กินหวาน.. เป็นเบาหวานจริงหรือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

วิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบันรวมถึงอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายและได้รับความนิยมโดยส่วนใหญ่ เช่น น้ำหวาน ชาไข่มุก หรือขนมต่างๆ มักเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่สูง เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้อยากซื้อรับประทาน ซึ่งอาหารต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ วันนี้คุณหมอมีคำแนะนำเพื่อลดการเกิดโรคเบาหวานมาฝากกันค่ะ

กินหวาน.. เป็นเบาหวานจริงหรือ
  1. การรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสชาติหวาน หรืออาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ได้แก่ แป้ง ข้าวและน้ำตาล หรือรับประทานแต่น้อย รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ส่งผลเสียกับสุขภาพร่างกายโดยรวม และทำให้ตับทำงานหนักและเกิดการสะสมของไขมันในตับหรือที่เราเรียกว่า ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty liver) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  3. ความเครียด ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเคอร์ติซอลไปกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อเราเครียดมากๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยิ่งสูงมากขึ้นนั่นเอง
  4. การออกกำลังกาย ที่พอเหมาะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น และช่วยให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณน้ำตาลจากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนัก และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เพียงแต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานยังช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วยค่ะ

ข้อมูลดีๆ จาก.. พญ.ฟ้ารุ่ง ภูษาทอง อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม คลินิกอายุรกรรม  โรงพยาบาลหัวเฉียว


ข่าวโรคเบาหวาน+ชาไข่มุกวันนี้

รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ

สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากโรคเบาหวานสูงที่สุดในโลกภายในปี 2030 ซึ่งโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงได้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคและยังนำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ดร.อเล็กซ์ เตียว ผู้อำนวยการและฝ่ายพัฒนาการวิจัย

โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว... "เบาหวาน"... รู้ไวป้องกันได้ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย — โรคเบาหวาน เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนที่บกพร่อง...

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเ... โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น — โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง...

การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปร... กินยังไงดี?... "เบาหวาน" ไม่เพิ่ม — การควบคุมอาหารและเลือกทานอย่างเหมาะสมในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ถือเป็นวิธีสำคัญในการรักษาและป้องกันโรค...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วง ประชาชน โ... ยอดป่วยไข้หวัดใหญ่พุ่ง กรมอนามัย แนะสวมหน้ากากอนามัย-กินร้อน-ช้อนกลาง-ล้างมือ ป้องกันโรค — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วง ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้...

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบู... ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยหลัก "3 อ" — ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศ...

4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ ... 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ — 4 ขั้นตอนดูแล "แผลเบาหวาน" ลดการติดเชื้อ การดูแลรักษาแผลของผู้ป่วยเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสะอาด ...