ม.มหิดล ได้อันดับ 44 ของเอเชีย จากการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2021

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยล่าสุดของ QS Asia University Rankings 2021 เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลมีคะแนนที่ดีขึ้นถึง 6 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด อยู่ในอันดับที่ 44 ในภูมิภาคเอเชีย จากเดิมอันดับที่ 48

ม.มหิดล ได้อันดับ 44 ของเอเชีย จากการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2021

ซึ่งจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS Asia University Rankings 2021 จากตัวชี้วัด "International Research Network" ที่วิเคราะห์จากการใช้ข้อมูลจากการตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยชาวต่างประเทศในฐานข้อมูล Scopus ในปีนี้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ 91.1 คะแนน เป็นอันดับที่42 ของเอเชีย และมีตัวชี้วัดที่ทำคะแนนในหัวข้อเพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมาคือ สัดส่วนของอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด (Staff with PhD) โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ 95.9 คะแนน เป็นอันดับที่ 52 ของเอเชีย ม.มหิดล ได้อันดับ 44 ของเอเชีย จากการจัดอันดับ QS Asia University Rankings 2021

นอกจากนี้ จากการจัดอันดับในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังมีคะแนนที่ดีขึ้นจากตัวชี้วัดในด้านการได้รับการยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation) อัตราส่วนของจำนวนนักศึกษาทุกระดับต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด (Faculty Students) การได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ(Academic Reputation) และจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยน (Inbound Exchange Students)

ซึ่งที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่จัดอยู่ใน Q1 Quartile ซึ่งเป็นลำดับแรก (top position) ในฐานข้อมูลScopus มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยมีผลงานวิจัยโดดเด่นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและเชิงพาณิชย์ อาทิ "การรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดด้วนการบำบัดยีนเป็นครั้งแรกของโลก" โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล "สารชีวโมเลกุลสำหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา" และ "แม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศต้นแบบ (M1)" โดย ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ

นอกจากนี้ ได้มีการลงนามความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ และเทคโนโลยี ตลอดจนด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคเอเชียกว่า 200 แห่ง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นแสดงให้เห็นถึงคุณภาพงานวิจัย และการมีผลกระทบสูงจากการได้รับอ้างอิง(citation) ซึ่งเป็นมิติสำคัญที่ใช้ในการประเมิน สำหรับแนวทางบริหารจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไปในอนาคต คือ "การพยายามทำให้ดีขึ้นกว่าสิ่งที่มีอยู่" โดยเน้นงานวิจัยที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น

ซึ่ง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองแผนงาน ร่วมกับ กองบริหารงานวิจัยและกองวิเทศสัมพันธ์ ได้ริเริ่มโครงการ Ranking Activities เพื่อจัดตั้งRanking Unit สำหรับการสนับสนุนและผลักดันนโยบายสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่ม Ranking ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูล และเครือข่ายที่เกี่ยวกับการจัดอันดับของมหาวิทยาลัย และสร้างEcosystem ของระบบงานด้าน Ranking Unit เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดลมี+มหาวิทยาลัยมหิดลวันนี้

ม.มหิดลส่งต่อแนวคิดฝึกทักษะนศ.พยาบาลจากสถานการณ์จำลอง อบรมประเทศเพื่อนบ้าน

อุปกรณ์ไม่สำคัญเท่าวิธีการใช้ ในนาทีฉุกเฉินแม้พร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัย หากขาดทักษะ อาจเป็นการสร้างวิกฤติมากกว่าโอกาส อาจารย์นัยนา แขดกิ่ง อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้บัณฑิตพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่น คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้น "การฝึกทักษะ" ซึ่งจำเป็นต่อทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ เนื่องจากอาจหมายถึงการต้องสูญเสียเมื่อทำด้วยความไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 นาทีแรกของการคลอด ที่ชีวิตของมารดา

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนช... ม.มหิดล ระดมทีมสหสาขาวิชา มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และบริการสุขภาพช่องปากชุมชน — มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายหลักมุ่งสนับสนุนชุมชน ซึ่งการให้ความสำคัญแต่เพียงการจ...

การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Cla... ม.มหิดล ปรับโฉมศูนย์เครื่องมือกลาง MU-FRF รองรับงานวิจัยระดับโลก — การก้าวสู่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (World Class University) ไม่ได้วัดแต่เพียงการตีพิมพ์ผลงา...

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศา... ม.มหิดล มุ่งมั่นสานต่อยุทธศาสตร์สู่วิถีใหม่ สนองตอบนโยบายชาติ สู่ระดับนานาชาติ — นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2560 ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริย...

ม.มหิดล จัดงาน “51 ปีแห่งวันพระราชทานนาม 132 ปีมหาวิทยาลัยมหิดล” 2 มี.ค.63

มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 132 ปี นับเนื่องตั้งแต่ก่อกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปีพุทธศักราช 2431 และพัฒนาต่อมาจนกระทั่งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร...

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๕ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๔...

มหาวิทยาลัยมหิดล รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน (พนักงานมหาวิทยาลัย) ในสำนักงานอธิการบดี

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดลมีความประสงค์จะรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ (หัวหน้างานประชาสัมพันธ์) กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี จำนวน ๑ อัตรา...

โอกาสดี ๆ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายและผู้สนใจศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีโครงการดี ๆ ในการเพิ่มพูนทักษะ (ติว) ภาษาอังกฤษ และทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ เพียงท่านมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.00 ขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่านสามารถนำผลการสอบมาใช้...

ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำนวน ๙ ท่าน ที่สภามหามหาวิทยาลัยมหิดลมีมติให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ณ...