รพ.หัวเฉียวแนะ.. ปัญหาดวงตา 5 ต. 2 จ. ในวัยสูงอายุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"ดวงตา" เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ที่ไม่ควรละเลย เพื่อที่จะได้มีดวงตาไว้มองเห็นไปได้นานๆ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปความเสื่อมของดวงตาก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

รพ.หัวเฉียวแนะ.. ปัญหาดวงตา 5 ต. 2 จ. ในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบโรคทางตาได้มากขึ้น เนื่องจากดวงตาเริ่มมีความเสื่อมลง  โรคที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุ คือ 5 ต. 2 จ.

  • ต.ที่หนึ่งคือ ตาแห้ง จะมีอาการระคายเคืองตา หรือตามัวเป็นๆ หายๆ เนื่องจากการสร้างน้ำตาลดลง และการระเหยของน้ำตา มากขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยที่ทำให้น้ำตาที่ไปหล่อเลี้ยงดวงตาลดลง
  • ต.ที่สองคือ ต้อลม จะมีอาการระคายเคืองตา เหมือนมีอะไรอยู่ในตา เกิดจากการโดนลมและฝุ่น
  • ต.ที่สามคือ ต้อเนื้อ โดยการสังเกตจะเห็นมีเนื้อเยื่อสามเหลี่ยม บริเวณหัวตาหรือหางตาบนตาดำ จะมีอาการเคืองตา ไม่สบายตา สู้แสงไม่ได้ ถ้าเป็นมากอาจทำให้สายตาเอียงหรือตามัวลงได้
  • ต.ที่สี่คือ ต้อกระจก พบได้บ่อยที่สุดจะมีอาการ เช่น มองเห็นไม่ชัดเท่าเดิม สายตาเปลี่ยนเร็ว หรือออกแดดแล้วมัวมาก เกิดจากความขุ่นในเลนส์ดวงตาหรือทำให้เกิดสายตาสั้น สายตายาวมากขึ้น
  • ต.สุดท้ายคือ ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่จะนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นถาวร เนื่องจากในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ กว่าจะรู้ตัวโรคก็ดำเนินไปมากแล้ว ถ้าไม่รักษาอาจทำให้ตาบอดได้
  • ในส่วน 2 จ. ได้แก่ จ.ที่หนึ่งคือ จุดรับภาพเสื่อม การเห็นภาพจะมัวลง มองเห็นไม่ชัดบิดเบี้ยว โดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ เลย
  • จ.ที่สองคือ เบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากความผิดปกติจากหลอดเลือดฝอยในจอตา ทำให้เลือดหรือสารต่างๆ รั่วซึมออกมา ซึ่งเป็นผลจากการคุมเบาหวานไม่ดี ทำให้มีอาการตามัว หรือลุกลามทำให้ตาบอดได้

วัยผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามวัยรวมไปถึงการมองเห็น จึงควรเข้าพบจักษุแพทย์ตรวจดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง

ข้อมูลดีๆ จาก.. พญ.ชมพูนุท ภูมิรัตนประพิณ จักษุแพทย์เฉพาะทางโรคต้อหิน ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลหัวเฉียว


ข่าวผู้สูงอายุ+หัวเฉียววันนี้

อาการสั่น.. สัญญาณเตือนโรคร้ายทางสมอง

นพ.พลากร เลิศศักดิ์วรกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) คือโรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองที่สร้างสารเคมีชื่อว่าโดปามีน (Dopamine) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการเคลื่อนไหวส่งผลให้เกิดความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคพาร์กินสันมักเกิดในผู้สูงอายุ มีอาการ ดังนี้ อาการสั่นที่มือ แขน ขา คาง และริมฝีปาก การเคลื่อนไหวช้า การทรงตัวไม่ดี กล้าม

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรว... สบส. ยกระดับกิจการ "นวด-สปา-กิจการการดูแลผู้สูงอายุ" เป็นแหล่งฝึกงานคุณภาพ — กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ยกระดับร้านนวด สปา และกิจ...

ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริ... TM ร่วมงาน mai ครั้งที่ 9 — ดร.สุนทรี จรรโลงบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคโนเมดิคัล จำกัด (มหาชน) หรือ TM พร้อมด้วยพนักงาน ร่วมออกบูธในงาน ...

นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ประธานเจ้าหน้า... THE PARENTS รับรางวัลอาคารที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ — นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะพาเร้นส์ จำกัด ในเครือบริษัท เทคโนเมด...

นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ประธานเจ้าหน้า... THE PARENTS รับรางวัลอาคารที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ — นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะพาเร้นส์ จำกัด ในเครือบริษัท เทคโนเมด...

RSV (Respiratory Syncytial Virus)คือไวรัส... ไวรัส RSV สำหรับผู้สูงอายุ อันตรายไม่แพ้เด็ก — RSV (Respiratory Syncytial Virus)คือไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ โดยแพร่กระจายผ่านทางการ...