- ยอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั่วโลกลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ห้าในปี 2562 สู่ระดับ 13,826 ราย ลดลง 15% จากปีก่อนหน้า
- ในอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และโอเชียเนีย การก่อการร้ายโดยกลุ่มขวาจัดพุ่งขึ้น 250% จากปี 2557 แตะระดับสูงสุดในรอบ 50 ปี
- ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายอย่างน้อยหนึ่งรายมีอยู่ 63 ประเทศ ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2556
- ผลกระทบของการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่า 1.64 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 ลดลง 25% จากปีก่อนหน้า
- ศูนย์กลางการโจมตีของกลุ่ม ISIL ย้ายไปอยู่ที่ภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา โดยยอดผู้เสียชีวิตจากฝีมือของ ISIL ในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น 67%
- ISIL และกลุ่มก่อการร้ายในเครือข่าย ก่อเหตุโจมตีใน 27 ประเทศในปี 2562
ดัชนีก่อการร้ายโลก (Global Terrorism Index: GTI) ประจำปี 2563 เผยให้เห็นว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลงเป็นปีที่ห้าติดต่อกัน โดยลดลง 59% จากระดับสูงสุดในปี 2557 แตะที่ 13,826 ราย ขณะที่ความขัดแย้งยังคงเป็นสาเหตุหลักของการก่อการร้าย โดยกว่า 96% ของการเสียชีวิตจากการก่อการร้ายในปี 2562 เกิดขึ้นในประเทศที่มีความขัดแย้งอยู่แล้ว
สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute of Economics and Peace: IEP) ได้จัดทำดัชนีก่อการร้ายโลกเป็นปีที่ 8 เพื่อให้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุดเกี่ยวกับแนวโน้มการก่อการร้ายทั่วโลก
ยอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลงมากที่สุดในอัฟกานิสถานและไนจีเรีย แต่ยังคงเป็นเพียงสองประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายเกิน 1,000 ราย ขณะเดียวกัน การลดลงของยอดผู้เสียชีวิตยังส่งผลต่อคะแนนของประเทศต่าง ๆ โดยมี 103 ประเทศที่คะแนนดีขึ้น ขณะที่ 35 ประเทศคะแนนแย่ลง นับว่ามีประเทศที่คะแนนดีขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เริ่มจัดทำดัชนี
แม้ว่าผลกระทบจากการก่อการร้ายทั่วโลกจะลดลงในภาพรวม แต่ก็ยังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงในหลายประเทศ โดย 63 ประเทศมีผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายอย่างน้อยหนึ่งรายในปี 2562 และการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นสูงสุดในประเทศบูร์กินาฟาโซ โดยยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้น 590% และมีอีกหลายประเทศที่สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างมาก ได้แก่ ศรีลังกา โมซัมบิก มาลี และไนเจอร์
ข้อค้นพบสำคัญอื่น ๆ
- 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุด ได้แก่ อัฟกานิสถาน อิรัก ไนจีเรีย ซีเรีย โซมาเลีย เยเมน ปากีสถาน อินเดีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และฟิลิปปินส์
- เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายมากที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่สอง ขณะที่ภูมิภาคอเมริกากลางและแคริบเบียนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
- ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเป็นภูมิภาคที่สถานการณ์การก่อการร้ายดีขึ้นมากที่สุดเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยมียอดผู้เสียชีวิตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2546
สตีฟ คิลเลเลีย ประธานบริหารสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ กล่าวว่า "ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ เราได้เห็นภัยคุกคามใหม่ ๆ จากการก่อการร้าย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การขยายอิทธิพลของกลุ่มขวาจัดในโลกตะวันตก และสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในพื้นที่ซาเฮล นอกจากนี้ การโจมตีล่าสุดในฝรั่งเศสและออสเตรียยังแสดงให้เห็นว่า กลุ่มขนาดเล็กที่ยึดถือหลักการของ ISIL ยังคงสร้างสถานการณ์อยู่ เพื่อยุติอิทธิพลของกลุ่มก่อการร้าย เราจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการสำคัญสามประการ ได้แก่ การทลายสื่อและเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มก่อการร้าย การขัดขวางการให้ทุนแก่กลุ่มก่อการร้าย และการลดจำนวนผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย"
ดัชนีก่อการร้ายโลกคำนวณคะแนนจากหลายปัจจัย ได้แก่ จำนวนครั้งที่เกิดการก่อการร้าย จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้บาดเจ็บ และความเสียหายของทรัพย์สิน โดยกลุ่มตาลีบันยังคงเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่อันตรายที่สุดในปี 2562 แต่ยอดผู้เสียชีวิตจากการก่อเหตุของกลุ่มนี้ลดลง 18% ขณะเดียวกัน ความแข็งแกร่งและอิทธิพลของกลุ่ม ISIL ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยนับเป็นปีแรกที่ผู้เสียชีวิตจากการก่อเหตุของกลุ่มนี้มีไม่ถึง 1,000 ราย
แม้ว่ากลุ่ม ISIL เคลื่อนไหวน้อยลงในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แต่กลุ่มก่อการร้ายในเครือข่าย ISIL ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ทั่วโลก โดยมี 27 ประเทศที่ถูกกลุ่ม ISIL หรือกลุ่มก่อการร้ายในเครือข่ายโจมตี และภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราโดนโจมตีมากที่สุด เห็นได้จากการที่ 7 ใน 10 ประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นมากที่สุด เป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ และกลุ่มก่อการร้ายในเครือข่าย ISIL ก็อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นดังกล่าว โดย 41% ของการเสียชีวิตทั้งหมดจากฝีมือของ ISIL เกิดขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา
สำหรับภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และโอเชียเนีย ภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายขวาจัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดห้าปีที่ผ่านมา โดยการก่อการร้ายของกลุ่มขวาจัดพุ่งขึ้น 250% ในช่วงปี 2557-2562 และมีผู้เสียชีวิต 89 รายจากฝีมือของกลุ่มขวาจัดในปี 2562 นอกจากนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความยืดหยุ่นทางสังคมได้ลดน้อยถอยลงในหลายประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไปด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากโควิด-19 ซึ่งจะเพิ่มความไร้เสถียรภาพและความรุนแรงทางการเมือง
นับตั้งแต่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อเดือนมีนาคม 2563 ข้อมูลเบื้องต้นก็บ่งชี้ว่าการก่อการร้ายและยอดผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายลดลงในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 กลับกลายเป็นความท้าทายใหม่ในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยทั่วโลกต้องสร้างความมั่นใจว่า การต่อต้านการก่อการร้ายจะไม่ถูกจำกัดด้วยงบประมาณของรัฐที่ลดลงอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะการลดความช่วยเหลือในการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือและภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮาราอาจส่งผลเสียได้
โทมัส มอร์แกน นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ อธิบายว่า "ระหว่างปี 2554-2562 การจลาจลและความรุนแรงในโลกตะวันตกเพิ่มขึ้น 277% และมีความกังวลอย่างมากว่าสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงจะทำให้ผู้คนจำนวนมากแยกตัวจากสังคมและตกเป็นเหยื่อโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มหัวรุนแรง"
การก่อการร้ายที่ลดลงทำให้ผลกระทบของการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกลดลงตามไปด้วย โดยคิดเป็นมูลค่า 1.64 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 ลดลง 25% จากปีก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ต้นทุนที่เกิดจากการก่อการร้ายมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับต้นทุนที่เกิดจากความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ฆาตกรรม ความขัดแย้งทางอาวุธ และปฏิบัติการทางทหาร โดยมีต้นทุนราว 14.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่แท้จริงของการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกน่าจะสูงกว่านี้มาก เพราะตัวเลขนี้ยังไม่รวมผลกระทบทางอ้อมที่มีต่อธุรกิจ การลงทุน และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและต่อต้านการก่อการร้าย
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ
ดูรายงานฉบับเต็มและแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟได้ที่ visionofhumanity.org หรือ economicsandpeace.org
กรุณาติดตาม @GlobPeaceIndex
กรุณากดไลก์ facebook.com/globalpeaceindex
ดัชนีก่อการร้ายโลก
ดัชนีก่อการร้ายโลก (GTI) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับแนวโน้มและรูปแบบของการก่อการร้ายทั่วโลกตลอด 18 ปีที่ผ่านมา รายงานนี้จัดอันดับ 163 ประเทศ (99.7% ของประชากรโลก) ตามผลกระทบที่ได้รับจากการก่อการร้าย โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งที่เกิดการก่อการร้าย จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้บาดเจ็บ และความเสียหายของทรัพย์สิน
ฐานข้อมูลก่อการร้ายโลก
ดัชนีก่อการร้ายโลกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลก่อการร้ายโลก (Global Terrorism Database: GTD) ของกลุ่มความร่วมมือเพื่อศึกษาการก่อการร้ายและตอบสนองต่อการก่อการร้าย (START) ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ โดยเป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายทั่วโลกที่ครอบคลุมที่สุด
สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ
สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) คือหน่วยงานมันสมองชั้นนำระดับโลกที่อุทิศตนให้กับการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์สันติภาพและคุณค่าที่มีต่อเศรษฐกิจ ด้วยการพัฒนาดัชนีระดับชาติและระดับโลกหลายดัชนี เช่น ดัชนีสันติภาพโลก เพื่อคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากความรุนแรง และทำความเข้าใจผลเชิงบวกของสันติภาพ ซึ่งเป็นทัศนคติ ธรรมเนียมปฏิบัติ รวมถึงรากฐานในการสร้างและรักษาความสงบสุขในสังคม
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/792052/IEP_Logo.jpg
PMC โชว์ศักยภาพธุรกิจฉลากบรรจุภัณฑ์ ผลประกอบการปี 2567 กำไรสุทธิพุ่ง 166.8% แตะ 46.45 ล้านบาท หนุนรายได้รวมเติบโตที่ 881.71 ล้านบาท จากการเดินหน้าขยายตลาดในและต่างประเทศ เน้นภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย พร้อมลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมาร์จิ้นสูง แม้เผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกและการแข่งขัน มั่นใจปี 2568 ลุยธุรกิจเต็มสูบ ตั้งเป้ารายได้เติบโต ระดับ Double Digit เร่งเครื่องปักธงสู่ผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายสติ๊กเกอร์เปล่าในภูมิภาคอาเซียน ด้านบอร์ดไฟเขียวจ่ายปันผลเป็นหุ้นพ่วง
สร้างอนาคตดิจิทัลที่ปลอดภัย: ร่วมสู้ภัยไซเบอร์ที่พัฒนาการขึ้นทุกวัน
—
เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ภายใต้แรงขับเคลื่อนของเทคโนโลยีบล็อก...
TNN ช่อง 16 จัดเวที Dinner Talk ยิ่งใหญ่แห่งปี
—
เปิดวิสัยทัศน์ นายกฯ แพทองธาร ร่วมผนึกพลังรัฐ-เอกชน ภารกิจพลิกฟื้นเศรษฐกิจ Mission Thailand เพื่อสร...
TISCO ESU วิเคราะห์นโยบาย 100 วัน "ทรัมป์" ชี้ "NATO-IMF-ภาษี-ดอลลาร์" 4 เสาหลักพลิกโฉมเศรษฐกิจโลก
—
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เผ...
NPS ออกหุ้นกู้สำเร็จตามเป้าหมาย ส่งสัญญาณบวกของตลาดหุ้นกู้สำหรับหุ้นกู้คุณภาพ
—
ภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่เผชิญกับความท้าทายจากสภาวะเศรษฐกิจโลกและของปร...
สงครามการค้ารอบใหม่และความไม่แน่นอนในระดับสูงกดดันเศรษฐกิจไทยเสี่ยง Technical recession ในช่วงกลางปี
—
SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568 เหลือ 2.2%...
'เสนา' ชี้บทเรียนสำคัญหลังแผ่นดินไหว ครบ 1 เดือน ใช้โนว์ฮาวญี่ปุ่น เสริมเกราะธุรกิจ ดัน "LivNex เช่าออมบ้าน" กระตุ้นยอดโอน
—
ครบ 1 เดือนหลังเหตุการณ์แผ่นด...
ซื้อทองดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ จริงไหม?
—
เมื่อเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอน การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรักษา...
GCAP GOLD ลุ้นทองแท่งทำสถิติใหม่ 55,300 บาท จับตา "ทรัมป์" ลังเลขึ้นภาษีจีน
—
นางสาวอารีรัตน์ มุราชัย นักวิเคราะห์ บริษัท จีแคป จำกัด หรือ GCAP GOLD เปิดเ...