นิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ภาคีโครงการ เช็กให้รู้ จัดกิจกรรม สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อข่าวปลอมด้านสุขภาพให้แก่ชมรมผู้สูงวัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปากพนัง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงพื้นที่ชุมชนผู้สูงวัยภาคใต้ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อข่าวปลอมด้านสุขภาพ ณ หอประชุมเทศบาลเมืองปากพนัง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา

นิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ภาคีโครงการ เช็กให้รู้ จัดกิจกรรม สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อข่าวปลอมด้านสุขภาพให้แก่ชมรมผู้สูงวัย

อาจารย์ ธนภร เจริญธัญสกุล หัวหน้าสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวถึงความสำคัญและที่มาของโครงการนี้ว่า "ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลสื่อสารส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็วทางสื่อออนไลน์ทั้งจากนักข่าวและจากคนทั่วไป ความเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็วนี้ ทำให้บางครั้งขาดการตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงบางครั้งอาจจะมีผู้จงใจส่งข้อมูลข่าวสารเพื่อหลอกลวง หรือหวังผลประโยชน์ให้ผู้อ่านคล้อยตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข่าวสารที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ จะมีให้พบเห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งข่าวสารเกี่ยวกับโรค การรักษาโรค และการมุ่งขายสินค้าหรือ สมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ที่สร้างความเข้าใจผิด กลุ่มที่น่ากังวลใจและทางโครงการฯ ให้ความสำคัญที่จะสร้างทักษะการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารในครั้งนี้คือกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและให้ความสำคัญกับข่าวสารด้านสุขภาพ สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้กับกลุ่มผู้สูงวัยแล้ว ยังเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทำให้นักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มเติมความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อได้อีกด้วย"

กิจกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยการให้ความรู้ การเล่นเกมทดสอบความรู้ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สูงวัยของชุมชน จำนวน 65 คน นางประจวบ อุไรรัตน์ ประธานกลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลเมืองปากพนัง กล่าวว่า "การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารให้กับผู้สูงวัยในชุมชนเป็นครั้งแรก ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ และทำให้ผู้สูงวัยได้ระมัดระวังในการรับข้อมูลข่าวสาร หรือฉุกคิดมากขึ้นเมื่อเจอข้อความต่างๆ ที่อาจเป็นการหลอกลวงให้ซื้อสินค้าได้ และหากมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้สูงอายุอีก ทางเทศบาลเมืองปากพนังก็ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่"

ผลจากการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำที่ควรระมัดระวังในข่าวปลอมด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากการตอบคำถามหลังการอบรมได้ถูก 56 คน จาก 65 คน ซึ่งแตกต่างจากการตอบคำถามก่อนการอบรมที่ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ตอบว่าไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม และมีความตั้งใจที่จะตรวจสอบข่าวปลอมในอนาคตต่อไป คะแนนเฉลี่ย 8.77 จาก 10 คะแนน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Social Lab คืนความรู้มิติตรวจสอบข่าวปลอมสู่ชุมชน ของโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร หรือโครงการเช็กให้รู้ โดยคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ดำเนินการวิจัยพัฒนามิติตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยการตรวจสอบโครงสร้างข่าว 6 ด้าน ได้แก่ มิติด้านองค์ประกอบของข่าว มิติบริบท มิติด้านเนื้อหา มิติด้านภาษา มิติด้านการโฆษณา และมิติด้านสุขภาพ ร่วมกับภาคีนักวิชาการ ทั่วประเทศ ด้วยงบประมาณจากกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook เพจเช็กให้รู้ และพบกับกิจกรรมครั้งต่อไปที่ จังหวัดร้อยเอ็ด โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (วันที่ 5 พฤศจิกายน) กรุงเทพมหานคร โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (วันที่ 6 พฤศจิกายน) จังหวัดชลบุรี โดยมหาวิยาลัยบูรพา (วันที่ 9 พฤศจิกายน) และจังหวัดเชียงใหม่โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้


ข่าวกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์วันนี้

คณะนิติศาสตร์ SPU ร่วมกับ ITA & BEC-TERO จัดเสวนา "ฆ่าโง่: ความรู้กฎหมายเพื่อคนรุ่นใหม่ สู้ภัยมิจฉาชีพ"

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (LAW SPU) และกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ITA) ร่วมกับรายการ "ฆ่าโง่" โดยบริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเสวนาด้านกฎหมายภายใต้หัวข้อ "กฏหมายฉบับคนรุ่นใหม่ สู้ภัยกลโกงมิจฉาชีพ" โดยมี ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อย คณบดีคณะนิติศาสตร์ ,ผศ.ดร. ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วย ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ กรรมการปฏิรูปประ

บอร์ดกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไฟเขียวแผนงานบริหารกองทุนระยะ 6 เดือนแรก เห็นชอบ 5 ร่างระเบียบข้อบังคับขับเคลื่อนงานกองทุนฯ

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4/2559 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานที่จะดำ...

บอร์ดกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไฟเขียวแผนงานบริหารกองทุนระยะ 6 เดือนแรก เห็นชอบ 5 ร่างระเบียบข้อบังคับขับเคลื่อนงานกองทุนฯ

พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4/2559 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนงานที่จะดำ...

กก.กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดทำแผนของบประมาณ กสทช. 200 ล้านบาท เผย มี.ค.นี้ ได้ผู้จัดการกองทุน

พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1/2559 ที่กระทรวงวัฒนธรรม ว่า ตามพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 มาตรา...

กวช. แต่งตั้งกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิใน คกก. สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2558 โดยมี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติ...

นช.ไฟเขียวร่างพ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตั้งกมธ.กลั่นกรอง-ปรับแก้ให้เสร็จภายใน 30 วัน

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยภายหลังเข้าชี้แจงร่างพ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ที่ประชุม สนช.ได้มีมติ...

คปก.ดันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ เสนอตั้งสมัชชาสื่อฯทำหน้าที่ตรวจสอบ

นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อสังเกตต่อ ร่างพ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ศึกษา...

ภาพข่าว: เสวนาโต๊ะกลม

(วานนี้) เมื่อเวลา 13.00 น. สื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้จัดการเสวนา"กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ : กองทุนสื่อฯแบบไหน พาสังคมไทยก้าวหน้า" โดย นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน ขึ้นกล่าวความเป็นมาของการขับ...