่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรจะช่วยให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเกิดความสนใจพร้อมที่จะจ่ายเงินให้กับสินค้าอย่างไม่ลังเลใจ ทั้งนี้ NIA ตั้งเป้าว่า การจับคู่นวัตกรรมกับสินค้าโอทอปที่มีอัตลักษณ์พื้นถิ่นในครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเติบโตได้กว่า 10 เท่า

"จากข้อมูลของ AgFunder พบว่า สตาร์ทอัพในธรุกิจการเกษตรได้รับความนิยมในการระดมทุนเป็นอันดับ 9 โดยส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ทอัพที่มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในเมืองไทยซึ่งนับว่ามีตลาดการเกษตรขนาดใหญ่ที่พร้อมจะเป็นพื้นที่ให้สตาร์ทอัพได้เติบโตไปพร้อมๆ กับเกษตรกร ดังนั้น NIA จึงคาดหวังว่าโครงการ Agtech4OTOP จะเป็นการเปิดโอกาสครั้งสำคัญให้สตาร์ทอัพได้พัฒนาทักษะ และลงมือปฏิบัติจริง รวมไปถึงการก้าวเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นสัญชาติไทย พร้อมทั้ง สามารถเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน การทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นเกษตรสมัยใหม่ พร้อมเติบโตทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ"

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-017-5555 เว็บไซต์ www.nia.or.th และ facebook.com/NIAThailand


ข่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ+สมาร์ทฟาร์มเมอร์วันนี้

NIA เวทีโชว์ศักยภาพ 21 ทีมธุรกิจนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก ในโครงการ Global Investment Link โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดงาน Demo Day Tommorow Starts Here ภายใต้โครงการ Global Investment Link เพื่อผลักดันศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ไทย จำนวน 21 ทีม ใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ นวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก นวัตกรรมด้านพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ พลังงานสะอาด ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech) ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องและ E-Commerce &

ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทัก... เอ็นไอเอปั้น 80 ผู้นำนวัตกรรมเชิงนโยบายหนุนมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ — ผ่านหลักสูตร PPCIL รุ่น 7 ผสานความรู้ ทักษะออกแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน...

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ห... NIA เดินหน้าสร้าง "ชาติแห่งนวัตกรรม" เปิดรับสมัคร "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2568" — สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงกา...

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานน... NIA จับมือซีพี เครือข่ายภาครัฐ และธนาคาร เปิดหลักสูตร "IBEs Driving Green Innovation" — ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ...

ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกา... "เอ็นไอเอ" มั่นใจพร้อมดันยูนิคอร์นกลุ่มกรีนเทคแจ้งเกิดใน 3 ปี — ส่งออก 4 สตาร์ตอัปร่วมอวดศักยภาพสู่ตลาดกาตาร์ใน "Web Summit Qatar 2025" พร้อมชี้โอกาสนวัตก...

ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ... เอ็นไอเอ เร่งขยายสัดส่วนธุรกิจขนาดกลาง พร้อมปิดแก็ปเอสเอ็มอีไทยโตไม่สมดุล — ผ่าน "โครงการ INNOProductivity for SMEs" ดึงโมเดลศักยภาพองค์กรนวัตกรรม ผสานการ...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... ชีววิทยา ม.พะเยา สุดเจ๋ง! คว้า 1 ใน 5 ทีม นวัตกรรมสร้างสุข ได้รับเงินต่อยอดจาก NIA — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาวิชาชีววิท...

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรม... ไทยพาณิชย์-NIA-depa ชูความสำเร็จหลักสูตร IBE 6 นำผู้ประกอบการ 109 บริษัทสู่เส้นทางความยั่งยืน — ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การม...