ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยในการมอง การอ่าน ใช้ในการรับรู้ เรียนรู้สิ่งต่างๆ และช่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประวันมากมาย เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี ดวงตาของเราอาจเสื่อมสภาพมีอาการตาพร่าขุ่นมัวมองไม่ชัด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของอาการผิดปกติทางสายตา โรคทางตาที่ร้ายแรงและเป็นสาเหตุให้ตาบอดมากที่สุดชนิดหนึ่งคือ โรคต้อหิน
โรคต้อหิน (Glaucoma) ถือเป็นโรคทางสายตาที่อันตรายมากที่สุด เพราะสามารถทำให้ตาบอดถาวรได้ เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงกว่าปกติ ทำให้ขั้วประสาทตาเสื่อมลงไปเรื่อยๆ หรือเส้นประสาทตาถูกทำลาย โดยอาจมีอาการปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล หรือตามัว การมองเห็นแคบลง ซึ่งโรคต้อหินสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือโรคที่เกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือด มีประวัติเคยได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาหรือผ่าตัดดวงตา อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ หากได้รับการดูแลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
ปัจจุบันการรักษาโรคต้อหินสามารถทำได้หลายวิธี โดยจักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยรักษาตามอาการและชนิดของโรค เช่น การใช้ยาหยอดตา การรับประทานยา ยิงแสงเลเซอร์ การผ่าตัด แต่จะเป็นเพียงการชะลอไม่ให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่าเดิม เพราะไม่สามารถรักษาให้ส่วนที่เสื่อมไปแล้วกลับมามองเห็นได้ดีเหมือนเดิม
เนื่องด้วยวันที่ 6 มีนาคมของทุกปี เป็นวัน "ต้อหินโลก" เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายของดวงตาจากโรคต้อหิน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาดวงตาที่อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ และสิ่งที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็คือโรคต้อหินนั้นไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า และไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ควรละเลยคือ ความดันตาสูงผิดปกติ ที่อาจบ่งบอกว่าเป็นต้อหินได้เช่นกัน การใส่ใจรู้เท่าทันโรคต้อหินเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้รับมือได้ทันท่วงที พญ.เกศรินท์ เกียรติเสวี จักษุแพทย์ผู้ชำนาญโรคต้อหิน โรงพยาบาลกรุงเทพ
รู้เท่าทัน "โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง" ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
หากคุณมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว และถ่ายมีมูกเลือดเป็นระยะเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ สิ่งเห...
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน-หลอดเลือดสมอง 3 โรคร้าย ทำลายสมองแบบไม่รู้ตัว!!! เตือนคนไทยอย่าชะล่าใจ "สมองป่วยได้" และอาจเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต
—
"สมอง" จะเป็นอวัย...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
รู้เท่าทัน ป้องกันภาวะสมองเสื่อม
—
ซึ่งกลุ่มอาการนี้เกิดมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กันแบบค่อยเป็นค่อยไป ...
"มทร.ล้านนา" เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล...
17 ปี ไทยพีบีเอส เดินหน้าเสริมพลังพลเมือง และระบบนิเวศสื่อคุณภาพ มุ่งสร้างสังคมที่มีคุณภาพและคุณธรรม
—
ไทยพีบีเอส ประกาศเดินหน้าเป็นสื่อสาธารณะที่ยึดโยงปร...
แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
—
77% ของคนทำงานกำลังเผชิญกับความเครียดจากการจัดการระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ในขณะที...